ไมเคิล ไฮเซอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไมเคิล ไฮเซอร์
เกิดไมเคิล แมดเดิร์น ไฮเซอร์
4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1944(1944-11-04)
Berkeley, California
สัญชาติอเมริกัน
การศึกษาSan Francisco Art Institute
มีชื่อเสียงจากประติมากรรม, จิตรกรรม, ภาพพิมพ์
ผลงานเด่นDouble Nagative
ขบวนการภูมิศิลป์, มินิมอลลิส, ศิลปะร่วมสมัย

ไมเคิล ไฮเซอร์ (อังกฤษ: Michael Heizer) เป็นศิลปินแนวภูมิศิลป์ (Land Art) ที่มีชื่อเสียงในการสร้างผลงานศิลปะขนาดใหญ่ตามสถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะตามแหล่งธรรมชาติ จึงมีการพัฒนาแนวคิด เทคนิคต่างๆ วัสดุ อุปกรณ์ และพื้นที่ เพื่อนำมาสร้างงานศิลปะ โดยศิลปินจะสร้างงานศิลปะลงบนพื้นที่โดยตรง ไม่สามารถเคลื่อนที่ย้ายไปไหนได้และไม่คงทนถาวรเนื่องจากถูกกัดเซาะและค่อยๆถูกทำลายโดยวัฏจักรธรรมชาติ เพื่อแสดงออกถึงแก่นสารสำคัญด้วยมุมมองที่แตกต่างออกไป รวมถึงต้องการต่อต้านการค้าขายงานศิลปะเชิงพาณิชย์จึงทำตัวท้าทายขนบทางศิลปะแขนงต่างๆ อีกทั้งศิลปินกลุ่มนี้มีแนวคิดว่าพิพิธภัณฑ์หรือหอศิลป์นั้นมีข้อจำกัดมากและยังสนใจในผลประโยชน์ส่วนตนมากเกินไป อย่างไรก็ตามแม้ศิลปินเฉลิมฉลองการปลดเปลื้องพันธนาการของศิลปะให้เป็นอิสระจากพื้นที่ของสถาบันศิลปะ แต่งานศิลปะของไฮเซอร์ยังคงรักษาศิลปะประเพณีนิยมไว้อยู่ ซึ่งสังเกตได้จากกงานจิตรกรรม และภาพพิมพ์

ประวัติและชีวิตส่วนตัว[แก้]

ต้นกำเนิด[แก้]

ไมเคิล ไฮเซอร์เกิดเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ.1944 ในเมืองเบิร์กลีย์รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นลูกชายของ ดร.โรเบิร์ต ไฮเซอร์ นักมานุษยวิทยาที่มีชื่อเสียงในช่วงเวลานั้น เขาเรียนในโรงเรียนมัธยมในประเทศฝรั่งเศสเป็นเวลา 1 ปี [1]

เริ่มเป็นศิลปิน[แก้]

ไฮเซอร์เริ่มต้นชีวิตศิลปิน โดยในช่วงแรกเคยสนใจเกี่ยวกับแนวคิดและสุนทรียศาสตร์ของสิ่งที่ปัจจุบันเรียกว่า มินิมอลิซึ่ม ก่อนจะฝึกฝนสั่งสมประสบการณ์ ในช่วงนี้เองที่เขาได้พบบกับศิลปินมากมายไม่ว่าจะ คาร์ล อังเดร, แดน ฟลาวิน, แฟรงค์ สเตลล่า, วอลแตร์ เดอ มาเรีย และโทนี่ สมิธ ช่วงหลังปี 1960 ไฮเซอร์ได้หลบหนีจากความรู้สึกที่ถูกจำกัดของเมืองนิวยอร์กไปยังแถบทะเลทรายบริเวณรัฐแคลิฟอเนียและรัฐเนวาด้า ซึ่งสถานที่นี้เองที่ศิลปินสามารถสร้างผลงานศิลปะขนาดใหญ่ที่ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับสถาบันทางศิลปะ หรือเส้นแบ่งเขตแดนงานศิลปะที่มีจุดประสงค์เพื่อหวังกำไรของพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ ในทะเลทรายที่ว่างเปล่านี้เองที่ศิลปินได้สร้างสรรค์ผลงาน Doble Negative (1969-70) โดยได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมของพวกอียิปต์ อินคา มายา ซึ่งเป็นสถานที่ที่พ่อของศิลปิน ซึ่งเป็นทั้งนักโบราณคดีและนักมานุษยวิทยาได้พาศิลปินไปเปิดโลกกว้างในช่วงวัยเยาว์ [2]

