โบสถ์คริสต์ (วินด์ฮุก)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โบสถ์คริสทูซคีร์เชอบนเกาะกลางถนน ภาพถ่ายปี 2018

โบสถ์คริสต์ (อังกฤษ: Christ Church) หรือ คริสทูซคีร์เชอ (เยอรมัน: Christuskirche) เป็ยจุดหมายตา โบราณสถาน และโบสถ์นิกายลูเทอรันในวินด์ฮุก ประเทศนามิเบีย ภายใต้คริสต์จักรลูเทอรันเอวังเจลิคัลภาษาเยอรมันในนามิเบีย อาคารเป็นผลงานออกแบบโดยสถาปนิก โกทลีบ เรเดคเคอ[1]

โบสถ์นี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพหลังสงครามระหว่างชาวเยอรมันกับชาวเฮโรโรและชาวนามา[2] ศิลาฤกษ์ของโบสถ์วางในวันที่ 11 สิงหาคม 1907[3] และประกอบพิธีอุทิศอย่างเป็นทางการในวันที่ 16 ตุลาคม 1910[4] โดยมีชื่อแรกเริ่มว่า โบสถ์แห่งสันติภาพ[5]

โบสถ์หลังนี้สร้างขึ้นจากหินทรายควอตซ์ที่ขุดมาได้จากบริเวณโดยรอบอาวิสดัม[1] สถาปัตยกรรมของโบสถ์เป็นลักษณะผสมผสานอิทธิพลจากนีโอโรมาเนสก์, อาร์ตนูโว และ กอธิกฟื้นฟู[5] ยอดของโบสถ์มีความสูง 24 m (79 ft)[5]

ส่วนพอร์ทิโคของโบสถ์สร้างมาจากหินอ่อนคาราราซึ่งนำเข้ามาจากอิตาลี[1] นาฬิกาและบางส่วนของหลังคาขนส่งมาจากเยอรมนี เช่นเดียวกับระฆังทองสัมฤทธิ์สามใบที่รังสรรค์ขึ้นโดยฟรันซ์ ชิลลิง (Franz Schilling)[6] บนระฆังมีจารึกไว้ว่า "Ehre sei Gott in der Höhe" (พระสิริรุ่งโรจน์แด่พระเป็นเจ้า [ผู้ทรงสถิต]ในที่สูงสุด), "Friede auf Erden" (สันติภาพ[จงบังเกิด]บนโลก) และ "Den Menschen ein Wohlgefallen" (ความปราถนาดีสู่มนุษย[ชาติ])[1] ในระหว่างพิธีศีลรับกำลัง (confirmation service) ครั้งหนึ่งในปี 1960 ไม้ตีจังหวะของระฆังใบหลักเกิดหลวมและร่วงลงมาผ่านกระจกซึ่งแตกและร่วงลงบนถนน หลังจากนั้นจึงมีการติดตั้งคานกระจกเพื่อป้องกันอุบัติเหตุเช่นนี้อีด[6] กระจกสีแก้วปรอทภายในอารามเป็นของขวัญที่มอบให้โดยจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิเยอรมนี วิลเฮ็ล์มที่สอง[5] ในช่วงปลายทศวรรษ 1990s มีนักท่องเที่ยวคนหนึ่งสังเกตว่ากระจกสีทั้งหมดของโบสถ์ติดตั้งในลักษณะที่หันด้านที่มีการเคลือบป้องกันแสงแดดเข้าภายในอาคารทั้งหมด สองปีให้หลัง กระจกสีทั้งหมดจึงได้รับการเคลือบป้องกันแสงแดดจากภายนอกเพิ่มเติมเข้าไป[6]

โบสถ์ตั้งอยู่บนเกาะกลางถนนบนนถนนรอเบิร์ต มูกาเบ (Robert Mugabe Avenue) ตรงข้ามกับทริสเทินพาลัสท์[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Christuskirche in Windhoek". NamibWeb. สืบค้นเมื่อ 15 October 2016.
  2. Oltermann, Philip (2021-05-28). "Germany agrees to pay Namibia €1.1bn over historical Herero-Nama genocide". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-10-21.
  3. Oermann, Nils Ole (1999). Mission, Church and State Relations in South West Africa Under German Rule (1884-1915). Franz Steiner Verlag. p. 122. ISBN 9783515075787. สืบค้นเมื่อ 15 October 2016.
  4. Walther, Daniel Joseph (2002). Creating Germans Abroad: Cultural Policies and National Identity in Namibia. Ohio University Press. p. 99. ISBN 9780821414583. สืบค้นเมื่อ 16 October 2016.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 "Namibia Tourist Attractions and Sightseeing". World Guides. สืบค้นเมื่อ 15 October 2016.
  6. 6.0 6.1 6.2 Bause, Tanja (24 May 2010). "Landmark church celebrates centenary". The Namibian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2013. สืบค้นเมื่อ 4 November 2013.