เพนกวินเจนทู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เพนกวินเจนทู
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Sphenisciformes
วงศ์: Spheniscidae
สกุล: Pygoscelis
สปีชีส์: P.  papua
ชื่อทวินาม
Pygoscelis papua
(Forster, 1781)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์

เพนกวินเจนทู (อังกฤษ: Gentoo penguin; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pygoscelis papua) เป็นนกที่บินไม่ได้จำพวกเพนกวินชนิดหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ในซีกโลกทางตอนใต้ เช่น หมู่เกาะฟอล์กแลนด์, เกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช เป็นต้น

เพนกวินเจนทูเป็นหนึ่งในสมาชิกสามชนิดในสกุล Pygoscelis โดยหลักฐานทางนิวเคลียร์ดีเอ็นเอแสดงให้เห็นว่า เพนกวินเจนทูแบ่งแยกออกจากเพนกวินชนิดอื่น ๆ ประมาณ 38 ล้านปีที่ผ่านมา ประมาณ 2 ล้านปีหลังจากบรรพบุรุษของเพนกวินสกุล Aptenodytes ปรากฏออกมา อย่างไรก็ตาม เพนกวินในสกุลเดียวกันชนิดอื่นอย่างเพนกวินอาเดลีแยกออกจากสมาชิกชนิดอื่น ๆ ประมาณ 19 ล้านปีที่ผ่านมา ส่วนเพนกวินชินสแตรปและเพนกวินเจนทูออกตัวออกมาเมื่อประมาณ 14 ล้านปีมาแล้ว [2]

เพนกวินเจนทูเป็นเพนกวินที่มีความสูงเมื่อยืนเต็มที่ประมาณ 75 เซนติเมตร ทำให้เป็นเพนกวินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกรองมาจากเพนกวินจักรพรรดิและเพนกวินราชา แต่เพนกวินเจนทูว่องไวมากเมื่ออยู่ในน้ำ โดยสามารถทำความเร็วได้ถึง 35 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ด้วยปีกที่ยาวใหญ่เหมือนครีบและรูปร่างที่เพรียวเหมือนตอร์ปิโด ทำให้เป็นนกที่ว่ายได้เร็วที่สุดในโลก โดยล่าเคย, หมึก และครัสเตเชียนเป็นอาหาร[3] มีลักษณะเด่นคือ มีแถบสีขาวบริเวณขมับทั้งสองข้าง จะงอยปากเป็นสีเหลืองส้ม และพังผืดที่ตีนเป็นสีเหลืองสดใส[4]

เพนกวินเจนทูเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 2 ปี แต่นกที่ยังอายุไม่ถึงก็จะมีการสร้างรังก่อนเพื่อเรียนรู้ วางไข่และเลี้ยงลูกทีละ 2 ตัว ซึ่งพ่อแม่นกจะประสบปัญหาในการป้อนอาหารให้ลูก บางครั้งพ่อแม่นกอาจใช้วิธีวิ่งหนีเพื่อให้ลูกนกวิ่งตาม

เพนกวินเจนทู มีศัตรูตามธรรมชาติ เช่น แมวน้ำเสือดาว, สิงโตทะเล, ปลาฉลาม, วาฬเพชฌฆาต ลูกนกและไข่นกก็ตกเป็นอาหารของนกทะเลอย่างนกสกิวอาหรือเหยี่ยวคาราคาราได้[3]

อิทธิพล[แก้]

ลินุกซ์เพนกวินเจนทูเป็นการแจกจ่ายลินุกซ์ที่ตั้งชื่อตามเพนกวินเจนทู เพื่อแสดงเจตจำนงว่าเจนทูลินุกซ์อยากที่จะเป็นระบบปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพสูง เหมือนกับเพนกวินเจนทูซึ่งเป็นเพนกวินที่ว่ายน้ำได้เร็วที่สุด[5]: 383 

รูปภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. BirdLife International (2012). "Pygoscelis papua". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2013.2. สืบค้นเมื่อ 26 November 2013.
  2. Baker AJ, Pereira SL, Haddrath OP, Edge KA (2006). "Multiple gene evidence for expansion of extant penguins out of Antarctica due to global cooling". Proc Biol Sci. 273 (1582): 11–17. doi:10.1098/rspb.2005.3260. PMC 1560011. PMID 16519228. {{cite journal}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 Wildest Islands, สารคดีทางแอนนิมอลแพลนเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: อาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม 2556
  4. "บันทึกการเดินทางสู่แอนตาร์กติกา: "สุดหล้าฟ้าเขียว"". ช่อง 3. 30 August 2014. สืบค้นเมื่อ 30 August 2014.[ลิงก์เสีย]
  5. Christopher Negus (5 May 2008). Linux Bible: Boot Up to Ubuntu, Fedora, KNOPPIX, Debian, openSUSE, and 11 Other Distributions. John Wiley & Sons. pp. 389–. ISBN 978-0-470-28706-4.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Pygoscelis papua ที่วิกิสปีชีส์