แผ่นศีล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผ่นศีลบนจานรองศีล

แผ่นศีล หรือ ขนมปังศีลมหาสนิท (อังกฤษ: Sacramental bread, Communion bread, Communion wafer, Eucharistic bread, Lamb หรือ host; ละติน: hostia, แปลตรงตัว'เหยื่อสังเวย') เป็นขนมปังที่ใช้ในพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ของคริสต์ศาสนิกชน เป็นหนึ่งในสององค์ประกอบสำคัญในพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์คู่กับไวน์ศีลมหาสนิท แผ่นศีลอาจใส่เชื้อหรือไม่ใส่เชื้อขึ้นอยู่กับธรรมเนียม

เทววิทยาของคริสตจักรโรมันคาทอลิกสอนโดยทั่วไปว่า ที่คำสถาปนาศีล แผ่นศีลถูกเปลี่ยนให้เป็นพระกายของพระคริสต์ (transubstantiation) ในขณะที่เทววิทยาของคริสตศาสนิกชนในโลกตะวันออกมองว่าคำอัญเชิญพระจิตเจ้าคือจุดที่แผ่นศีลเปลี่ยนเป็นพระกายของพระคริสต์ แผ่นศีลยังมีการใช้ในพิธีกรรมในอารามของศาสนายูดาห์ เช่นเดียวกับในพิธีกรรมของศาสนามันดาอีและศาสนามิถรา[1]: 161–162  และวัฒนธรรมพาเกินอื่น ๆ ที่คล้ายกับวัฒนธรรมของอียิปต์โบราณ[2]: 66–68 

อ้างอิง[แก้]

  1. Willoughby, H. R. (2008) [1929]. Pagan Regeneration: A Study of Mystery Initiations in the Graeco-Roman World. United Kingdom: Wipf and Stock Publishers.
  2. Carpenter, E. (1920). Pagan & Christian Creeds: Their Origin and Meaning. Harcourt, Brace.

อ่านเพิ่มเติม[แก้]

  • Tony Begonja, Eucharistic Bread-Baking As Ministry, San Jose: Resource Publications, 1991, ISBN 0-89390-200-4.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]