ไวรัสโรคระบาด เอช 1 เอ็น 1/09

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Influenza A virus
ภาพของไวรัสไข้หวัดใหญ่เอช 1 เอ็น 1 จากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ห้องปฏิบัติการไข้หวัดใหญ่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 80–120 นาโนเมตร[1]
การจำแนกชนิดไวรัส แก้ไขการจำแนกนี้
ไม่ได้จัดลำดับ: ไวรัส
Realm: Riboviria
อาณาจักร: Orthornavirae
ไฟลัม: Negarnaviricota
ชั้น: Insthoviricetes
อันดับ: Articulavirales
วงศ์: Orthomyxoviridae
สกุล: Alphainfluenzavirus
สปีชีส์: Influenza A virus
เซโรไทป์

Pandemic H1N1/09 virus

ไวรัสโรคระบาด เอช 1 เอ็น 1/09 (อังกฤษ: pandemic H1N1/09 virus) เป็นสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ที่มีต้นกำเนิดจากสุกร ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องต่อการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 สื่อทั่วไปเรียกไวรัสชนิดนี้ว่า ไข้หวัดสุกร

ลักษณะไวรัส[แก้]

ไวรัสนี้เป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่[2] ซึ่งไม่มีวัคซีนกำจัดไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่มีอยู่ในตอนนั้นป้องกันได้ งานวิจัยจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐอเมริกา (CDC) ของประเทศสหรัฐที่เผยแพร่ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2009 พบว่าเด็กไม่มีภูมิคุ้มกันที่มีมาก่อนต่อสายพันธุ์ใหม่ ในทางกลับกัน ผู้ใหญ่ โดยเฉพาะคนที่มีอายุมากกว่า 60 มีภูมิคุ้มกันอยู่บ้าง เด็กไม่แสดงปฏิกิริยาแอนตีบอดีข้ามกันต่อสายพันธุ์ใหม่ ในขณะที่ผู้ใหญ่อายุ 18 ถึง 64 พบร้อยละ 6–9 และผู้สูงอายุร้อยละ 34[3][4] รายงานการวิเคราะห์ช่วงแรกส่วนใหญ่บันทึกว่า สายพันธุ์นี้มียีนจากไวรัสไข้หวัด 5 ชนิด: ไข้หวัดใหญ่สุกรอเมริกาเหนือ, ไข้หวัดนกอเมริกาเหนือ, ไข้หวัดมนุษย์ และไวรัสไข้หวัดใหญ่สุกร 2 ชนิดในเอเชียและยุโรป[5] มีการวิเคราะห์เพิ่มเติมว่าโปรตีนของไวรัสบางส่วนมีความคล้ายกับสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดอาการไม่รุนแรงในมนุษย์ ทำให้นักวิทยาไวรัส Wendy Barclay แนะนำว่าไวรัสไม่อาจก่อให้เกิดอาการรุนแรงต่อผู้คนส่วนใหญ่[6] นักวิจัยบางส่วนระบุไวรัสทุกส่วนมาจากสุกร ถึงแม้ว่าจะมีการเข้าชุดยีนใหม่หลายครั้งก็ตาม[7][8]

ต้นกำเนิดไวรัส[แก้]

การวิเคราะห์ความแตกต่างทางพันธุกรรมของไวรัสตัวอย่างจากจากกรณีต่าง ๆ ระบุว่าไวรัสเริ่มเข้าไปในตัวมนุษย์ใน ค.ศ. 2008 น่าจะหลังเดือนมิถุนายน และไม่นานไปกว่าสิ้นสุดเดือนพฤศจิกายน[9] ซึ่งอาจเป็นช่วงรอบ ๆ เดือนกันยายน ค.ศ. 2008[10][11] จากรายงานนักวิจัยที่คณะแพทยศาสตร์ของมอนต์ไซนายใน ค.ศ. 2016 พบว่า ไวรัส 2009 H1N1 น่าจะมีต้นกำเนิดจากสุกรในภูมิภาคขนาดเล็กมากในภาคกลางของประเทศเม็กซิโก[12]

ในวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 2009 ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐอเมริกา (CDC) ระบุว่ามีเด็กในเทศมณฑลของเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนียเป็นไข้ทางเดินหายใจจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ในสุกร เอ (H1N1) จำนวน 2 ราย ซึ่งต้านทานอะแมนตาดีนกับไรแมนตาดีน และมียีนที่ไม่พบในไวรัสไข้หวัดสุกรหรือมนุษย์ในสหรัฐหรือที่อื่น หลังการปรากฎตัวของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในฤดูไบไม้ผลิ ค.ศ. 2009 มันเริ่ทแพร่ทั่วสหรัฐเม็กซิโก และทั่วโลก[13][14]

ในช่วงปลายเดือนเมษายน ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้โรคนี้เป็น"ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ"ครั้งแรกของโลก[15] และในเดือนมิถุนายน ทาง WHO และ CDC ของสหรัฐหยุดนับจำนวนผู้ติดเชื้อและประกาศให้โรคนี้เป็นโรคระบาดทั่ว[16]

