โมกหลวง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โมกหลวง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: แอสเทอริด
อันดับ: ดอกหรีดเขา
วงศ์: วงศ์ตีนเป็ด
สกุล: Holarrhena
Wall. ex G.Don 1837
สปีชีส์: Holarrhena pubescens
ชื่อทวินาม
Holarrhena pubescens
Wall. ex G.Don 1837
ชื่อพ้อง[1]
  • Echites pubescens Buch.-Ham. 1822, illegitimate homonym, not Willd. ex Roem. & Schult. 1819
  • Chonemorpha pubescens (Wall.) G.Don
  • Elytropus pubescens (Wall.) Miers
  • Echites adglutinatus Burm.f.
  • Echites antidysentericus Roth 1819, illegitimate homonym, not (L.) Roxb. ex Fleming 1810
  • Holarrhena antidysenterica Wall. 1829, invalid name published without description, also illegitimate homonym, not (L.) Wall. 1829
  • Holarrhena codaga G.Don
  • Holarrhena villosa Aiton ex Loudon
  • Holarrhena malaccensis Wight
  • Physetobasis macrocarpa Hassk.
  • Holarrhena febrifuga Klotzsch
  • Holarrhena glabra Klotzsch
  • Holarrhena tettensis Klotzsch
  • Holarrhena macrocarpa (Hassk.) Fern.-Vill.
  • Holarrhena fischeri K.Schum.
  • Holarrhena perrotii Spire
  • Holarrhena pierrei Spire
  • Nerium sinense W.Hunter
  • Holarrhena glaberrima Markgr.

โมกหลวง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Holarrhena pubescens) หรือ มูกหลวง, โมกใหญ่ (ภาคกลาง)[2] เป็นพืชในวงศ์ตีนเป็ด (Apocynaceae) เป็นไม้ประดับและพืชสมุนไพร

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

โมกหลวงเป็นไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตร ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม กว้าง 3.5-14 ซม. ยาว 7-30 ซม. ก้านใบยาว 0.4-1.2 ซม. แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ รูปรีหรือขอบขนาน โคนใบป้านหรือรูปลิ่ม ปลายเรียวแหลม หรือเป็นติ่งแหลม ขอบเรียบ ผิวใบด้านบนและด้านล่างเป็นมันเกลี้ยง หรือมีขนสั้นนุ่ม ดอกช่อแบบช่อกระจุก ดอกย่อยมีก้าน ดอกย่อยที่ด้านข้างเท่ากัน มีขนาดเล็กกว่าดอกย่อยที่ตรงกลางช่อ ช่อดอกยาว 4-14 ซม. ก้านช่อยาว 0.9-3.5 ซม. หรือไม่มีก้านช่อ ทุกส่วนเกลี้ยง หรือมีขนสั้นนุ่ม ดอกย่อยประกอบด้วยก้านดอกย่อยสั้นมากหรือไม่มีก้าน ก้านดอกย่อย วงกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 แฉก ปลายของแต่ละแฉกแหลม วงกลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปดอกเข็ม ปลายแยก 5 แฉก กว้างประมาณ 0.4-0.8 ซม. ยาวประมาณ 0.7-2.3 ซม. สีขาว รูปขอบขนาน ปลายมน เกสรเพศผู้จำนวน 5 อัน แยกกัน เกสรเพศเมีย 1 อัน อยู่เหนือวงกลีบ ผลแตกแนวเดียว รูปแถบเรียวยาว กว้างประมาณ 0.5 ซม. ยาว 37-45 ซม. ก้านผลยาว 1.6-2.5 ซม. เมล็ดจำนวนมาก มีปีกบาง[3]

ประโยชน์[แก้]

โมกหลวงเป็นไม้ประดับที่ดอกมีกลิ่นหอม[4] เนื้อไม้สีขาวใช้ทำของใช้ได้[5] เปลือกต้นมีรสขมฝาด มีสารแอลคาลอยด์ที่สำคัญคือ คอเนสซีน (conessine)[6] ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย[7] แก้ท้องร่วงและโรคบิด[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. "World Checklist of Selected Plant Families". apps.kew.org (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). Kew: Royal Botanic Gardens. สืบค้นเมื่อ 2017-08-07.
  2. คำอธิบาย ตำราพระโอสถพระนารายณ์, ชยันต์ พิเชียรสุนทร และคณะ, หน้า 554, พ.ศ. 2544, สำนักพิมพ์อมรินทร์ กรุงเทพฯ
  3. โมกหลวง - สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด
  4. โมกหลวง -- Holarrhena pubescens - aKitia.Com
  5. โมกหลวง : Holarrhena pubescens - ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์
  6. "Holarrhena pubescens - Protabase Record". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-09. สืบค้นเมื่อ 2015-06-05.
  7. Antibacterial steroid alkaloids from the stem bark of Holarrhena pubescens
  8. Indian medicinal plants of Himalyan region: Holarrhena pubescens (Buch.-Ham.) Wall. ex DC. syn. H. antidysenterica (Linn.) (Apocynaceae) Vern. kurchi

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]