เอ็ดวิน ฮับเบิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอ็ดวิน ฮับเบิล
เกิด20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1889(1889-11-20)
มาร์ชฟีลด์ รัฐมิสซูรี สหรัฐอเมริกา
เสียชีวิตกันยายน 28, 1953(1953-09-28) (63 ปี)
ซานมารีโน รัฐแคลิฟอร์เนีย
สัญชาติอเมริกัน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยชิคาโก
มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด
มีชื่อเสียงจากลำดับฮับเบิล
รางวัลบรูซ เมดัล 1938
แฟรงกลิน เมดัล 1939
โกลด์ เมดัล จากสมาคมดาราศาสตร์ 1940
เลเจียน ออฟ เมริต 1946
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาดาราศาสตร์
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยชิคาโก
หอดูดาวภูเขาวิลสัน
ได้รับอิทธิพลจากอัลลัน ซานเดจ
ลายมือชื่อ

เอ็ดวิน พาเวลล์ ฮับเบิล (อังกฤษ: Edwin Powell Hubble; 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1889 - 28 กันยายน ค.ศ. 1953) นักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในศตวรรษที่ 20 ศึกษารายละเอียดของดาวฤกษ์แต่ละดวงในกาแล็กซี เอ็ม 33 ซึ่งเป็นกาแล็กซีเพื่อนบ้าน พบว่าดาวฤกษ์เหล่านี้อยู่นอกกาแล็กซี่ของเราออกไป หลังจากที่ฮับเบิลได้พิสูจน์ว่ามีกาแล็กซีอื่นอีกจำนวนมาก เขายังได้พิสูจน์อีกว่า กาแล็กซีเหล่านี้ กำลังเคลื่อนที่ห่างออกไป

เมื่อกาแล็กซีอื่นเคลื่อนที่ห่างออกไปหรือเคลื่อนที่เข้าหากาแล็กซีของเรา แสงที่สังเกตเห็นจากกาแล็กซีเหล่านี้ จะเป็นสีอื่นที่แตกต่างไปจากตอนที่ยังไม่ได้เคลื่อนที่

กล้องโทรทรรศน์ฮุกเกอร์ ขนาด 100 นิ้ว ที่เมาท์วิลสัน ซึ่งฮับเบิลใช้ตรวจจับเรดชิฟต์ และค้นพบการขยายตัวของเอกภพ

ถ้ากาแล็กซีเคลื่อนที่ห่างออกไปจะปรากฏมีสีแดงขึ้น เรียกว่า กาแล็กซีมีการเขยื้อนไปทางสีแดงหรือ "เรดชิฟต์" (redshift) ถ้าเคลื่อนที่เข้าหาเรา กาแล็กซีจะปรากฏมีสีน้ำเงินขึ้น เรียกว่า เขยื้อนไปทางสีน้ำเงินหรือ "บลูชิฟต์" (blueshift) ปรากฏการณ์เปลี่ยนสีนี้ เรียกว่า ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์

ฮับเบิลใช้ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์วัดความเร็วของกาแล็กซีต่างๆ และค้นพบความสัมพันธ์เหลือเชื่อที่ว่า กาแล็กซียิ่งอยู่ไกลยิ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงขึ้น นั่นคือเขาค้นพบว่า อัตราเร็วของกาแล็กซีเป็นปฏิภาคโดยตรงกับระยะห่าง ปัจจุบันเรียกว่า กฎของฮับเบิล กฎนี้แสดงว่าเอกภพทั้งหมดกำลังมีขนาดโตขึ้น

อนึ่ง ภาพถ่ายแรกที่ได้จากกล้องฮับเบิล ถูกเปรียบเทียบเป็นภาพโมนาลิซ่าแห่งวงการดาราศาสตร์