เรื่องจริงช็อคโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรื่องจริงช็อคโลก
โปสเตอร์ภาพยนตร์แสดงภาพโรงงานที่ปล่อยควันในลักษณะของพายุเฮอริเคน
โปสเตอร์ภาพยนตร์
กำกับเดวิส กุกเกนไฮม์
เขียนบทอัล กอร์ (ดำเนินรายการ)
อำนวยการสร้างลอว์เรนซ์ เบนเดอร์
สกอตต์ Z.เบิร์นส์
ลอรี่ เดวิด
ผู้ช่วยโปรดิวเซอร์,
ไลน์โปรดิวเซอร์:

เลสลี่ย์ ชิลคอทท์
บริหารฝ่ายผลิต:
เจฟฟรี่ย์ D.ไอเวอร์ส
เจฟฟ์ สกอล์ล
ริคกี้ สตรัสส์
ไดแอน ไวเยอร์แมน
นักแสดงนำอัล กอร์
กำกับภาพเดวิส กุกเกนไฮม์
บ็อบ ริชแมน
ตัดต่อเจ แคสสิดี
แดน ชเวทลิค
ดนตรีประกอบไมเคิล บรูค
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายพาราเมาท์คลาสสิค
วันฉาย24 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
ความยาว94 นาที
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง+1,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ[1]
ทำเงิน49,047,567 ดอลลาร์สหรัฐ
(ทั่วโลก)

เรื่องจริงช็อคโลก (อังกฤษ: An Inconvenient Truth) เป็นรายการสารคดีเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน ที่ดำเนินการนำเสนอโดย อัล กอร์ ซึ่งเป็นอดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐ และเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปีพ.ศ. 2550

เนื้อหา[แก้]

เนื้อหามุ่งเน้นไปยัง อัล กอร์ ผู้เดินทางรวบรวมข้อมูลที่โลกได้รับผลกระทบจากวิกฤติสิ่งแวดล้อม เขาได้กล่าวว่า "ผมได้ลองบอกเรื่องราวเหล่านี้มาเป็นเวลาที่ยาวนานมากแล้ว และผมก็รู้สึกว่าผมล้มเหลวในการส่งข้อความที่พึงตระหนักมาโดยตลอด"[2] ภาพยนตร์สารคดีชุดนี้ได้ใช้คีย์โน้ตในการนำเสนอ (และมีการพากย์ประกอบการฉายสไลด์) โดยอัล กอร์ได้นำเสนอถึงวิกฤตการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในส่วนต่างๆของโลก เขาได้พยากรณ์ถึงสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป และหายนะที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดช่วงเวลาที่เขายังมีชีวิตอยู่

กระแสตอบรับ[แก้]

บอกซ์ออฟฟิซ[แก้]

ภาพยนตร์ชุดนี้ได้เปิดตัวในนิวยอร์กและลอสแอนเจลิสในวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2006 ในวันหยุดเมโมเรียลเดย์ ภาพยนตร์ชุดนี้สามารถทำรายได้เฉลี่ย 91447 ดอลลาร์สหรัฐต่อโรงภาพยนตร์ ถือเป็นภาพยนตร์สารคดีที่ทำเงินได้มากที่สุดในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์

เทศกาลภาพยนตร์ซันแดนซ์ประจำปี ค.ศ. 2006 ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ได้รับการปรบมือให้การยอมรับอย่างเต็มที่ถึงสามรอบ[3] และยังได้จัดฉายในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ปี ค.ศ. 2006 [4] รวมไปจนถึงเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเดอร์แบน เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 2006 ด้วย[5] นอกจากนี้ ภาพยนตร์ เรื่องจริงช็อคโลก ยังประสบความสำเร็จในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติบริสเบนด้วยเช่นกัน[6]

ภาพยนตร์ชุดนี้ ทำรายได้รวม 24 ล้านดอลลาร์สหรัฐในอเมริกา และเกินกว่า 49 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากทั่วโลก และเป็นภาพยนตร์สารคดีที่ทำรายได้รวมสูงสุดเป็นอันดับห้าของโลก (นับจากช่วงปี ค.ศ. 1982 ถึงปัจจุบัน)[7]

รางวัล[แก้]

