เยื่อคลุม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เยื่อคลุม (Tectorial membrane)
อวัยวะของคอร์ติผ่า (เยื่อคลุมมีป้ายเป็น Membrana tectoria ที่ด้านบนตรงกลาง)
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินmembrana tectoria ductus cochlearis
MeSHD013680
นิวโรเล็กซ์ IDbirnlex_2531
TA98A15.3.03.108
TA27034
FMA75805
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

เยื่อคลุม[1] (อังกฤษ: tectorial membrane ตัวย่อ TM) เป็นเนื้อเยื่อที่ไม่ใช่เป็นเซลล์เยื่อหนึ่งในหูชั้นใน โดยอีกเยื่อหนึ่ง (ที่เป็นเซลล์) ก็คือเยื่อกั้นหูชั้นใน (basilar membrane, BM) เยื่อคลุมอยู่เหนือ spiral limbus กับอวัยวะของคอร์ติ และทอดไปตามยาวของคอเคลียขนานกับ BM ถ้าแบ่งตามด้านกว้าง (radial) เยื่อคลุมจะมีสามเขต คือ limbal zone, middle zone และ marginal zone โดย limbal zone เป็นส่วนบางที่สุดและอยู่เหนือ auditory teeth of Huschke และมีริมในยึดอยู่กับ spiral limbus ส่วน marginal zone จะเป็นส่วนหนาสุดและแบ่งจาก middle zone โดย Hensen's Stripe เยื่อคลุมโดยทั่วไปคลุมอยู่เหนือเซลล์ขนด้านใน (inner hair cell, IHC) ที่เป็นตัวรับเสียง และเหนือเซลล์ขนด้านนอก (outer hair cells) ที่เคลื่อนไหวได้เองอาศัยไฟฟ้า เมื่อเสียงวิ่งผ่านหูชั้นใน เยื่อคลุมก็จะขยับเร้า IHC ผ่านน้ำที่ล้อมอยู่ และเร้า OHC โดยตรงที่ stereocilia อันยาวสุดของ OHC ซึ่งเป็นส่วนเชื่อมติดกับเยื่อคลุม

โครงสร้าง[แก้]

TM เป็นโครงสร้างคล้ายวุ้นที่มีน้ำถึง 97% น้ำหนักของมันเมื่อแยกน้ำออกแล้วมาจากคอลลาเจน 50%, ไกลโคโปรตีนที่ไม่ใช่คอลลาเจน 25%, และ proteoglycan 25%[2] ไกลโคโปรตีนที่มีเฉพาะในหูชั้นในแสดงออกอยู่ที่ TM คือ α-tectorin, β-tectorin, และ otogelin โดย α-tectorin และ β-tectorin จะจัดวางเป็นเมทริกซ์ลาย (striated sheet matrix) ที่ช่วยจัดระเบียบใยคอลลาเจน

เพราะ TM ซับซ้อนกว่าโครงสร้างวุ้นที่ไม่ใช่เซลล์อื่น ๆ (เช่น otolithic membrane)[3][4] คุณสมบัติทางกลของมันจึงซับซ้อนยิ่งกว่ามาก[5]

มีหลักฐานการทดลองที่แสดงว่า เยื่อมีลักษณะไม่สม่ำเสมอ (anisotropic) ทั้งตามยาวและตามขวาง[6][7] และมีลักษณะหยุ่นหนืด (viscoelastic)[8][9]

หน้าที่[แก้]

บทบาททางกลของเยื่อคลุมในการได้ยินยังไม่ชัดเจน เพราะนักวิชาการไม่ค่อยสนใจ หรือไม่ให้ความสำคัญในแบบจำลองการทำงานของคอเคลีย แต่ว่า งานศึกษาทางพันธุกรรม[10][11][12] ทางกลศาสตร์[8][9][13] และทางคณิตศาสตร์[14] ต่าง ๆ ได้แสดงว่า TM จำเป็นเพื่อได้ยินอย่างสมบูรณ์ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

หนูหริ่งที่ไม่มีการแสดงออกของไกลโคโปรตีนโดยเฉพาะ ๆ จะได้ยินอย่างผิดปกติ รวมทั้งการเลือกได้ยินความถี่เสียง (frequency selectivity) ที่เพิ่มขึ้นในหนูพันธุ์ Tecb−/−[12] ซึ่งไม่มีการแสดงออกของโปรตีน β-tectorin การศึกษานอกร่างกาย (In vitro) เรื่องคุณสมบัติทางกลศาสตร์ของ TM แสดงสมรรถภาพของส่วนที่แยกออก ๆ ของ TM ที่ช่วยการวิ่งของคลื่นในระดับความถี่ที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งเพิ่มความเป็นไปได้ว่า TM อาจมีบทบาทในการกระจายพลังงานเสียงตามยาวในคอเคลียภายใต้สถานการณ์ปกติ[14]

