โปรเจกต์ซีฮอร์ส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โปรเจกต์ซีฮอร์ส
ตราสัญลักษณ์โปรเจกต์ซีฮอร์ส
ก่อตั้งค.ศ. 1996
วัตถุประสงค์การอนุรักษ์ทางทะเล
ที่ตั้ง
พื้นที่ให้บริการ
ทั่วโลก
สโลแกนโลกที่ระบบนิเวศทางทะเลมีความสมบูรณ์และมีการจัดการที่ดี
เว็บไซต์seahorse.fisheries.ubc.ca

โปรเจกต์ซีฮอร์ส (อังกฤษ: Project Seahorse) เป็นองค์กรอนุรักษ์ทางทะเลที่มุ่งมั่นในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของระบบนิเวศทางทะเลชายฝั่งโดยทั่วไป และม้าน้ำโดยเฉพาะ

การดำเนินงาน[แก้]

นักวิจัยโปรเจกต์ซีฮอร์สสำรวจหาม้าน้ำใต้น้ำ

โดยการทำงานเพื่อปกป้องม้าน้ำ โปรเจกต์ซีฮอร์สสนับสนุนการอนุรักษ์ทางทะเลในวงกว้าง ปลา (ม้าน้ำ) เหล่านี้ได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมที่คล้ายคลึงกัน และการลดลงของปลารวมถึงสิ่งมีชีวิตทางทะเลทั้งหมดที่เกิดจากการประมงมากเกินควร ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากมาตรการอนุรักษ์ที่คล้ายกัน งานขององค์กรไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การวิจัยทางชีววิทยา หากแต่เป็นประชากรปลาทางทะเล, ระบบนิเวศ, ชุมชนประมง, ปัญหาการค้าระดับชาติและระดับโลก ตลอดจนนโยบายและการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

องค์กรนี้ได้รับการก่อตั้งในปี ค.ศ. 1996 โดยอแมนดา วินเซนต์ และเฮเทอร์ โคลดวีย์ ที่เป็นนักวิจัยม้าน้ำ ปัจจุบัน วินเซนต์เป็นผู้อำนวยการ ส่วนโคลดวีย์เป็นรองผู้อำนวยการ และมีสมาชิกประมาณ 35 คน งานภาคสนามเริ่มขึ้นในชุมชนชาวฟิลิปปินส์ของฮันดูมอนบนเกาะจันดายัน ทางตอนเหนือของจังหวัดโบโฮล และได้ขยายไปยังทวีปยุโรป, อเมริกากลาง, เอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้, แอฟริกา และอเมริกาเหนือ โปรเจกต์ซีฮอร์สเป็นหน่วยงานเกี่ยวกับสัตว์ทะเลและสายพันธุ์ที่เกี่ยวข้องบัญชีแดงไอยูซีเอ็น

โครงการนี้ทำงานร่วมกับศูนย์ประมงยูบีซี ที่มหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย ซึ่งวินเซนต์เป็นประธานการวิจัยแคนาดาในการอนุรักษ์ทางทะเล, สมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน ซึ่งโคลดวีย์เป็นหัวหน้าโครงการระดับโลก, พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจอห์น จี. เชด และเครือข่ายทราฟฟิก[1]

ในปี ค.ศ. 2006 ได้มีโครงการเผยแพร่ประวัติของทศวรรษแรกในชื่อ โปรเจกต์ซีฮอร์สแอท 10[2]

การวิจัย[แก้]

นักวิจัยศึกษาชีววิทยา, การกระจาย, นิเวศวิทยา, ที่อยู่อาศัย และจำนวนประชากรของสายพันธุ์ม้าน้ำทั่วโลก สายพันธุ์ที่ทำการศึกษา ได้แก่:

ความสำเร็จ[แก้]

ในประเทศฟิลิปปินส์ โครงการได้จัดตั้งเขตคุ้มครองทางทะเล 34 แห่งที่ได้รับการจัดการในท้องถิ่นในประเทศฟิลิปปินส์ และสนับสนุนการเป็นพันธมิตรของ 1,000 ครอบครัวชาวประมงขนาดเล็ก โครงการคามาดา มีส่วนร่วมในการจัดตั้งทะเลสำรองและการบังคับใช้กับการประมงที่ผิดกฎหมาย[3] โครงการได้รับข้อตกลงภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) เพื่อจำกัดการส่งออกม้าน้ำสู่ระดับที่ยั่งยืน นับเป็นการควบคุมการส่งออกของโลกครั้งแรกภายใต้อนุสัญญา สำหรับปลาทะเลที่มีความสำคัญทางการค้า[4]

รางวัลที่ได้รับ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "History". Project Seahorse: Advancing Marine Conservation. 12 พฤษภาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 กันยายน 2011.
  2. "Project Seahorse at 10" (PDF). Project Seahorse. 2007.
  3. Chadwin Thomas (26–27 พฤษภาคม 1999). "Philippine Seahorses fall victim to overfishing". Philippine Center For Investigative Journalism. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กันยายน 2013.
  4. "About Project Seahorse". Guylian.com. Guylian Belgian Chocolate. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]