จุดพลิกผันให้กลายเป็นศิลปินผู้โด่งดัง[แก้]

พวกเขาเดินทางไปทางทิศตะวันตกในปีค.ศ. 1967 กับเพื่อนร่วมงานของเขาชื่อวอลเตอร์ เด มาเรีย และสร้างรูปแบบใหม่ของ "ศิลปะภูมิทัศน์" (land art) ซึ่งใช้ดินเป็นวัสดุ โดยระยะห่างของจากสตูดิโอแคบของนิวยอร์กนี้เองที่ทำให้ศิลปินสามารถนำเสนองานศิลปะของเขาให้ออกนอกขอบเขตของผนังสีขาวในพิพิธภัณฑ์ ผลงานของเขาที่เป็นประวัติการณ์และมีชื่อเสียงที่สุดคือ” Double Negative” ซึ่งเป็นการร่วมมือสร้างผลงานศิลปะระหว่างไฮเซอร์และศิลปินภูมิทัศน์ในยุคแรกๆ อีกทั้งผลงานของเขายังไปปรากฏในภาพยนตร์ของโรเบิร์ต สมิทสัน (Roberth Smithson) ในผลงานที่ชื่อ Spiral Jetty ซึ่งเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงในระดับโลก[3]

ในปีค.ศ. 1972 ไฮเซอร์ เริ่มก่อสร้างผลงานศิลปะโดยการติดตั้งงานขนาดใหญ่ในสถานที่ที่รู้จักในฐานะเมืองในทะเลทรายที่ชนบทลินคอล์นเคาน์ตี้ รัฐเนวาดา หลังจากเริ่มมีชื่อเสียง ไฮเซอร์เริ่มรู้สึกประหม่ายามที่สื่อมวลชนให้ความสนใจ จนต่อมาเขากลายเป็นที่รู้จักในฐานะที่ศิลปินที่รักสันโดษ อย่างไรก็ตามเขายังคงผลิตงานจิตรกรรม และประติมากรรมขนาดเล็ก โดยผลงานเหล่านี้ถูกให้ความสนใจอย่างล้นหลามในการแสดงนิทรรศการเดี่ยวของเขา (ผลงานที่เด่นที่สุดจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย, ลอส แองเจิลลิส และวิทนีย์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะอเมริกันนิวยอร์ก) ตอนนี้ผลงานของเขาปรากฏอยู่ในพิพิธภัณฑ์และพื้นที่สาธารณะทั่วโลก[4]

ชีวิตปัจจุบัน[แก้]

ในปีค.ศ. 1995 ไฮเซอร์ ได้รับการวินิจฉัยที่มีความผิดปกติทางระบบประสาทที่เรียกว่า polyneuropathy ทำให้ความสามารถในการใช้มือของเขาลดลง ปัจจุบันเขาอาศัยอยู่กับภรรยาคนที่สองชื่อแมรี่ฮาน และยังคงทำงานศิลปะของเขาจนถึงทุกวันนี้[5]

แนวความคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน[แก้]

ไมเคิล ไฮเซอร์ เป็นศิลปินชาวอเมริกาที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ผลงานของเขาคือ ต้องการปฏิเสธศิลปะในเชิงธุรกิจการค้า เขาสนับสนุนกระแสทางด้านอนุรักษ์สภาพแวดล้อม มีแนวโน้มต่อต้านอารยธรรมเมือง และบ้างก็เป็นพวกที่มีความคิดในเชิงจิตวิญญาณ ศิลปะในกระแสแบบนี้ว่า ศิลปะสิ่งแวดล้อม หรือ เอ็นไวรอนเม็นทัล อาร์ต (Environmental art) แต่ชื่อที่เรียกติดปากติดกระแสมากกว่าคือ เอิร์ธ อาร์ต (Earth art )

ผลงานของ ไฮเซอร์มักจะมีลักษณะเด่นตรงที่เป็นประติมากรรมขนาดใหญ่ ดูคล้ายงานโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่ทำลงบนพื้นดิน หิน หญ้า หรือสิ่งที่ต้องใช้พื้นที่มากซึ้งบางครั้งงานก็มีความกลมกลืนกับธรรมชาติหรือเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติจนบางครั้งแยกไม่ออก ว่าเป็นมนุษย์สร้างขึ้นหรือธรรมชาติสร้างเอง เช่น งาน double negative โดยแนวคิดของ ไฮเซอร์คือ การกลับไปเป็นธรรมชาติ เพราะสิ่งที่ศิลปินสร้างขึ้นนั้นไม่มีประโยชน์ใดๆเลย ถึงทำไปก็กลับคืนสู่ธรรมชาติอยู่ดี ก็เหมือนมนุษย์ที่ลอกเลียนแบบธรรมชาตินั้นเอง