รูปภาพอื่น ๆ[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. "tectorial membrane", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (แพทยศาสตร์) เยื่อคลุม
  2. Thalmann, I.; Thallinger, G.; Comegys, T.H.; Thalmann, R. (1986). "Collagen - The Predominant Protein of the Tectorial Membrane". ORL. 48 (2): 107–115. doi:10.1159/000275855. ISSN 1423-0275.
  3. Goodyear, Richard J.; Richardson, Guy P. (2002). "Extracellular matrices associated with the apical surfaces of sensory epithelia in the inner ear: Molecular and structural diversity". Journal of Neurobiology. 53 (2): 212–227. doi:10.1002/neu.10097. ISSN 0022-3034.
  4. Freeman, Dennis M.; Masaki, Kinuko; McAllister, Abraham R.; Wei, Jesse L.; Weiss, Thomas F. (2003). "Static material properties of the tectorial membrane: a summary". Hearing Research. 180 (1–2): 11–27. doi:10.1016/S0378-5955(03)00072-8. ISSN 0378-5955.
  5. Freeman, Dennis M.; Abnet, C.Cameron; Hemmert, Werner; Tsai, Betty S.; Weiss, Thomas F. (2003). "Dynamic material properties of the tectorial membrane: a summary". Hearing Research. 180 (1–2): 1–10. doi:10.1016/S0378-5955(03)00073-X. ISSN 0378-5955.
  6. Richter, C; Emadi, G; Getnick, G; Quesnel, A; Dallos, P (2007). "Tectorial Membrane Stiffness Gradients☆". Biophysical Journal. 93 (6): 2265–2276. doi:10.1529/biophysj.106.094474. ISSN 0006-3495. PMC 1959565. PMID 17496047.
  7. Gueta, R.; Barlam, D.; Shneck, R. Z.; Rousso, I. (2006). "Measurement of the mechanical properties of isolated tectorial membrane using atomic force microscopy". Proceedings of the National Academy of Sciences. 103 (40): 14790–14795. doi:10.1073/pnas.0603429103. ISSN 0027-8424.
  8. 8.0 8.1 Ghaffari, R.; Aranyosi, A. J.; Freeman, D. M. (2007). "Longitudinally propagating traveling waves of the mammalian tectorial membrane". Proceedings of the National Academy of Sciences. 104 (42): 16510–16515. doi:10.1073/pnas.0703665104. ISSN 0027-8424.
  9. 9.0 9.1 Jones, Gareth; Russell, Ian; Lukashkin, Andrei; Shera, Christopher A.; Olson, Elizabeth S. (2011). "Laser Interferometer Measurements of the Viscoelastic Properties of Tectorial Membrane Mutants": 419–420. doi:10.1063/1.3658122. ISSN 0094-243X. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  10. Legan, P.Kevin; Lukashkina, Victoria A.; Goodyear, Richard J.; Kössl, Manfred; Russell, Ian J.; Richardson, Guy P. (2000). "A Targeted Deletion in α-Tectorin Reveals that the Tectorial Membrane Is Required for the Gain and Timing of Cochlear Feedback". Neuron. 28 (1): 273–285. doi:10.1016/S0896-6273(00)00102-1. ISSN 0896-6273.
  11. Legan, P Kevin; Lukashkina, Victoria A; Goodyear, Richard J; Lukashkin, Andrei N; Verhoeven, Kristien; Van Camp, Guy; Russell, Ian J; Richardson, Guy P (2005). "A deafness mutation isolates a second role for the tectorial membrane in hearing". Nature Neuroscience. 8 (8): 1035–1042. doi:10.1038/nn1496. ISSN 1097-6256.
  12. 12.0 12.1 Russell, Ian J; Legan, P Kevin; Lukashkina, Victoria A; Lukashkin, Andrei N; Goodyear, Richard J; Richardson, Guy P (2007). "Sharpened cochlear tuning in a mouse with a genetically modified tectorial membrane". Nature Neuroscience. 10 (2): 215–223. doi:10.1038/nn1828. ISSN 1097-6256.
  13. Ghaffari, Roozbeh; Aranyosi, Alexander J.; Richardson, Guy P.; Freeman, Dennis M. (2010). "Tectorial membrane travelling waves underlie abnormal hearing in Tectb mutant mice". Nature Communications. 1. doi:10.1038/ncomms1094. ISSN 2041-1723. PMC 2982163. PMID 20981024.
  14. 14.0 14.1 Meaud, Julien; Grosh, Karl (2010). "The effect of tectorial membrane and basilar membrane longitudinal coupling in cochlear mechanics". The Journal of the Acoustical Society of America. 127 (3): 1411. doi:10.1121/1.3290995. ISSN 0001-4966.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]