ลำยอง
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก ใบระกา)
ลำยอง หรือ เครื่องลำยอง คือ ส่วนประกอบช่วงบนของปั้นลม เป็นเครื่องตกแต่งในสถาปัตยกรรมไทยที่นิยมสร้างเฉพาะในวัดและพระที่นั่งต่าง ๆ เท่านั้น
ลำยองประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก ๆ ดังภาพ ได้แก่
- ช่อฟ้า
- ใบระกา
- รวยระกา
- งวงไอยรา
- นาคสะดุ้ง
- หางหงส์
- กระจังรวน
- บัวจงกล
- จั่วบังนก
- คันทวย
ลำยองหลังคาหน้าจั่ว
[แก้]ลำยองประดับหลังคาและหน้าบัน มีองค์ประกอบดังนี้
ช่อฟ้า
[แก้]เป็นส่วนซึ่งประดับอยู่ส่วนยอดบนสุดของปลายสันหลังคา
- องค์ประกอบของช่อฟ้า
- ส่วนปลายยอดหรือหงอน
- ส่วนปาก
- ส่วนท้อง เรียกว่าอกสุบรรณ
- ประเภทของช่อฟ้า
- ช่อฟ้าแบบปากหงส์ เรียกอีกอย่างว่าปากปลา ลักษณะปลายจะงอยทู่หงายขึ้นยื่นไปข้างหน้า
- ช่อฟ้าแบบปากครุฑ เรียกอีกอย่างว่าปากนก ลักษณะปลายจะงอยแหลมโค้งและงุ้มลง
- ช่อฟ้าลาว
- ช่อฟ้าหัวช้าง
- ช่อฟ้าหัวนกเจ่า
- ช่อฟ้าแบบประยุกต์ อื่น ๆ
ใบระกา
[แก้]เป็นส่วนของปั้นลมประดับตกแต่งอยู่ระหว่างช่อฟ้าและหางหงส์ มีลักษณะลวดลายปลายเรียว มีหลายลักษณะ เช่นลายน่องสิงห์ ลายหอยจับหลัก ลายกระหนก ลายใบเทศ เป็นต้น มีคติความเชื่อว่าเป็นลักษณะของขนปีกของครุฑ
รวยระกา งวงไอยรา นาคสะดุ้ง
[แก้]- รวยระกา เป็นส่วนที่รองรับใบระกา
- งวงไอยรา เป็นส่วนที่เกี่ยวงอกับแป
- นาคสะดุ้ง เป็นรวยระกาส่วนที่โค้งงอต่อจากงวงไอยรายาวไปจนจรดหางหงส์
หางหงส์
[แก้]เป็นส่วนปลายสุดของปั้นลม มีหลายแบบได้แก่ แบบทรงนาค แบบนาคเบือน แบบเศียรนาค แบบเหรา ฯลฯ
ลานหน้าบัน
[แก้]-
ช่อฟ้าอุโบสถวัดพระแก้ว กรุงเทพฯ (ช่อฟ้าแบบปากนก)
-
ช่อฟ้าวิหาร วัดเจ็ดยอด เชียงใหม่ (ช่อฟ้าแบบหัวช้าง)
-
ช่อฟ้าอุโบสถวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ (ช่อฟ้าศิลปะล้านนา)
-
ช่อฟ้าวิหารหลวง วัดสุทัศน์ กรุงเทพฯ (ช่อฟ้าแบบปากปลา)
อ้างอิง
[แก้]- ฐานานุศักดิ์ของสถาปัตยกรรมไทย
- พุทธศิลปะสถาปัตยกรรม ภาคต้น โดย พระพรหมพิจิตร
- สมคิด จิระทัศนกุล วัด: พุทธศาสนสถาปัตยกรรมไทย โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2544. ISBN 974-6006-81-9
- สมภพ ภิรมย์, พลเรือตรี ช่อฟ้า นาคเบือน ตุง องค์การค้าคุรุสภา พ.ศ. 2545. ISBN 974-0086-30-6
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วัด : พุทธศาสนสถาปัตยกรรมไทย เก็บถาวร 2007-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ตัวอย่างภาพ ลานหน้าบันวัดพระธาตุจอมปิง ลำปาง เป็นรูปเทพนม เก็บถาวร 2007-08-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน