โฮโมโฟเบีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การฉายไฟสีรุ้งที่อาคารในจตุรัสกลางเมืองอะเบอร์ดีนในสก็อตแลนด์เนื่องในวันต่อต้านโฮโมโฟเบียโลก (IDAHOT)

โฮโมโฟเบีย หรือ อาการเกลียดหรือกลัวผู้มีความหลากหลายทางเพศหรือรักร่วมเพศ (อังกฤษ: Homophobia) คือการกลัวอย่างไม่มีเหตุผล การเกลียดชัง หรือการเลือกปฏิบัติ ต่อบุคคลที่มีรสนิยมรักร่วมเพศหรือพฤติกรรมรักเพศเดียวกัน[1] และยังอธิบายถึงความกลัวหรือการดูถูกเลสเบียนและเกย์ รวมถึงพฤติกรรมต่าง ๆ ที่มาจากความรู้สึกเกลียดชัง[2] ในบางแห่งจำกัดความโดยไม่มีคำว่า "อย่างไม่มีเหตุผล" และดูมุ่งเน้นไปที่พฤติกรรมมากกว่าแรงกระตุ้น[3] คำว่า โฮโมโฟเบีย มีใช้ครั้งแรกในยุคสมัยใหม่ในปี 1971 ถึงแม้ว่าคำนี้จะเกิดขึ้นในช่วงกลางทศวรรษ 1950 ก็ตาม เป็นคำที่แสดงความเห็นกับพวกแสดงความเหยียดหยามกับกลุ่มที่มีทัศนะคติต่างกัน และกับนักวิจัยหลายคนเสนอความหมายของคำนี้อีกอย่างว่าเป็นการอธิบายถึง ความลำเอียงและการเลือกปฏิบัติ ต่อเกย์ เลสเบียน หรือผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ

โดยทั่วไปแล้วโฮโมโฟเบียจะพบในกลุ่มคนรักต่างเพศ โดยนักจิตวิทยาบางส่วนเชื่อมโยงโฮโมโฟเบียกับความกลัวที่จะรักเพศเดียวกัน ซึ่งอาจมีผลมาจากแบบตายตัวทางเพศในครอบครัว ซึ่งมีผู้ชายเป็นใหญ่และผู้หญิงอุทิศตัวต่อสามีและลูก เป็นความเชื่อฝังใจต่อบทบาทที่ถูกต้องเหมาะสมตามครรลองทางธรรมชาติ และผู้ที่ยึดติดดังกล่าวอาจรู้สึกถึงการถูกคุกคามของการมีอยู่ของเกย์และเลสเบียน เพราะเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มที่จะทำให้บทบาททางเพศที่พวกเขาคิดว่าถูกต้องตามธรรมชาติเกิดความสับสนและอาจรวมถึงการกลัวการรักเพศเดียวกัน ซึ่งการเป็นโฮโมโฟเบียส่วนใหญ่อาจมาจาก กลุ่มบุคคลที่ยึดถือบทบาททางเพศแบบตายตัว และกลุ่มคนที่เคร่งครัดตามคัมภีร์หรือคำสอนทางศาสนา นอกจากนี้แล้วการเป็นโฮโมโฟเบียอาจเกิดจากชายที่รักต่างเพศบางคนเกิดความกลัวหรือหวาดระแวงว่าจะถูกเพศชายด้วยกันทำล่วงละเมิดทางเพศ[4] เช่นการลวนลาม หรือการข่มขืนทางทวารหนัก เป็นต้น ในบางกรณีการที่ผู้ชายบางคนมีความกลัวการที่จะถูกล้อเลียน ถูกเกลียดชัง หรือถูกสังคมตัดสินว่าเป็นเกย์นั้นก็อาจถูกจัดว่าเป็นโฮโมโฟเบียอย่างหนึ่ง[5][6][7]

นอกจากนี้ยังมีคนที่รักเพศเดียวกัน ที่เป็นโฮโมโฟเบีย เป็นอันเนื่องมาจากทัศนคติเชิงลบที่สังคมมีต่อกลุ่มคนที่รักเพศเดียวกัน จึงทำให้พวกเขามีความรู้สึกเกลียดชังตัวเองลึก ๆ เนื่องจากถูกหล่อหลอมเลี้ยงดูมาจากทัศนคติและสังคมแบบนี้[4]

โดยลักษณะที่อาจแสดงให้เห็นของบุคคลที่มีอาการโฮโมโฟเบีย เช่น การเรียกคนที่รักเพศเดียวกันในทางลบ เช่นคำว่า ตุ๊ด , แต๋ว , ตีฉิ่ง , ฟักทองบด , ผิดเพศ , ขุดทอง และ สายเหลือง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการกีดกันผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศออกจากสังคม , หน้าที่การงาน , การกีดกันไม่ให้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆในสังคม , การคุกคามทางวาจา , การลดทอนความเป็นมนุษย์ , การใช้วาจาสบประมาท เยาะเย้ย ล้อเลียน กลั่นแกล้ง ดูถูก ด่าทอ หรือในบางกรณีอาจถึงขั้นทำร้ายร่างกาย[4]

ในสหรัฐอเมริกาเคยมีเหตุการณ์ที่กลุ่มบุคคลที่มีอาการโฮโมโฟเบียได้ทำลายเอกสารหรือหนังสือ ที่ผู้เขียนมีชื่อหรือนามสกุลว่า Gay หรือในชื่อหนังสือมีคำว่า Gay โดยในกรณีดังกล่าวไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มของชายรักชายเลยทั้งสิ้น[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. "webster.com". 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-05. สืบค้นเมื่อ 2008-01-29.
  2. homophobia "Dictonary.com". Dictonary.com. 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-01-29. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  3. "The American Heritage Dictionary of the English Language: Fourth Edition". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-04. สืบค้นเมื่อ 2009-05-27.
  4. 4.0 4.1 4.2 Spencer A. Rathus, Jeffrey S. Nevid, Lois Fichner-Rathus. (2000). Human sexuality in a world of diversity. Boston: Allyn and Bacon. (p.279-280)
  5. Epstein, D. (1995). "Keeping them in their place: Hetero/sexist harassment, gender and the enforcement of heterosexuality." In J. Holland&L. Adkins (Eds.), Sex, sensibility and the gendered body. London: Macmillan.
  6. Herek, Gregory M; Society for the Psychological Study of Lesbian and Gay Issues (1998). Stigma and sexual orientation : understanding prejudice against lesbians, gay men, and bisexuals. Psychological perspectives on lesbian and gay issues, v. 4. Sage Publications. ISBN 978-0-8039-5385-7.
  7. Kimmel, M. (1994). Masculinity as homophobia: Fear, shame and silence in the construction of gender identity. In H. Brod & M. Kaufman (Eds.), Theorizing masculinities (pp. 119–141). Newbury Park, CA: Sage
  8. Petras, Kathryn; Petras, Ross (2003). Unusually Stupid Americans (A compendium of all American Stupidity). New York: Villard Books. p. 103. ISBN 0-9658068-7-1.