ไรขาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไรขาว[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ชั้น: Arachnida
ชั้นย่อย: Acari
อันดับใหญ่: Acariformes
อันดับ: Trombidiformes
วงศ์: Tarsonemidae
สกุล: Polyphagotarsonemus
สปีชีส์: P.  latus
ชื่อทวินาม
Polyphagotarsonemus latus [2]
(Banks, 1904)

ไรขาว[3] ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Polyphagotarsonemus latus (Banks) (อังกฤษ: Broad mite) มีขนาดเล็กสามารถมองเห็นไรขาวได้โดยการมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ เป็นศัตรูพืชชีวภาพอย่างหนึ่ง มักพบระบาดหนักในฤดูฝนช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน ทำให้เกิดการหยุดเจริญในพืช ได้แก่ พริก กะเพรา แตงกวา ส้มโอ ฯลฯ ส่งผลกระทบต่อพืชเศรษฐกิจจำนวนมาก

ลักษณะรูปร่างและโครงสร้าง[4][แก้]

ไข่[แก้]

เป็นรูปทรงรี ยาวประมาณ 94 ไมครอน กว้างประมาณ 69 ไมครอน โปร่งใส มีตุ่มเรียงเป็นแถว 6-7 แถวโดยรอบ ประมาณ 36-43 ตุ่ม

ตัวอ่อนเกิดใหม่[แก้]

เป็นรูปทรงรี มีสีขาวขุ่นคล้ายนม มีขา 3 คู่ มีส่วนท้ายลำตัวแหลมเรียกว่า tegula เมื่อเริ่มโตจะมีสีสว่างกว่าตอนเกิดใหม่

ระยะหยุดนิ่ง[แก้]

ยาวประมาณ 165 ไมครอน กว้าง 83 ไมครอน โปร่งใส กลางหลังมีรูป dumble

เพศเมียตัวเต็มวัย[แก้]

มีขา 4 คู่ เป็นรูปทรงรี ยาวประมาณ 200 ไมครอน มีลำตัวตอนท้ายกว้าง โปร่งใสเมื่ออายุมากขึ้นจะเริ่มมีสีเหลืองค่อยๆเข้มขึ้น มีแถบกลางหลัง

เพศผู้ตัวเต็มวัย[แก้]

มีขา 4 คู่ เป็นรูปทรงรี ยาวประมาณ 175 ไมครอน กว้างประมาณ 93 ไมครอน

โดยทั่วไปเพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้

ลักษณะความเสียหาย[แก้]

ไรขาวมีอวัยวะส่วนปากไม่ค่อยแข็งแรง เช่นในพริก พบไรขาวที่ส่วนยอดของต้นพริก โดยพบว่าการกินดูดกินน้ำเลี้ยงที่พื้นผิวของใบอ่อนด้านใต้ใบ และวงจรชีวิตของไรขาวอยู่ที่พื้นผิวใบอ่อนด้านใต้ใบ พื้นผิวใต้ใบจะส่องแสงระยิบเมื่อนำมาส่องกระทบกับแสงอาทิตย์ จากนั้นจะพบว่าใบเริ่มมีสีเหลืองซีดเกิดอาการหงิก ขอบใบม้วนลง และเกิด necrosis ที่ยอดทำให้เกิดการแคระแกร็น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะพบไรขาวหรือไข่ของมัน ที่อยู่บนกิ่งไม้ ตาดอก ดอก และผลของพริก แต่ไม่พบอาการเสียหายใด

วิธีการป้องกันและกำจัด[แก้]

ตรวจดูไรขาวบนใบพืชตั้งแต่เริ่มปลูกอย่างสม่ำเสมอ ถ้าเริ่มตรวจพบให้รีบกำจัดโดยการใช้สารฆ่าเฉพาะไร อาจเป็นสารสกัดจากพืช สารเคมีกำจัดไร เช่น เคลเทน คลอโรเบนไซเลท และพลิคแทรน หรือศัตรูทางชีวภาพของไรขาวเช่นไรตัวห้ำ

อ้างอิง[แก้]

  1. [1], รูปไรขาว
  2. [2], Polyphagotarsonemus latus
  3. [3][ลิงก์เสีย],ไรขาว
  4. MANJIT SINGH and M.S. DHOORIA. 2006. BIOLOGY, HOST RANGE AND POPULATION DYNAMICS OF TARSONEMID MITE, POLYPHAGOTARSONEMUS LATUS (BANKS) ON CHILLI (CAPSICUM ANNUM) IN PUNJAB. J. Appl. Zool. Res. 17(1): 18-23

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]