ศักยภาพก่อโรค[แก้]

โครงสร้างของไวรัสไข้หวัดใหญ่

ศักยภาพก่อโรคของไวรัสไข้หวัดใหญ่สุกรอยู่ในระดับอ่อนและอัตราการตายต่ำมาก[17][18]

ในช่วงกลางปี 2009 ทาง CDC ของสหรัฐรายงานว่า ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่มีอาการหนัก มีความคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล และสามารถฟื้นตัวได้ค่อนข้างเร็ว[19] ในเดือนกันยายน 2009 กล่าวกันว่า จำนวนผู้เสียชีวิตมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนผู้เสียชีวิตรายปีจากไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล[20] อย่างไรก็ตาม การเทียบกับจำนวนผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลมีแนวโน้มว่าประเมินค่าโรคระบาดทั่วต่ำไป[21] และไวรัสระบาดทั่ว H1N1/09 เป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์หลักที่ทำให้มีผู้ป่วยในช่วงฤดูไข้หวัดใหญ่ใน ค.ศ. 2009/10[22]

งานวิจัยจากอิมพิเรียลคอลเลจลอนดอนเปิดเผยว่า[23] ไม่เหมือนกับไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล H1N1/09 สามารถทำให้เซลล์ปอดติดเชื้อ ในขณะที่ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลจะติดเชื้อแค่เซลล์ที่มีหน่วยรับความรู้สึกประเภท a2-6 ซึ่งมักอยู่ในจมูกและลำคอ แต่ H1N1/09 สามารถติดเชื้อเซลล์ที่มีหน่วยรับความรู้สึกประเภท a2-3 ได้ ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่าทำไมผู้ป่วยบางคนถึงมีอาการทางเดินหายใจรุนแรง

ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงพฤศจิกายน ค.ศ. 2009 มีผู้เสียชีวิตจากไวรัสระบาดทั่ว H1N1 ในสหรัฐ 3,900 คน ซึ่งบางครั้งนำไปเทียบกับผู้เสียชีวิตรายปีจาก"ไข้หวัดใหญ่" 36,000 คนต่อปี ซึ่งมักเสียชีวิตในฤดูหนาว แม้ว่าจำนวนนี้เป็นแค่จำนวนประมาณการ[24] อัตราผู้เสียชีวิตจาก H1N1 ในสหรัฐ ถูกคำนวณไว้ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2009 จาก CDC อยู่ที่น้อยกว่าร้อยละ 0.02[25] และมีการคำนวณในอังกฤษอย่างชัดเจนที่ร้อยละ 0.026[26]

วัคซีน[แก้]

ผู้คน 2,500 คนเข้าแถวในห้างที่เท็กซัสซิตี รัฐเท็กซัสเพื่อรับวัคซีน H1N1

วัคซีนที่มีไว้ป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลไม่สามารถป้องกันได้ ในปลายเดือนตุลาคม มีการจำหน่วยวัคซีนในอเมริกาเหนือ และมีการผลิตวัคซีนสามพันล้านโดสต่อปีแทนที่จะเป็นห้าล้านโดสต่อปี[27]

การกลายพันธุ์[แก้]

ในวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 สถาบันสาธารณสุขนอร์เวย์เผยแพร่รายงานว่า มีการค้นพบกรกลายพันธุ์ของไข้หวัดใหญ่ H1N1 ที่อาจก่อให้เกิดอาการรุนแรงที่สุดในหมู่ผู้ติดเชื้อ ในรายงานนี้กล่าวด้วยว่า "การกลายพันธุ์ส่งผลต่อทักษะไวรัสให้เข้าไปในระบบหายใจลึกกว่าเดิม ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยที่รุนแรงมากขึ้น"[28]

การต่อต้าน[แก้]

