โรงพยาบาลสตรีและสูติกรรมปโรปการ

พิกัด: 27°41′22″N 85°19′09″E / 27.689563°N 85.319052°E / 27.689563; 85.319052
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลสตรีและสูติกรรรม
ปโรปการ
กระทรวงสาธารณสุขและประชากร
อาคารหลังเดิมของโรงพยาบาล "ประสูติคฤหะ"
แผนที่
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล
พิกัด27°41′22″N 85°19′09″E / 27.689563°N 85.319052°E / 27.689563; 85.319052
หน่วยงาน
รูปแบบทุนสาธารณะ
สังกัดกระทรวงสาธารณสุขและประชาชน
บริการสุขภาพ
จำนวนเตียง415
ประวัติ
ชื่อเดิมโรงพยาบาลสูติกรรมปโรปการ ศรีปัญจอินทรราชยลักษมี, ประสูติคฤห์
เปิดให้บริการ17 สิงหาคม 1959[1]
ลิงก์
เว็บไซต์www.pmwh.gov.np

โรงพยาบาลสตรีและสูติกรรรมปโรปการ (อังกฤษ: Paropakar Maternity and Women's Hospital) หรือรู้จักในชื่อ ประสูติคฤหะ (เนปาล: प्रसूति गृह; Prasuti Griha) เป็นโรงพยาบาลสูติกรรมแห่งแรกของประเทศเนปาล ตั้งอยู่ในกาฐมาณฑุ สถาปนาขึ้นในปี 1959 และมีขนาด 415 เตียง มีรายงานจำนวนสตรีที่มาคลอดบุตรที่โรงพยาบาลนี้อยู่ที่ 15,000 คนต่อปี[1] โรงพยาบาลมีขนาด 415 เตียง จำนวนนี้ 336 เป็นแผนผู้ป่วยใน; 241 เตียงเป็นของแผนกสูติศาสตร์, 61 เตียงสำหรับแผนกนรีเวชวิทยา และ 34 เตียงของเวชศาสตร์ทารกแรกเกิด และ 79 เตียงเป็นเตียงส่วนกลาง

โรงพยาบาลนี้เริ่มต้นโดยองค์การนอกรัฐ ปโรปการสันสถาน (Paropakar Sansthan) ซึ่งริเริ่มโดยทยาวีรสิงห์ กังสการ โดยเปิดขึ้นในพื้นที่ของพระราชวังหลวงจารพุรชะ และได้มงกุฏราชกุมารมเหนทระ เป็นผู้ตั้งชื่อให้ว่า โรงพยาบาลสูติกรรมปโรปการ ศรีปัญจอินทรราชยลักษมี (Paropakar Shree Panch Indra Rajya Lakshmi Maternity Hospital) เพื่อระลึกถึงอินทรราชยลักษมีเทวี ศาห์ พระชายาของมงกุฏราชกุมาร ซึ่งเสียชีวิตจากการตั้งครรภ์

โรงพยาบาลมีเจ้าหน้าที่ให้บริการประกอบด้วยแพทย์ 50 คน, พยาบาล 170 คน, เจ้าหน้าที่สนับสนุนการแพทย์ 40 คน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารและอื่น ๆ รวมอีก 360 คน นอกจากนี้โรงพยาบาลยังมีพื้นที่จัดสรรสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของบุคลากร และมีหอพักสำหรับแพทย์และแพทย์ใช้ทุน[2] โรงพยาบาลมีให้บริการในแผนกต่าง ๆ ได้แก่ สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, เวชศาสตร์ทารกแรกเกิด, รังสีวิทยา และ พยาธิวิทยา

โรงพยาบาลนี้ยังเป็นสถานที่เกิดของบุคคลที่มีชื่อเสียง รวมถึงยิกเม เขสาร์ นังเญล วังชุก กษัตริย์แห่งภูฏาน[3] รวมถึงเป็นที่คลอดบุตรทั้งสองของเจ้าหญิงศรุติแห่งเนปาล[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "Prasuti Griha- Nepali Times." Accessed June 21, 2020. http://archive.nepalitimes.com/news.php?id=8438.
  2. “परोपकार प्रसूती तथा स्त्रीरोग अस्पताल.” Accessed June 21, 2020. https://www.pmwh.gov.np/pages/about-us-2019-10-01-093508 เก็บถาวร 2022-01-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  3. “I Was Born in Nepal » Nepa Headlines.” Accessed June 21, 2020. https://www.nepaheadlines.com/i-was-born-in-nepal/.