Adenia globosa

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Adenia globosa
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: โรสิด
อันดับ: อันดับโนรา
วงศ์: วงศ์กะทกรก
สกุล: Adenia
Engl.
สปีชีส์: Adenia globosa
ชื่อทวินาม
Adenia globosa
Engl.
Subspecies[2]
  • A. g. subsp. curvata (Verdc.) W.J.de Wilde
  • A. g. subsp. pseudoglobosa (Verdc.) W.J.de Wilde

Adenia globosa เป็นชนิดของของพืชมีดอกในวงศ์กะทกรก ถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณเขตร้อนของแอฟริกา ในประเทศเอธิโอเปีย เคนยา โซมาเลีย และแทนซาเนีย[3]มีชื่อเรียกว่า mpaga ใน ภาษาสวาฮีลี.[4]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

ลักษณะเป็นไม้พุ่มกิ่งเป็นเถาเลื้อยยาวสูงได้ถึง 8 เมตร มีหนามยาวได้ถึง 8 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะอวบอ้วนเป็นทรงกลมกว้างได้ถึง 2 เมตร จัดเป็นพืชอวบน้ำ ลักษณะใบเรียงสลับ รูปทรงสามเหลี่ยมแยกเป็น 3 พู ยาวไม่เกิน 7 มิลิเมตร มี 1 ปมอยู่บริเวรฐานใบ

ดอกมีสีเขียวเป็นดอกเดี่ยว หรือเป็นช่อกระจุกมากถึง 5 ดอกที่บริเวณซอกใบ พืชชนิดนี้เป็นพืชแยกเพศต่างต้นกันคือ ดอกเพศผู้ และดอกเพศเมียอยู่คนละต้น ดอกเพศผู้ยาวถึง 2 เซนติเมตรมีเกสรเพศผู้ 5 อัน ส่วนดอกเพศเมียยาว 1 เซนติเมตรมีเกสรเพศเมีย 3 อัน

ผลมีสีเขียวอมเหลือง ลักษณะทรงกลม หรือทรงไข่ ยาว 3 เซนติเมตร มีขน[4]

นิเวศวิทยา[แก้]

พบที่ เอธิโอเปีย[3] แทนซาเนีย เคนยา[5] และทางตอนใต้ของโซมาเลีย[6] ในเคนยาพบได้ทุ่งหญ้าสะวันนา ส่วนชนิดย่อย pseudoglobosa พบได้เฉพาะในหุบเขาทรุดที่ระดับความสูง 850-1650 เมตร แต่ชนิดธรรมดาไม่พบในหุบเขาทรุด พบได้ในความสูง 1 - 1500 เมตร[7]

ประโยชน์และการนำไปใช้[แก้]

ไม้ประดับ[แก้]

เป็นที่นิยมเลี้ยงกันในหมู่นักเล่นและนักสะสมพันธุ์ไม้แปลกหายากทั่งในประเทศไทยและต่างประเทศทั่วโลก ส่วนใหญ่นิยมเป็นไม้ขุดจากป่าธรรมชาติเนื่องจากเป็นไม้โตช้าการเพาะจากเมล็ดใช้เวลานานกว่าจะได้รูปทรงที่สวยงามตามความนิยม การเลี้ยงในประเทศไทยทำได้ไม่ยาก มีข้อควรระวังคือไม่ควรชื้นหรือแฉะเพราะจะทำให้เน่า และควรพรางแสงไม่ให้ส่วนลำต้นหรือในภาษาวงการต้นไม้เรียกว่าโขดนั้นโดนแดดจัดโดยตรงเพราะจะทำให้ไหม้ได้

การขยายพันธุ์ทำได้โดยการเพาะเมล็ด และการปักชำกิ่ง ในประเทศไทยอาศัยการนำเข้าเมล็ดจากต่างประเทศมาเพาะ ยังไม่มีรายงานว่าสามารถผลิตเมล็ดได้ในประเทศไทย ส่วนการปักชำกิ่งนั้นสามารถทำได้ไม่ยาก แต่ข้อจำกัดคือกิ่งชำจะไม่มีส่วนของลำต้นหรือโขดเหมือนไม้เพาะเมล็ด กิ่งชำเมื่อเลี้ยงไปนาน ๆ อาจเกิดการสะสมอาหารที่กิ่งทำให้ดูอวบอ้วนคล้ายโขดขึ้นมาได้บ้าง แต่ใช้เวลานานและรูปทรงไม่สวยงามเหมือนไม้เพาะเมล็ด

ยา[แก้]

พืชชนิดนี้ถูกใช้เป็นยาพื้นบ้านแอฟริกาสำหรับแก้ปวดท้อง และแก้คัน ชนเผ่ามาซายใช้พืชชนิดนี้เป็นยาสำหรับรักษาปศุสัตว์[6]


อ้างอิง[แก้]

  1. IUCN SSC East African Plants Red List Authority (2013). "Adenia globosa". IUCN Red List of Threatened Species. 2013: e.T179491A1580420. doi:10.2305/IUCN.UK.2013-2.RLTS.T179491A1580420.en. สืบค้นเมื่อ 18 November 2021.
  2. "Adenia globosa Engl". The Plant List (2013). Version 1.1. สืบค้นเมื่อ 5 March 2014.
  3. 3.0 3.1 "Adenia globosa". Germplasm Resources Information Network (GRIN). สืบค้นเมื่อ 27 May 2022.
  4. 4.0 4.1 de Ruijter, A. 2007. Adenia globosa Engl. เก็บถาวร พฤษภาคม 3, 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน In: Schmelzer, G. H. and A. Gurib-Fakim (Eds.) Prota 11(1): Medicinal Plants/Plantes médicinales 1. PROTA, Wageningen, Netherlands.
  5. IUCN SSC East African Plants Red List Authority (2013).
  6. 6.0 6.1 de Ruijter (2008).
  7. Beentje (1994).