เลนส์ตาปลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพที่ได้จากเลนส์ตาปลาวงกลม
ภาพที่ได้จากเลนส์ตาปลาแนวทแยง

เลนส์ตาปลา (fisheye lens) หมายถึง เลนส์ถ่ายภาพชนิดหนึ่งที่ใช้ในกล้องถ่ายภาพ หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งใช้วิธีการฉายภาพนอกเหนือจากวิธีการฉายภาพส่วนกลาง

เลนส์ตาปลาใช้เพื่อจับภาพช่วงกว้างยิ่งกว่าเลนส์มุมกว้าง ในขณะที่เลนส์ถ่ายภาพทั่วไปมีจุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดวัตถุที่มีการบิดเบี้ยวน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่เลนส์ตาปลาจะบิดเบี้ยวและถ่ายทอดภาพได้หลากหลาย ดังนั้น เส้นตรงส่วนใหญ่ในภาพที่ถูกถ่ายจึงถูกถ่ายออกมากลายเป็นเส้นโค้ง

ที่มาของชื่อ ตาปลา นั้นมาจากการที่เมื่อมองขึ้นไปจากใต้ผิวน้ำซึ่งเป็นมุมมองของปลา ทิวทัศน์เหนือน้ำจะมีลักษณะเป็นวงกลมเนื่องจากดรรชนีหักเหของน้ำ

วิธีการฉายภาพ[แก้]

เลนส์ตาปลาส่วนใหญ่ใช้การฉายภาพระยะเท่ากัน (equidistance projection) ซึ่งระยะทางจากศูนย์กลางของจอภาพจะแปรผันตามมุม สามารถใช้สำหรับการวัดตำแหน่งท้องฟ้า[1] และการวัดส่วนเมฆบัง[1]

ซิกมา คอร์ปอเรชัน ใช้วิธีการฉายภาพมุมตันเท่ากัน (equisolid angle projection) ซึ่งพื้นที่บนภาพเป็นสัดส่วนกับมุมตัน การวัดพื้นที่บนหน้าจอภาพทำให้ได้อัตราส่วนของวัตถุต่อขอบเขตการมองเห็น

ในกรณีพิเศษ OP Fisheye Nikkor 10mmF5.6[2] (เปิดตัวในปี 1968) ของนิคอนนำวิธีการ ภาพฉายเชิงตั้งฉากกราฟิก (orthographic projection) เนื่องจากวัตถุที่มี ความส่องสว่าง เท่ากันสามารถจับภาพได้ด้วยความเข้มข้นสม่ำเสมอ[1] จึงสามารถใช้สำหรับการวิจัยแสงอาทิตย์[1] และการวัดการกระจายความสว่างของท้องฟ้า[1] วัตถุที่อยู่ตรงกลางหน้าจอจะมีขนาดใหญ่ในกว่าการฉายภาพระยะเท่ากัน[2]

ตาปลาแบบวงกลมและตาปลาแนวทแยง[แก้]

เลนส์ตาปลาแนวทแยง

เลนส์ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมภาพ เล็กกว่าเส้นทแยงมุมทั้งแนวนอนและแนวตั้งของหน้าจอเรียกว่า เลนส์ตาปลาเต็มวง หรือ เลนส์ตาปลาแบบวงกลม และภาพที่ได้จะเป็นวงกลม

เลนส์ตาปลาที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางวงกลมภาพที่ใหญ่กว่าเส้นทแยงมุมของหน้าจอเรียกว่า เลนส์ตาปลาแนวทแยง และภาพที่ได้จะเป็นสี่เหลี่ยม[3] ซึ่งมีขนาดกะทัดรัดและน้ำหนักเบา และยังใช้สำหรับการถ่ายภาพทั่วไปเพื่อสร้างภาพที่แสดงออกอย่างเป็นเอกลักษณ์[3]

ข้อแตกต่างเพียงอย่างเดียวของเลนส์ตาปลา 2 ชนิดนี้คือเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมภาพ ถ้านำมาตัดขอบก็จะได้ภาพที่เหมือนกัน

มุมรับภาพ[แก้]

โดยทั่วไปแล้วเลนส์ตาปลามีขนาดมุมรับภาพอยู่ที่ 180 องศา แต่ก็อาจจะไม่เสมอไป เลนส์ตาปลาที่มีมุมรับภาพเกิน 180 องศา เช่น เลนส์ Fisheye Nikkor 6mmF5.6 และเลนส์ Ai Fisheye Nikkor 6mmF2.8S ที่มีมุมรับภาพ 220 องศาของนิคอนได้ได้เคยมีการวางจำหน่ายมาแล้ว

ในทางตรงข้าม Ai Fisheye Nikkor 16mmF3.5 ของนิคอนมีระยะการมองเห็น 170 องศา[3] และมีเลนส์สำหรับกล้องราคาไม่แพงและกล้องขนาดเล็กที่มีมุมกว้างไม่ถึง 180 องศา

นอกจากนี้ยังมีเลนส์ตาปลาที่มีกลไกการซูม อย่างเช่น F Fisheye Zoom, 17-28mmF3.5-4.5, DA Fisheye 10-17mmF3.5-4.5ED ของเพนแท็กซ์ หรืออย่าง AT-X107DX Fisheye 10-17mmF3.5-4.5 ของโทกินา

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 『ニコンの世界第6版』pp.250-255「ニッコールレンズ用語辞典」。
  2. 2.0 2.1 『ニコンの世界第6版』p.105。
  3. 3.0 3.1 3.2 『ニコンの世界第6版』p.29。