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2010 WHO รายงานตัวอย่างไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 2009 ที่ถูกทดสอบ 314 แบบ มีการต่อต้านโอเซลทามิเวียร์[29] ซึ่งเป็นเรื่องที่คาดไม่ถึง เพราะ 99.6% ของสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ตามฤดู H1N1 ถูกพัฒนาให้ต้านอะแมนตาดีนและไรแมนตาดีนแล้ว[30] ข้อมูลเมื่อ สิงหาคม ค.ศ. 2009 ไม่มีไข้หวัดใหญ่ชนิดใดที่ต่อต้านซานามิเวียร์เลย[31]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. International Committee on Taxonomy of Viruses. "The Universal Virus Database, version 4: Influenza A". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 13, 2010.
  2. "Update: Novel Influenza A (H1N1) Virus Infections—Worldwide, May 6, 2009". Morbidity and Mortality Weekly Report. Centers for Disease Control and Prevention. May 8, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-11-08.
  3. "Some immunity to novel H1N1 flu found in seniors". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-23. สืบค้นเมื่อ 2021-08-14.
  4. "Swine Influenza A (H1N1) Infection in Two Children—Southern California, March–April 2009". Morbidity and Mortality Weekly Report. Centers for Disease Control and Prevention. 21 April 2009.
  5. MacKenzie, Debora (27 May 2009). "Deadly new flu virus in US and Mexico may go pandemic". New Scientist. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 28, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-11-08.
  6. Emma Wilkinson (2009-05-02). "What scientists know about swine flu". BBC News.
  7. Seth Borenstein (2009-05-01). "Swine flu name change? Flu genes spell pig".
  8. Rabadan R (2009-04-28). "PRO/AH/EDR> Influenza A (H1N1) "swine flu": worldwide (04)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-27. สืบค้นเมื่อ 2009-11-30.
  9. MacKenzie, Debora (9 May 2009). "Swine flu: Can science save us from the second wave?". New Scientist (2707): 4–5. doi:10.1016/S0262-4079(09)61215-X. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 9, 2009. Alt URL
  10. Check, Hayden Erica (5 May 2009). "The turbulent history of the A(H1N1) virus". Nature. 459 (7243): 14–5. doi:10.1038/459014a. ISSN 1744-7933. PMC 7095218. PMID 19424121.
  11. Cohen Jon; Enserink Martin (1 May 2009). "As Swine Flu Circles Globe, Scientists Grapple With Basic Questions". Science. 324 (5927): 572–3. doi:10.1126/science.324_572. PMID 19407164.
  12. "2009 swine flu pandemic originated in Mexico, researchers discover". Science Daily. 27 June 2016. สืบค้นเมื่อ 18 March 2020.
  13. "Swine Influenza A (H1N1) Infection in Two Children—Southern California, March–April 2009". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 April 2009.
  14. "2009 H1N1 Pandemic (H1N1pdm09 virus)—CDC". 2019-06-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2019. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
  15. "WHO—Swine influenza". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 May 2014.
  16. Chan, Margaret (11 June 2009). "World now at the start of 2009 influenza pandemic". World Health Organization (WHO). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2009. สืบค้นเมื่อ 25 October 2009.
  17. Wang, Taia T.; Palese, Peter (June 2009). "Unraveling the mystery of swine influenza virus". Cell. 137 (6): 983–85. doi:10.1016/j.cell.2009.05.032. PMID 19524497. S2CID 2861338.
  18. Fitzgerald DA (September 2009). "Human swine influenza A [H1N1]: practical advice for clinicians early in the pandemic". Paediatr Respir Rev. 10 (3): 154–58. doi:10.1016/j.prrv.2009.06.005. PMID 19651387.
  19. "Swine flu may have infected more than 100,000 Americans". The Atlanta Journal-Constitution. 17 May 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-19. สืบค้นเมื่อ 2021-08-14.
  20. Lisberg, Adam (June 7, 2009). "Swine flue may be scary, but 250 times as many die from regular flu (error in original title)". Daily News (New York). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-12. สืบค้นเมื่อ 2021-08-14.
  21. World Health Organization (22 December 2009). "Comparing deaths from pandemic and seasonal influenza". WHO. สืบค้นเมื่อ 15 April 2010.
  22. For example, Centers for Disease Control and Prevention (9 April 2010). "2009 H1N1 Flu:Situation Update". Centers for Disease Control and Prevention. สืบค้นเมื่อ 15 April 2010. Most flu continues to be 2009 H1N1.
  23. Childs RA; Palma AS; Wharton S; และคณะ (September 2009). "Receptor-binding specificity of pandemic influenza A (H1N1) 2009 virus determined by carbohydrate microarray". Nat. Biotechnol. 27 (9): 797–99. doi:10.1038/nbt0909-797. PMC 3771066. PMID 19741625.
  24. "Seasonal influenza—flu symptoms & severity". CDC. 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-09-13. An average of about 36,000 people per year in the United States die from influenza-related causes
  25. "CDC's swine flu toll: 4,000 dead, 22 million ill". Associated Press. 13 November 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2013. สืบค้นเมื่อ 2009-11-13. Estimates of deaths caused by the swine flu have grown to nearly 4,000 since April . . . Swine flu has sickened about 22 million Americans since April
  26. Liam J Donaldson; Paul D Rutter; Benjamin M Ellis; และคณะ (10 December 2009). "Mortality from pandemic A/H1N1 2009 influenza in England: public health surveillance study". British Medical Journal. 339: b5213. doi:10.1136/bmj.b5213. PMC 2791802. PMID 20007665.
  27. "AFP: WHO cuts swine flu vaccine production estimate, 24 September 2009".
  28. ABC News http://www.abcnews.go.com/Health/wireStory?id=9138409 เก็บถาวร มิถุนายน 29, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  29. "Update on oseltamivir resistance to influenza H1N1 (2009) viruses" (PDF). World Health Organization (WHO). December 15, 2010. สืบค้นเมื่อ December 30, 2010.
  30. "2008–2009 Influenza Season Week 39 ending October 3, 2009". Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 2009-10-09. สืบค้นเมื่อ 2009-11-20.
  31. "2008–2009 Influenza Season Week 32 ending August 15, 2009". Flu Activity & Surveillance. Centers for Disease Control and Prevention. 2009-08-21. สืบค้นเมื่อ 2009-12-04.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]