ไฮเซอร์มองว่าตัวเองเป็นศิลปินที่เป็นอิสระจากกลไกทางการตลาด ในนิตยสาร อาร์ตฟอรั่ม ศิลปินนำตัวอย่างจากผลงานชื่อ Displaced/Replaced Mass มาเป็นตัวอย่างในการสะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติของศิลปินที่มีต่อโลกศิลปะดังนี้ “สถานะของศิลปะได้ดำเนินมาถึงจุดอิ่มตัว พิพิธภัณฑ์ต่างๆแออัดไปด้วยผลงานคอลเลคชั่นต่างๆมากมายจนพื้นแทบจะทรุดอยู่แล้ว ทั้งๆที่พื้นที่ด้านนอกยังมีเหลืออยู่แท้ๆ” ผืนดินซึ่งเป็นที่ตั้งของผลงาน Displaced/Replaced Mass เปิดให้คนทั่วไปได้เข้ามาซื้อได้ ทว่าไม่สามารถซื้องานศิลปะชิ้นนี้ไปได้ ดังที่ศิลปินกล่าวว่า “มีขายเฉพาะที่ดินเท่านั้น งานศิลปะไม่เกี่ยว” ทั้งนี้ไฮเซอร์ได้วิพากษ์วิจารณ์สภาพสังคมที่ก้มหัวให้กับงานศิลปะที่มีคุณประโยชน์ในแง่ของประโยชน์ใช้สอย หรูหรา หรือตอบสนองในด้านการประดับตกแต่งอย่างดุดัน และสถาบันศิลปะต้องมีส่วนรับผิดชอบกับปัญหาดังกล่าวไม่มากก็น้อย[6]

ทั้งการออกแบบและการฟื้นฟูสภาพทางนิเวศน์ล้วนเป็นภารกิจที่สะท้อนให้เห็นถึงความสนใจของศิลปินในเรื่องพื้นที่ มวลและปริมาตรอีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความสนใจในการทำงานกับพื้นดินโดยตรงอีกด้วย ทั้งนี้หลังจากผลงานประติมากรรมนิเวศศิลป์ทั้งหมดสร้างเสร็จในเดือนตุลาคม 1985 และเปิดให้สาธารณชนเข้าชมในฤดูใบไม้ร่วงของปี 1986 หน้าดินก็เริ่มถูกกัดเซาะอยู่เรื่อยๆ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การอนุรักษ์ดูแลผลงานตกเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐอิลลินอยส์ ถึงกระนั้นปัจจุบันประติมากรรมเนินดินเหล่านี้กลับพังทลายจนทบจะจำเค้าโครงเดิมไม่ได้ จนทำให้เกิดคำถามขึ้นว่าจะพอมีหวังบ้างหรือไม่ที่ศิลปิน ภาครัฐและภาคเอกชนจะให้ความร่วมมือกันดำรงรักษาผลงานศิลปะร่วมกัน [7]

ผลงานที่สำคัญ[แก้]

Double Negative[แก้]

[[ไฟล์:|150px|thumbnail|Double Negative, 1969]] งานของไฮเซอร์ ที่ชื่อเสียงมากที่สุด คือ “ Double Nagative”ในปี 1970 ผลงานชิ้นนี้สร้างที่เนวาดา สหรัฐอเมริกา ได้รับการจัดในแกลลอรี่ ของ museum of Comtemporary Art ที่ ลอส แองเจอลิส ลักษณะชิ้นงาน คือการขุดเป็นร่อง ขนาดใหญ่กลางพื้นดินทะเลทราย โดยดินที่ขุดไปประมาณ 240000 ตัน และมีความลึกไป 50 ฟุต ความกว้าง 30 ฟุต และความยาว 1500 ฟุต สามารถเดินไปชมได้ ดับเบิ้ล เนกาทีฟ คล้ายกับ เป็นสิ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นเอง เป็นเป็นความคิดของไฮเซอร์ว่า สิ่งที่มนุษย์ทำลงไปไม่มีประโยชน์ ยังปล่อยให้งานถูกกัดกร่อนโดยธรรมชาติ สุดท้ายก็กลับคืนสู่ธรรมชาติ โดยงานแนว ภูมิศิลป์หรือที่เรียกว่า แลนด์อาร์ท เป็นที่นิยมในอเมริกา สมัยช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1970 ซึ่งมีศิลปินที่ร่วมสมัยขณะนั้น คือ โรเบิตร์ สมิทสัน ผู้สร้างทะเลกำแพงขมวดหอย[8]

