แบบจำลองข้อมูล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แบบจำลองข้อมูล (อังกฤษ: data model) ระดับสูงในธุรกิจ หรือในงานต่าง ๆ เป็นแบบจำลองนามธรรม ซึ่งเอกสารและการจัดข้อมูลธุรกิจสำหรับการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานและนักเทคนิค แบบจำลองนี้ถูกใช้ให้แสดงข้อมูลที่จำเป็นและถูกสร้างขึ้นโดยกระบวนการทางธุรกิจ

แบบจำลองข้อมูลในวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เป็นแบบจำลองนามธรรมซึ่งเอกสารและการจัดข้อมูลธุรกิจสำหรับการสื่อสารระหว่างผู้ร่วมงาน และใช้สำหรับวางแผนสำหรับการพัฒนาแอพลิเคชัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเก็บและการเข้าถึงข้อมูล

โฮเบอร์แมน (Hoberman: 2009) กล่าวว่า "แบบจำลองข้อมูล เป็นเครื่องมือที่ครอบคลุมทุกวิถีทางเพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ร่วมงานทั้งด้านธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญด้านไอที โดยใช้เซตของสัญลักษณ์และข้อความเพื่ออธิบายเซตย่อยของข้อมูลจริง สำหรับปรับปรุงการสื่อสารในองค์กร และนำไปสู่สภาพแวดล้อมของแอพลิเคชันที่ยืดหยุ่นและเสถียร"[1]

แบบจำลองข้อมูลได้กำหนดโครงสร้างของข้อมูลอย่างชัดเจน แอพลิเคชันปกติของแบบจำลองข้อมูล รวมถึงแบบจำลองฐานข้อมูล การออกแบบของระบบสารสนเทศ และการทำให้ข้อมูลสามารถแลกเปลี่ยนกันได้ โดยปกติแบบจำลองข้อมูลถูกระบุในภาษาแบบจำลองข้อมูล

การสื่อสารและความถูกต้องเป็นปัจจัยสำคัญสองอย่างที่เป็นประโยชน์ในการทำให้แบบจำลองข้อมูลมีความสำคัญต่อแอพลิเคชันที่ใช้และแลกเปลี่ยนข้อมูล แบบจำลองข้อมูลเป็นตัวกลางซึ่งผู้ร่วมโครงการที่มีภูมิหลังต่างกัน มีประสบการณ์ต่างกัน สามารถสื่อสารกันได้ ความถูกต้อง หมายความว่า ทีมงานและกฎเกณฑ์ของแบบจำลองข้อมูลสามารถสื่อความหมายได้อย่างเดียวกัน ไม่กำกวม

แบบจำลองข้อมูลในบางครั้งอาจใช้ในความหมายของโครงสร้างข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของภาษาโปรแกรม และมักใช้ประกอบแบบจำลองฟังก์ชัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของแบบจำลองวิสาหกิจ

ภาพรวม[แก้]

หน้าที่หลักของระบบสารสนเทศคือการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีการจัดโครงสร้าง หรือไม่มีการจัดโครงสร้าง แบบจำลองข้อมูลอธิบายข้อมูลแบบมีโครงสร้างสำหรับจัดเก็บในระบบการจัดการข้อมูล เช่น ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ โดยปกติมันไม่อธิบายข้อมูลที่ไม่จัดโครงสร้าง เช่น เอกสารของโปรแกรมประมวลผลคำ ข้อความอีเมล ภาพ เสียง หรือวีดิทัศน์

กฎเกณฑ์ของแบบจำลองข้อมูล[แก้]

จุดมุ่งหมายหลักของแบบจำลองข้อมูลคือสนับสนุนการพัฒนาระบบสารสนเทศโดยจัดเตรียมนิยามและรูปแบบของข้อมูล ตามที่เวสและฟาวเลอร์ (2542) ได้กล่าวว่า "ถ้าสิ่งนี้ได้ทำอย่างสม่ำเสมอในระบบก็จะทำให้ข้อมูลเข้ากันได้ถ้าโครงสร้างข้อมูลเดียวกันถูกใช้สำหรับจัดเก็บและเข้าถึงข้อมูล จะทำให้ข้อมูลนั้นใช้ร่วมกันได้โดยแอพลิเคชันต่างกัน อย่างไรก็ตามระบบและอินเตอร์เฟซมักมีค่า (การเสียทรัพยากร เช่น เวลา หรือเนื้อที่) มากกว่ามันควรจะเป็น ทั้งในการสร้างการทำงานและการจัดการ มันอาจเป็นตัวจำกัดธุรกิจมากกว่าที่จะสนับสนุน สาเหตุหลักคือ คุณภาพของแบบจำลองข้อมูลที่ใช้ระบบและอินเตอร์เฟซไม่เหมาะสม"

อ้างอิง[แก้]

  1. ""Data Modeling Made Simple 2nd Edition", Steve Hoberman, Technics Publications, LLC 2009". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-08. สืบค้นเมื่อ 2012-08-28.