ตัวเลขอีทรัสคัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เลขอีทรัสคัน)

ตัวเลขอีทรัสคัน เป็นศัพท์และวลีสำหรับตัวเลขในภาษาอีทรัสคัน และเลขโดดที่ใช้เขียนตัวเลข

หน่วย[แก้]

ระบบตัวเลขอีทรัสคันมีหน่วยที่มีค่าดังนี้:[1]

หน่วย
ยูนิโคด 𐌠 𐌡 𐌢 𐌣 𐌟
ค่า 1 5 10 50 100

(เมื่อติดตั้งฟอนต์ยูนิโคดแล้ว สองแถวแรกควรมีลักษณะเหมือนกัน)

ตัวอย่างนี้คือเลขมากเท่าที่รู้จัก แต่ไม่ทราบว่าหน่วยไหนแทนตัวเลขใด ตัวเลจส่วนใหญ่เขียนด้วยวิธี "สัญกรณ์การบวก" คือการเขียนหน่วยที่บวกแล้วได้ตัวเลขที่ต้องการ เรียงจากค่ามากไปน้อย ดังนั้น ตัวเลข '87' จึงเขียนได้เป็น 50 + 10 + 10 + 10 + 5 + 1 + 1 = "𐌣𐌢𐌢𐌢𐌡𐌠𐌠"[1] (เนื่องจากอักษรอีทรัสส่วนใหญ่มักเขียนจากขวาไปซ้าย ตัวเลขในจารึกจึงเป็น "𐌠𐌠𐌡𐌢𐌢𐌢𐌣" ข้อแม้นี้ใช้กับตัวอย่างที่เหลือททั้งหมด)

อย่างไรก็ตาม ชาวอีทรัสคันมักเขียนเลข 17, 18 และ 19 เป็น "𐌠𐌠𐌠𐌢𐌢", "𐌠𐌠𐌢𐌢" และ "𐌠𐌢𐌢" แต่เรียกเป็น "สามจากยี่สิบ", "สองจากยี่สิบ" และ "หนึ่งจากยี่สิบ" แทนที่จะเขียนเป็น "𐌢𐌡𐌠𐌠", "𐌢𐌡𐌠𐌠𐌠" และ "𐌢𐌡𐌠𐌠𐌠𐌠"[1] (ชาวโรมันใช้วิธีเดียวกันกับเลข 18 และ 19 ซึ่งเรียกว่า: duodeviginti และ undeviginti พฤติกรรมนี้เชื่อว่าเป็นอิทธิพลของอีทรัสคันในภาษาละติน[2])

รูปแบบนี้ยังปรากฏในเลข 27, 28, 29, 37, 38, 39, ฯลฯ แต่ในทางตรงกันข้าม ชาวอีทรัสคันโดยทั่วไปเขียน "𐌠𐌠𐌠𐌠" สำหรับเลข 4 (ทั้งแบบเดียวและใน 14, 24, 34, ฯลฯ), "𐌢𐌢𐌢𐌢" สำหรับ 40 และ "𐌡𐌠𐌠", "𐌡𐌠𐌠𐌠", "𐌡𐌠𐌠𐌠𐌠" สำหรับ 7, 8 และ 9 อย่างเดียว (ต่างจากชาวโรมันที่เขียนเลข 4 เป็น "IV", 9 เป็น "IX", 40 เป็น "XL")[1]

คำศัพท์[แก้]

มีข้อตกลงทั่วไปในบรรดาผู้เชี่ยวชาญอีทรัสคันเกี่ยวกับตัวเลขจาก 1 ถึง 100 ยกเว้นเลข 4 กับ 6 ตารางข้างล่างแสดงการถอดอักษร (หนึ่งตัวอักษรต่ออักษรอีทรัสคันหนึ่งตัว) และรูปสะกดหน่วยเสียงที่เหมาะสม

คำที่มีดอกจันข้างหน้ายังไม่ได้รับการรับรอง แต่สันนิษฐานจากตัวเลขที่รู้จัก เครื่องหมายยัติภังค์ระบุว่ามีเพียงการรองรับที่มาของตัวเลขเท่านั้น