"double negative" ในชื่อนี้จึงหมายถึงทั้งธรรมชาติสร้างขึ้นและและมนุษย์สร้างช่องว่างเป็นรูปเครื่องหมายลบเป็นผลงาน งานชิ้นนี้ไม่มีอะไรเป็นส่วนประกอบหลักปัจจุบันผลงานชิ้นนี้เป็นเจ้าของโดยพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยที่ลอสแองเจิลลิส (MOCA) และสามารถเข้าชมได้โดยรถสี่ล้อหรือรถมอเตอร์ไซค์[9]

Levitated Mass[แก้]

[[ไฟล์:|150px|thumbnail|Levitated Mass]] คือศิลปะการติดตั้ง (installation)ที่ถูกนำมาจัดแสดงที่ LACMA ถูกกล่าวว่าเป็นชิ้นส่วนลึกลับที่ถูกตัดแยกของทะเลทรายที่ตั้งอยู่บริเวณระแวกบ้านของคนเมืองที่มีประชากรอยู่อาศัยเกือบ 10 ล้านคน สนามหญ้าวอเตอร์ฮังกรี้ทางตอนเหนือถูกฉีกและถูกแทนที่ด้วยความแห้งแล้วเกิดการเสียหายของดวงอาทิตย์แล้วเกิดการขยายของหินแกรนิตที่เปื่อย ช่องสีเทาหยักของชิ้นคอนกรีตขัด 456 ฟุตวางพาดสนามว่าง ตั้งที่มุมเล็กๆระหว่างศาลาและถนนที่ 6 เช่นเดียวกับงานแบบเวิร์คอิน ของการวาดภาพภูมิทัศน์แปลกๆโดย เซอเรียลลิส ยีฟ แท็งกาย ซึ่งแสดงถึงพลวัตเงียบสงบของความโค้งงอราวกับฉากที่เกี่ยวกับการฝังศพ[10]

ผลงานอื่น ๆ[แก้]

  • "Isolated Mass/Circumflex (#2)" (1968–72), Nine Nevada Depressions, Menil Collection (Houston, Texas)
  • "Rift # 1" (1968–72; deteriorated), Nine Nevada Depressions, Massacre Dry Lake, Nevada
  • "Windows and Matchdrops" (1969), seven small rills in the floor in front of the Kunsthalle Düsseldorf entrance, Germany
  • "City (artwork)|City" (1972, unfinished), Lincoln County, Nevada
  • "Adjacent, Against, Upon" (1976), Myrtle Edwards Park (Seattle, Washington)
  • "This Equals That" (1980), State Capitol Complex, Lansing, Michigan
  • "45 Degrees, 90 Degrees, 180 Degrees" (1984), Rice University (Houston, Texas)
  • "North, East, South, West" (1967/2002), Dia:Beacon, Beacon, New York
  • "Tangential Circular Negative Line" (2012), Mauvoisin, Switzerland, an Air&Art Foundation commission directed by Jean Maurice Varone

Gallery[แก้]

Abstract Paintings[แก้]

Environmental Art[แก้]

ตัวอย่างผลงาน Levitating mass[แก้]


Installation[แก้]

"North, South, East, West" (1967/2003)[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. Michael Kimmelman (December 12, 1999), A Sculptor's Colossus of the Desert New York Times.
  2. http://www.contemporaryartdaily.com/2010/11/michael-heizer-at-david-zwirner/
  3. http://doublenegative.tarasen.net/heizer.html
  4. http://doublenegative.tarasen.net/heizer.html
  5. http://doublenegative.tarasen.net/heizer.html
  6. มิชาเอล ไลลัค. แลนด์อาร์ต. กรุงเทพฯ :เดอะเกรทไฟน์อาร์ท, 2552. หน้า 52.
  7. มิชาเอล ไลลัค. แลนด์อาร์ต. กรุงเทพฯ :เดอะเกรทไฟน์อาร์ท, 2552. หน้า 56.
  8. http://doublenegative.tarasen.net/double_negative.html
  9. http://pictify.com/21699/michael-heizer-double-negative[ลิงก์เสีย]
  10. https://infrascapedesign.wordpress.com/tag/michael-heizer/

อ้างอิง[แก้]

  • มิชาเอล ไลลัค. แลนด์อาร์ต. กรุงเทพฯ :เดอะเกรทไฟน์อาร์ท, 2552.
  • Michael Kimmelman. A Sculptor's Colossus of the Desert New York Times, 1999.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]