เด็กวัฒนธรรมที่สาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เด็กวัฒนธรรมที่สาม (อังกฤษ: third culture kids) หรือ บุคคลวัฒนธรรมที่สาม (third culture individuals) คือคนที่ถูกเลี้ยงดูมาในวัฒนธรรมอื่นที่ไม่ใช่ของพ่อแม่หรือวัฒนธรรมของประเทศที่ถือสัญชาติของตน และยังอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันในช่วงปีการพัฒนาการในวัยเด็ก[1] โดยทั่วไปแล้วพวกเขาจะได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมที่หลากหลายและมีความหลากหลายมากกว่าผู้ที่เติบโตมาในสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมแบบใดแบบหนึ่ง[2] คำนี้ใช้กับทั้งผู้ใหญ่และเด็ก โดยคำว่า เด็ก นั้นหมายถึงปีแห่งการพัฒนาการของแต่ละคน

เด็กวัฒนธรรมที่สามได้ย้ายไปมาระหว่างวัฒนธรรมก่อนที่จะมีโอกาสพัฒนาตัวตนและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนอย่างเต็มที่[3] วัฒนธรรมที่หนึ่งของบุคคลดังกล่าวหมายถึงวัฒนธรรมของประเทศที่พ่อแม่เป็นต้นกำเนิด วัฒนธรรมที่สองหมายถึงวัฒนธรรมที่ครอบครัวอาศัยอยู่ในปัจจุบัน และวัฒนธรรมที่สามหมายถึงโดยการรวมวัฒนธรรมจากประเทศบ้านเกิดของตัวเองเข้ากับวัฒนธรรมจากประเทศที่อาศัยอยู่ ไม่เกี่ยวข้องกับสองวัฒนธรรมแรก[4][5][6]

อ้างอิง[แก้]

  1. Van Reken, Ruth E.; Pollock, David C.; Pollock, Michael V. (2017). Third Culture Kids: The Experience of Growing Up Among Worlds (3rd ed.). ISBN 978-1857884081.
  2. Useem, Ruth Hill; Downie, Richard D. (1975-11-30). "Third-Culture Kids". Today's Education (ภาษาอังกฤษ).
  3. Moore, A.M.; Barker, G.G. (2012). "Confused or multicultural: Third culture individuals' cultural identity". International Journal of Intercultural Relations. 36 (4): 553–562. doi:10.1016/j.ijintrel.2011.11.002.
  4. Melles, E.A.; Schwartz, J. (2013). "Does the third culture kid experience predict levels of prejudice?". International Journal of Intercultural Relations. 37 (2): 260–267. doi:10.1016/j.ijintrel.2012.08.001.
  5. Lyttle, A.D.; Barker, G.G.; Cornwell, T.L. (2011). "Adept through adaptation: Third culture individuals' interpersonal sensitivity". International Journal of Intercultural Relations. 35 (5): 686–694. doi:10.1016/j.ijintrel.2011.02.015.
  6. Useem, J.; Useem, R.; Donoghue, J. (1963). "Men in the middle of the third culture: The roles of American and non-western people in cross-cultural administration". Human Organization. 22 (3): 169–179. doi:10.17730/humo.22.3.5470n44338kk6733.