เจสัน มัวร์ (บรรณาธิการวิกิพีเดีย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจสัน มัวร์
มัวร์ในงาน WikiConference North America พ.ศ. 2559
เกิดพ.ศ. 2527/2528 (อายุ 38–39 ปี)
สัญชาติชาวอเมริกัน
มีชื่อเสียงจากการเขียนและแก้ไขในวิกิพีเดีย

เจสัน มัวร์ (เกิด พ.ศ. 2527 หรือ 2528) เป็นบรรณาธิการวิกิพีเดียชาวอเมริกัน หนึ่งในผู้ที่มีส่วนร่วมมากที่สุดในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษตามจำนวนการแก้ไข เขาเริ่มแก้ไขตั้งแต่ พ.ศ. 2550 ในชื่อ "Another Believer" โดยมักเขียนเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบัน เช่นการระบาดทั่วของโควิด-19 การประท้วงกรณีจอร์จ ฟลอยด์ และวัฒนธรรมเมืองพอร์ตแลนด์ รัฐออริกอน ซึ่งเขาอยู่ที่นั่น ในวิกิพีเดีย มัวร์ได้ก่อตั้งและพัฒนากลุ่มบรรณาธิการสำหรับการทำงานร่วมกันในหัวข้อเหล่านี้ และในฐานะผู้จัดงานในขบวนการวิกิมีเดีย มัวร์เป็นเจ้าภาพจัดงานพบปะและอีดิทอะธอนเพื่อฝึกอบรมบรรณาธิการหน้าใหม่

วิกิพีเดีย[แก้]

มัวร์เป็นหนึ่งในบรรณาธิการที่มีการใช้งานมากที่สุดตามจำนวนการแก้ไขในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ[1][2] การแก้ไขกว่าครึ่งล้านครั้ง[1] ภายใต้ชื่อผู้ใช้ "Another Believer"[3] นับตั้งแต่ พ.ศ. 2550[4] มัวร์ได้สร้างหน้าหลายพันหน้า รวมถึงบทความเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และการโจมตีของผู้ก่อการร้าย บทความเหล่านี้บางหน้า เช่นการบุกเข้าอาคารรัฐสภาสหรัฐ พ.ศ. 2564 เหตุกราดยิงซูเปอร์มาร์เก็ตในบัฟฟาโล และเหตุกราดยิงที่ลากูนาวูดส์ พ.ศ. 2565[1] ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ มัวร์ได้สร้างกลุ่มบรรณาธิการ ("โครงการวิกิ") ที่มุ่งหมายปรับปรุงการเนื้อหาของวิกิพีเดียให้ครอบคลุมเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบัน เช่นการระบาดทั่วของโควิด-19[5] ในช่วงโควิด-19 เขาได้บันทึกการแพร่ระบาดที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็วในหลายรัฐ ภาคธุรกิจ และชุมชนต่าง ๆ ในสหรัฐ[6] เขาได้มีส่วนร่วมหลักในบทความเกี่ยวกับการประท้วงหลังการฆาตกรรมจอร์จ ฟลอยด์[1] เมื่อเริ่มเขียนบทความการบุกเข้าอาคารรัฐสภาสหรัฐ พ.ศ. 2564 เขาและบรรณาธิการคนอื่น ๆ ได้ควบคุมดูแลเนื้อหาใหม่ที่หลั่งไหลเข้ามาในบทความขณะที่เหตุการณ์กำลังเกิดขึ้นไปพร้อม ๆ กัน[4]

