โอ.พี. เพลส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โอ.พี. เพลส
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
สถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิก
ที่ตั้งซอยเจริญกรุง 38 แขวงบางรัก เขตบางรัก
เริ่มสร้างพ.ศ. 2451
เจ้าของกลุ่มทีซีซี

โอ.พี. เพลส เป็นศูนย์การค้าที่ตั้งอยู่ในอาคารเก่าแก่ในเขตบางรัก อาคารหลังนี้สร้างขึ้นเมื่อปี 2451 ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อใช้เป็นที่ตั้งของห้าง Falck & Beidek และเป็นรู้จักกันในชื่อ ห้างสิงโต ต่อมาได้กลายเป็น โอเรียนเต็ลพลาซ่า ก่อนที่เจ้าของคนปัจจุบันจะเข้าซื้อกิจการ ปัจจุบัน เน้นสินค้าไปที่ของเก่าและของสะสมที่หรูหรา และอาคารนีโอคลาสสิกแห่งนี้ได้รับการยอมรับในด้านสถาปัตยกรรม โดยได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ ในปี 2525

ประวัติ[แก้]

อาคารที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ โอ.พี. เพลส สร้างขึ้นเมื่อปี 2451 เพื่อเป็นที่ตั้งใหม่ของห้าง Falck & Beidek ซึ่งเปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2421 เป็นหนึ่งในห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในเมืองหลวง และเป็นที่รู้จักในชื่อ ห้างสิงโต จากรูปปั้นสิงโตคู่หนึ่งที่เคยตั้งอยู่หน้าอาคาร[1]

ธุรกิจปิดตัวลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อสยามประกาศสงครามกับเยอรมนีและยึดทรัพย์สินของพลเมืองชาวเยอรมัน[1] หลังจากนั้น อาคารหลังนี้ก็เปลี่ยนมือเจ้าของหลายครั้ง ในช่วงทศวรรษที่ 2520 สถานที่แห่งนี้เป็นที่รู้จักในชื่อโอเรียนเต็ลพลาซ่า และดำเนินการเป็นศูนย์การค้าหรูหราที่จำหน่ายวัตถุโบราณ งานศิลปะ และสินค้าหัตถกรรม[2] ต่อมากลุ่มทีซีซีได้เข้าซื้อกิจการไปในช่วงทศวรรษ 2540 หลังจากนั้นได้เปลี่ยนชื่อเป็น โอ.พี.เพลส[3]

สถาปัตยกรรม[แก้]

โอ.พี. เพลส ตั้งอยู่ในซอยเจริญกรุง 38 ใกล้กับโอ. พี. การ์เดน และโรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล ซึ่งอยู่ละแวกเดียวกับอาคารเก่าที่มีสถาปัตยกรรมแบบยุโรปอีกหลายแห่ง[4] อาคารสร้างด้วยสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิก และได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ในปี พ.ศ. 2525[5] ทั้งนี้ อาคารดังกล่าวประกอบด้วยร้านค้าจำนวน 59 ร้าน และพื้นที่จัดกิจกรรม[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Anake Nawigamune (October 2019). "ห้างสิงโต". Art & Culture. Vol. 40 no. 12. pp. 64–75.
  2. Hoskin, John (1988). Thailand. Lincolnwood, Ill.: Passport Books. ISBN 0844297178.
  3. Viratt Sangthongkam (25 April 2017). "ว่าด้วยกรุงเทพฯ (2) เรื่องราวเกี่ยวกับกรุงเทพฯ กับกลุ่มทีซีซี น่าสนใจมากขึ้นๆ". Matichon Weekly. สืบค้นเมื่อ 5 June 2021.
  4. 4.0 4.1 นิธิตา เอกปฐมศักดิ์ (29 June 2019). "บางกอกราตรี : สวมรอยเป็นชาวบางรักไปหมุนทวนเข็มนาฬิกาเที่ยวกลางคืนอย่างคนบางกอกเมื่อร้อยปีก่อน". The Cloud. สืบค้นเมื่อ 13 January 2021.
  5. ปุญชรัสมิ์ คงเศรษฐกุล (8 September 2016). "O.P. Place". asaconservationaward.com (ภาษาไทย และ อังกฤษ). Association of Siamese Architects. สืบค้นเมื่อ 5 June 2021.