เอสเอส คอนเต้ ดิ ซาโวเอีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอสเอส คอนเต้ ดิ ซาโวเอีย
ประวัติ
ราชอาณาจักรอิตาลี
ชื่อเอสเอส คอนเต้ ดิ ซาโวเอีย (SS Conte di Savoia)
เจ้าของอิตาเลียน ไลน์
ท่าเรือจดทะเบียนFlag of Italy ราชอาณาจักรอิตาลี
อู่เรือCantieri Riuniti dell'Adriatico ตรีเยสเต, ราชอาณาจักรอิตาลี
เดินเรือแรก28 ตุลาคม 1931
Christenedเจ้าหญิงมารี-โจเซแห่งเบลเยียม
Maiden voyage30 พฤศจิกายน 1932
ความเป็นไปแยกชิ้นส่วนในปี 1950
ลักษณะเฉพาะ
ประเภท: เรือเดินสมุทร
ขนาด (ตัน): 48,502 ตันกรอส
ความยาว: 248.25 เมตร (814.5 ฟุต)
ความกว้าง: 29.28 เมตร (96 ฟุต)
ความสูง: 35 เมตร (114.8 ฟุต)
กินน้ำลึก: 9.5 เมตร (31.2 ฟุต)
ระบบพลังงาน: กังหันไอน้ำ
ระบบขับเคลื่อน: ใบจักร 4 ใบจักร จำนวน 4 จักร
ความเร็ว: 27 นอต (50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 31 ไมล์ต่อชั่วโมง)
ความจุ:

ผู้โดยสารทั้งหมด 2,200 คน:

  • 500 ชั้นแรก
  • 366 ชั้นสอง
  • 412 ชั้นนักท่องเที่ยว
  • 922 ชั้นสาม
ลูกเรือ: 786 คน

เอสเอส คอนเต้ ดิ ซาโวเอีย (อิตาลี: SS Conte Di Savoia) (ความหมาย"เคานต์แห่งซาวอย") เป็นเรือเดินสมุทรสัญชาติอิตาลีที่สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1932 โดยอู่ต่อเรือ Cantieri Riuniti dell'Adriatico เมืองตรีเยสเต[1]

คอนเต้ ดิ ซาโวเอีย เดิมได้รับคำสั่งซื้อสำหรับสายการเดินเรือลอยด์ ซาโบโด (Lloyd Sabaudo) อย่างไรก็ตาม หลังจากการควบรวมกิจการกับสายการเดินเรือนาวิกาซิโอเน เจเนราเล อิตาเลียนา (Navigazione Generale Italiana) เรือก็สร้างเสร็จสมบูรณ์สำหรับสายการเดินเรือ อิตาเลีย ฟลอตเต้ ริอูไนต์ (Italia Flotte Riunite) ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นใหม่[1] และยังได้สร้างเรือ เอสเอส เร็กซ์ (SS Rex) ซึ่งเป็นเรือที่มีลักษณะคล้ายกันแต่มีขนาดที่ใหญ่กว่าเล็กน้อย สร้างเสร็จก่อน คอนเต้ ดิ ซาโวเอีย เพียง 2 เดือน

คอนเต้ ดิ ซาโวเอีย มีการตกแต่งและรูปลักษณ์ที่ทันสมัยกว่า เร็กซ์ และยังเป็นเรือลำแรกที่ติดตั้งตัวปรับเสถียรภาพไจโรสโคป

ประวัติ[แก้]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1932 ได้เดินทางเที่ยวปฐมฤกษ์ไปยังนครนิวยอร์ก[1] เรือลำนี้ไม่เคยสร้างสถิติการข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก โดยทำความเร็วได้สูงสุดที่ 27.5 นอต (31.6 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในปี 1933[1]

คอนเต้ ดิ ซาโวเอีย มีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มจำนวนผู้โดยสาร คือการติดตั้งไจโรสโคปขนาดใหญ่จำนวน 3 ตัว เพื่อต้านการเอียงของเรือ ได้รับการออกแบบมาเพื่อลดการเอียงของเรือ อันเป็นปัญหาหลักที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในระหว่างการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสายการเดินเรืออื่นๆ ทั้งหมด แต่ในความเป็นจริงไจโรสโคปได้ทำให้เรือ "เอียงค้าง" อย่างน่ารำคาญเมื่อเรืออยู่บนขีดจำกัดสูงสุดของการเอียง[2]

ในปี 1931 สถาปนิกชาวอิตาลี เมลชิโอเร่ เบก้า (Melchiorre Bega) ได้รับมอบหมายให้ออกแบบแผนผังและการตกแต่งภายในของ คอนเต้ ดิ ซาโวเอีย[3] เบก้า เป็นที่รู้จักกันดีในด้านการออกแบบร้านค้า ร้านกาแฟ และโรงแรมที่ทันสมัย[4]

คอนเต้ ดิ ซาโวเอีย กำลังถูกแยกชิ้นส่วนในปี 1950

คอนเต้ ดิ ซาโวเอีย ถูกดึงออกจากบริการสายการพาณิชย์ในปี 1940 เพื่อให้บริการในช่วงสงคราม[5] เรืออัปปางลงในปี 1943 และแม้จะถูกกู้ขึ้นมาเพื่อสร้างใหม่ในปี 1945 แต่ต่อมาก็ถูกแยกชิ้นส่วนในปี 1950[5] [6]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 (Dawson 2005, p. 108)
  2. "Italian Liner To Defy The Waves". Popular Mechanics. เมษายน 1931.
  3. Corradini, Nicola. "Melchiorre Bega - Architekt und Designer". ArchInform.net. archInform-Internationale Architektur-Datenbank. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2019.
  4. Savorra, Massimiliano (ตุลาคม 2017). "Il lusso borghese negli anni '30. I negozi di Melchiorre Bega (Bourgeois Luxury in the 1930s - The shops of Melchiorre Bega". Casabella. 2017 (878): 26–34. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2019.
  5. 5.0 5.1 (Dawson 2005, p. 245)
  6. "Italian Line - SS Conte Di Savoia". ssmaritime.com. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2023.

บรรณานุกรม[แก้]