ตัวเลขอีทรัสคัน
ค่า ตีความแบบ
เลขฐานสิบ
ตีความแบบ
เลขฐานสิบสอง
1 θu [tʰu] ~ θun ~ tu ~ tun
2 zal [t͡sal]
3 ci [ki] ~ ki (~ ψi?)
4 śa [ʃa] ~ sa หรือ huθ [hutʰ] ~ hut huθ [hutʰ] ~ hut
5 maψ [makʰ] ~ *maψv-
6 huθ [hutʰ] ~ hut หรือ śa [ʃa] ~ sa śa [ʃa] ~ sa
7 śemφ [ʃempʰ]
8 *cezp [ket͡sp]
9 nurφ- [nurpʰ]
10 śar [ʃar] ~ zar [t͡sar] halψ [halkʰ]
11 *θuśar [tʰuʃar] "หนึ่ง-สิบ" ?
12 *zalśar [t͡salʃar] "สอง-สิบ" śar [ʃar] ~ zar [t͡sar] "สิบสอง"
13 ci- śar- [kiʃar] "สาม-สิบ" *θuśar?
14 *śaśar [ʃaʃar] หรือ
huθzar [hutʰt͡sar] "สี่-สิบ"
*zalśar?
15 *maψśar [makʰʃar] "ห้า-สิบ" ci- śar- "สาม-สิบสอง"
16 huθzar- [hutʰt͡sar] หรือr
*śaśar [ʃaʃar] "หก-สิบ"
huθzar- [hutʰt͡sar] "สี่-สิบสอง"
17 ciem zaθrum [ki-em t͡satʰum] "สามจากยี่สิบ"
18 eslem zaθrum [esl-em t͡satʰum] "สองจากยี่สิบ"
19 θunem zaθrum [tʰun-em t͡satʰum] "หนึ่งจากยี่สิบ"
20 zaθrum [t͡satʰum] "tw-?"
30 cealψ [t͡sealkʰ] "สามสิบ/-สิบ"
40 śealψ [ʃealkʰ] or
*huθalψ [hutʰalkʰ] "สี่สิบ"
*huθalψ- "สี่-สิบ"
50 muvalψ [muwalkʰ] "ห้าสิบ/-สิบ"
60 *huθalψ [hutʰalkʰ] หรือ
śealψ [ʃealkʰ] "หกสิบ"
śealψ [ʃealkʰ] "หก-สิบ"
70 śemφalψ [ʃempʰalkʰ] "เจ็ดสิบ/-สิบ"
80 cezpalψ [ket͡spalkʰ] "แปดสิบ/-สิบ"
90 *nurφalψ [nurpʰalkʰ] "เก้าสิบ/-สิบ"
100 chimth [ʃimt] หรือ
ximth [ʃimt] "หนึ่งร้อย"

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Gilles Van Heems (2009)> "Nombre, chiffre, lettre : Formes et réformes. Des notations chiffrées de l'étrusque" ("Between Numbers and Letters: About Etruscan Notations of Numeral Sequences"). Revue de philologie, de littérature et d'histoire anciennes, volume LXXXIII (83), issue 1, pp. 103–130. ISSN 0035-1652
  2. Giuliano Bonfante (1985): "Etruscan Words in Latin". Word, volume 36, issue 3, pp. 203–210. doi:10.1080/00437956.1985.11435872

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Agostiniani, Luciano. "The Etruscan language." In The Etruscan World, edited by Jean MacIntosh Turfa, 457–77. Abingdon: Routledge, 2013.
  • Gluhak, Alemko. "Etruscan Numerals." Linguistica 17, no. 1 (1978): 25–32.
  • Maras, Daniele. "Numbers and reckoning: A whole civilization founded upon divisions." In The Etruscan World, edited by Jean MacIntosh Turfa, 478–91. Abingdon: Routledge, 2013.
  • Woudhuizen, F. C. "Etruscan numerals in indo-european perspective." Talanta, 20 (1988): 109.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]