ภาพยนตร์สารคดีชุดนี้ได้รับรางวัลจากทั่วโลก โดยในปีค.ศ. 2007 ได้รับรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม[8] และ สาขาเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม "I Need to Wake Up"[9] จึงถือเป็นภาพยนตร์สารคดีเรื่องแรกที่ได้รับรางวัลออสการ์ถึง 2 สาขา และยังเป็นภาพยนตร์สารคดีเรื่องแรกที่ได้รางวัลสาขาเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม[10][11]

ภายหลังจากที่ได้รางวัลออสการ์ในปีค.ศ. 2007 แล้ว[12]ทางออสการ์ ยังได้มอบรางวัลแด่ผู้กำกับ กุกเกนไฮม์ ผู้ถึงสอบถามอัล กอร์ถึงการเข้าร่วมเป็นสมาชิกในการทำงานร่วมกัน กอร์ ได้กล่าวสุนทรพจน์ว่า :

"สหายผู้เป็นที่รักชาวอเมริกัน, ประชาชนที่อาศัยอยู่ในที่ต่างๆทั่วโลก, ถึงเวลาแล้วที่เราจะร่วมกันช่วยแก้ไขวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อม มันไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับการเมือง; แต่มันเป็นเรื่องทางศีลธรรม เราได้รับทุกสิ่งที่ควรค่าแก่การเริ่มต้น, ซึ่งเป็นไปได้ที่จะได้รับการยกเว้นในการปฏิบัติ แม้ทรัพยากรบางอย่างอาจนำมาใช้ได้อย่างจำกัด แต่ก็ถึงเวลาที่จะเริ่มต้นลดวิกฤติเหล่านี้กันใหม่ได้"[13]

การใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษา[แก้]

ในหลายๆสถาบันไฮสคูลและในหลายวิทยาลัยได้เริ่มนำภาพยนตร์ชุดนี้มาประกอบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์[14] ในเยอรมนี รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมของเยอรมันได้จัดซื้อดีวีดีจำนวน 6,000 ชุด สำหรับใช้ประโยชน์ในโรงเรียนต่างๆของเยอรมนี,[15] ในสเปน ภายหลังจากการที่นายกรัฐมนตรีโฆเซ ลุยส์ โรดรีเกซ ซาปาเตโรได้พูดคุยกับอัลกอร์แล้วก็มีแนวคิดที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในโรงเรียน, ในเบอร์ลิงตัน รัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา ทาง Halton District School Board ได้นำภาพยนตร์ชุดนี้มาใช้ประโยชน์ในโรงเรียน และใช้เพื่อประกอบการวิจัยด้วยเช่นกัน

ในสหราชอาณาจักร[แก้]

ในสหรัฐอเมริกา[แก้]

ในประเทศไทย[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "On a Bender: A chat with Inconvenient Truth co-producer and Hollywood bigwig Lawrence Bender". Grist.org. 2007-03-06. Retrieved 2007-03-07.
  2. Revkin, Andrew. "'An Inconvenient Truth': Al Gore's Fight Against Global Warming". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2009-11-02.
  3. On Fire at Sundance เก็บถาวร 2011-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Reuters. Retrieved 2009-10-29.
  4. An Inconvenient Truth, Festival de Cannes. Retrieved 2009-10-29.
  5. Durban International Film Festival Artsmart. Retrieved 2009-10-29.
  6. BIFF exceeds all expectations (Adobe Reader format). St. George Brisbane International Film Festival. Retrieved 2007-01-10.
  7. Documentary Movies Box Office Mojo. Retrieved 2007-06-09.
  8. "Hudson wins supporting actress Oscar". CNN. 2007-02-25.
  9. "Oscar Night: Winner: Music (Song)". Academy of Motion Picture Arts and Science. 2007-02-25.
  10. "80th Annual Academy Awards Oscar Quiz". Pittsburgh Post-Gazette. 2008-01-22. สืบค้นเมื่อ 2008-04-30.
  11. Hanrahan, Brian (2007-02-25). "'The Departed' arrives". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 2008-04-30.
  12. "79th Annual Academy Awards". OSCAR.com. สืบค้นเมื่อ 2007-05-24.
  13. "Gore Wins Hollywood in a Landslide"
  14. Libin, Kevin (2007-05-19). "Gore's Inconvenient Truth required classroom viewing?". National Post.
  15. Inconvenient Truth to Continue Airing in Schools, Spiegel Online, 2007-10-13.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า เรื่องจริงช็อคโลก ถัดไป
March of the Penguins รางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม
(2006)
Taxi to the Dark Side