แบลเน็ต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แบลเน็ต (อังกฤษ; Blanet) คือคำเรียกดาวเคราะห์นอกระบบในสมมติฐานที่โคจรรอบหลุมดำโดยตรง[1]

แบลเน็ตนั้นมีลักษณะโดยพื้นฐานเหมือนกับดาวเคราะห์ทั่วไป พวกมันมีมวลมากพอที่จะเป็นทรงกลมด้วยแรงโน้มถ่วงของตัวเอง แต่มีมวลไม่มากพอที่จะเริ่มกระบวนการการหลอมนิวเคลียส เฉกเช่นดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ทั่วไป ในปี 2019 กลุ่มนักดาราศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์นอกระบบได้แสดงให้เห็นว่ามีเขตปลอดภัย (Safe zone) รอบหลุมดำมวลยวดยิ่งที่สามารถเอื้ออำนวยให้แบลเน็ตนับพันดวงสามารถโคจรรอบตัวมันได้[2][3]

ศัพท์มูลวิทยา[แก้]

เคอิจิ วาดะ (Keiichi Wada) และคณะจากมหาวิทยาลัยคะโงะชิมะในประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้ตั้งชื่อดาวเคราะห์หลุมดำประเภทนี้[4] ซึ่งคำว่าแบลเน็ตนั้นเป็นหน่วยคำควบจากคำว่า black hole และ planet

การก่อตัว[แก้]

แบลเน็ตได้รับการสันนิษฐานว่าก่อตัวขึ้นจากจานพอกพูนมวลที่โคจรรอบหลุมดำที่มีขนาดใหญ่มากพอ[3][5]

ในเหตุการณ์สมมติ[แก้]

ในภาพยนตร์อินเตอร์สเตลลาร์ ทะยานดาวกู้โลกมีดาวเคราะห์หินจำนวนสามดวงที่โคจรรอบหลุมดำมวลยวดยิ่งนามว่าการ์กันทัว (Gargantua) จึงถูกนับเป็นแบลเน็ตอย่างชัดเจน

อ้างอิง[แก้]

  1. published, Rafi Letzter (2020-08-06). "Thousands of Earthlike 'blanets' might circle the Milky Way's central black hole". Space.com (ภาษาอังกฤษ).
  2. Wada, Keiichi; Tsukamoto, Yusuke; Kokubo, Eiichiro (2019-12-01). "Planet Formation around Supermassive Black Holes in the Active Galactic Nuclei". The Astrophysical Journal. 886 (2): 107. doi:10.3847/1538-4357/ab4cf0. ISSN 0004-637X.
  3. 3.0 3.1 Wada, Keiichi; Tsukamoto, Yusuke; Kokubo, Eiichiro (2021-03-01). "Formation of "Blanets" from Dust Grains around the Supermassive Black Holes in Galaxies". The Astrophysical Journal. 909 (1): 96. doi:10.3847/1538-4357/abd40a. ISSN 0004-637X.
  4. Starr, Michelle (2020-08-03). "We Have Ploonets. We Have Moonmoons. Now Hold Onto Your Hats For... Blanets". ScienceAlert (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  5. Greene, Tristan (2020-08-04). "Scientists: What if black holes had a safe zone where little planets could live? Let's call them 'blanets'". TNW | Insider (ภาษาอังกฤษ).