โบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ เป็นการศึกษาวิวัฒนาการของมนุษย์เริ่มต้นขึ้นโดยอาศัยระยะเวลายาวนานจากบรรพบุรุษของมนุษย์เมื่อราว 3 ล้านปีก่อน จนกระทั่งกลายมาเป็น Homo sapiens sapiens ในประเทศไทยปัจจุบันเอง วิวัฒนาการของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์อาจสืบย้อนไปได้ราว 90,000 ปีที่ผ่านมาเท่านั้นเอง ในขณะที่นักโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติรวมถึงนักวิชาการสาขาอื่นก็ต่างพยายามค้นหามนุษย์ Homo erectus ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบันในประเทศไทย

เหตุที่มีการพยายามตามหามนุษย์โฮโม อีเรคตัสในประเทศไทยนี้ สืบเนื่องมาจากทฤษฎีการแพร่กระจายของมนุษย์โดยการเคลื่อนย้ายออกจากแอฟริกา (Out of Africa)โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกระจายตัวออกไปไกลเกินทวีปยุโรปเมื่อราว 1.6 ล้านปีมาแล้ว การแพร่กระจายมายังเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้มีหลักฐานปรากฏโด่งดังที่สุดได้แก่ "มนุษย์ปักกิ่ง" ที่พบจากการขุดค้นที่ถ้ำโจวโข่วเถี้ยนในประเทศจีนและ "มนุษย์ชวา" ที่พบในอินโดนีเซีย สัณฐานของโครงกระดูกทั้งสองนี้บ่งชี้ว่าเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์​ Homo​ erectus ที่เดินทางมาถึงโดยพื้นที่รอยต่อระหว่างจีนกับอินโดนีเซีย​บริเวณพื้นทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้​ โดยสภาพแวดล้อมเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นจุดที่เหมาะแก่การอยู่อาศัยในช่วงไพลสโตซีนตอนต้น (Early Pleistocene: 1.8 - 0.73 MYA) แบ่งตามการแบ่งยุคสมัยทางธรณีวิทยาของ ดร.รัศมี ชูทรงเดช

ไพลสโตซีนตอนต้น - ตอนกลาง[แก้]

ยุคนี้จะสัมพันธ์กับการแบ่งยุคสมัยโดยอาศัยรูปแบบและวัสดุคือตรงกับสมัยหินเก่า (เมื่อ 500,000-10,000 ปีมาแล้ว[1]

ในระยะแรกเริ่ม ด็อกเตอร์ เดวิดสัน แบล็ค ได้เข้ามาค้นหาโฮโม อิเรคตัสในไทยแต่ไม่พบหลักฐานใด ใน พ.ศ. 2515-2517 ดร.เปีย ซอเรนเซน นักโบราณคดีชาวเดนมาร์ก ได้เข้ามาทำการสำรวจและขุดค้นในหลายพื้นที่ได้แก่ อ.แม่ทะ และ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง และ อ.เมือง อ.ร้องกวาง และอ.สอง จ.แพร่ เพื่อสืบค้นร่องรอยของคนในสมัยไพลสโตซีน ปรากฏว่าพบร่องรอยของเครื่องมือหินกะเทาะกลุ่มสับตัดถึง 3,158 ชิ้น จากการกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์สามารถกำหนดอายุแหล่งโบราณคดีได้ในราว 866,000+-100 แม้ว่าการสำรวจและขุดค้นครั้งนี้จะพบเพียงเครื่องมือหิน แต่ก็สะท้อนให้เห็นถึงร่องรอยของคนที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยในสมัยไพลสโตซีนตอนต้นเลยทีเดียว

ต่อมาในพ.ศ. 2521ดร.เจ็ฟฟรี โป๊บ อาจารย์ สุภาพร นาคบัลลังก์ คุณมาลัย เลียงเจริญ และคุณพินิจ กุลสิงห์ ได้ทำการขุดค้นที่เขาป่าหนาม จังหวัดลำปาง และได้พบโบราณวัตถุคือเครื่องมือหินกะเทาะ กลุ่มเครื่องมือสับตัด กระดูกสัตว์ตระกูลวัว ควาย กวาง ฮิปโปโปเตมัส และเสือ และยังพบร่องรอยของกองไฟด้วย แสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้คงเคยเป็นที่พักอาศัยชั่วคราวของบรรพบุรุษของมนุษย์ในสมัยนั้น (คนสมัยก่อนจะเคลื่อนย้ายถิ่นฐานไปเรื่อยๆ ทั้งนี้คงขึ้นกับทรัพยากรและฤดูกาล)นอกจากนี้ การพบกระดูกสัตว์ดังที่ได้กล่าวมาแล้วยังสะท้อนให้เห็นสภาพแวดล้อมในสมัยโบราณซึ่งมีลักษณะเป็นป่าโปร่งด้วย ทั้งนี้ จากการหาค่าอายุโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ สามารถกำหนดอายุของแหล่งโบราณคดีนี้ได้ในราว 800,000-600,000 ปีมาแล้ว[2]

ไพลสโตซีนตอนกลาง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. แบ่งตามการแบ่งยุคสมัยของศาสตราจารย์ ชิน อยู่ดี
  2. รัศมี ชูทรงเดช. เอกสารคำสอนวิชา 300 221 โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. [ม.ป.ท.] : คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2549. หน้า 52-53.