มัวร์ที่อีดิทอะธอน Art+Feminism ที่พอร์ตแลนด์ รัฐออริกอน พ.ศ. 2559

นอกจากนั้น เขายังเขียนเกี่ยวกับหัวข้อต่าง ๆ ในพอร์ตแลนด์ รัฐออริกอน เช่น แหวนม้า ดอกกุหลาบ อาคาร Yale Union Laundry และผลงานอัลบั้มของวงออร์เคสตราออริกอนซิมโฟนี (Oregon Symphony) ในปี พ.ศ. 2554 ที่ชื่อว่า Music for a Time of War ส่วนบทความคัดสรรหน้าแรกของมัวร์เกี่ยวกับอัลบั้มเมื่อ พ.ศ. 2550 ที่ชื่อ Rufus Does Judy at Carnegie Hall[7] เขาอธิบายว่าแรงดลใจของเขามาจาก "ความพึงพอใจในทันทีที่ทำให้อินเทอร์เน็ตดีขึ้นอย่างง่ายดาย"[3] และความพึงพอใจจาก "การแบ่งปันข้อมูลกับคนทั้งโลก"[7] CNN Business อธิบายว่ามัวร์เป็น "ผู้มีอิทธิพลในวิกิพีเดีย"

นอกจากการแก้ไขแล้ว มัวร์ยังมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ขบวนการวิกิมีเดียด้วยการจัดงานพบปะในท้องถิ่นและงานฝึกอบรมบรรณาธิการหน้าใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2556 เขาจัดงานอีดิทอะธอนที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะพอร์ตแลนด์[8] และเชิญชวนผู้คนให้ใช้ทรัพยากรของสถาบันในการปรับปรุงเนื้อหาให้ครอบคลุมถึงศิลปินท้องถิ่น องค์กรศิลปะ และศิลปะสาธารณะ[9] เขายังคงจัดงานในพื้นที่พอร์ตแลนด์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อปรับปรุงวิกิพีเดียให้ครอบคลุมเกี่ยวกับศิลปะและศิลปินสตรีในเมืองพอร์ตแลนด์[10] [11] มัวร์ยังได้ช่วยจัดตั้งองค์กรในเครือของมูลนิธิวิกิมีเดียที่เข้าถึงกลุ่ม LGBT โดยเฉพาะ[12] [13] และแคมเปญ Wiki Loves Pride เพื่อปรับปรุงเนื้อหาให้ครอบคลุมวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ LGBT[14]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Kelly, Samantha Murphy (May 20, 2022). "Meet the Wikipedia editor who published the Buffalo shooting entry minutes after it started". CNN Business. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 20, 2022. สืบค้นเมื่อ May 20, 2022.
  2. Gedye, Grace (February 4, 2021). "When the Capitol Was Attacked, Wikipedia Went to Work". Washington Monthly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 2, 2021. สืบค้นเมื่อ February 4, 2021.
  3. 3.0 3.1 Andrews, Travis M. (August 7, 2020). "Covid-19 is one of Wikipedia's biggest challenges ever. Here's how the site is handling it". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 9, 2020. สืบค้นเมื่อ August 10, 2020.
  4. 4.0 4.1 Pasternack, Alex (January 14, 2021). "As a mob attacked the Capitol, Wikipedia struggled to find the right words". Fast Company. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 15, 2021. สืบค้นเมื่อ January 14, 2021.
  5. Vázquez, Karelia (November 28, 2020). "¿Y tú te fiarías de la Wikipedia en 2020?". El País (ภาษาสเปน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 21, 2022. สืบค้นเมื่อ June 1, 2022.
  6. Harrison, Stephen (May 27, 2020). "Future Historians Will Rely on Wikipedia's COVID-19 Coverage". Slate. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 27, 2020. สืบค้นเมื่อ May 27, 2020.
  7. 7.0 7.1 Stabler, David (May 11, 2013). "Wikipedia a passion for Portland's Jason Moore". The Oregonian. Portland, Oregon. ISSN 8750-1317. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 14, 2016. สืบค้นเมื่อ March 11, 2016.
  8. Hallett, Alison (October 11, 2013). "Wikipedia Edit-a-Thon Aims to Improve Crowd-Sourced Local Arts Coverage". Portland Mercury. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 6, 2015. สืบค้นเมื่อ March 11, 2016.
  9. Hallett, Alison (October 16, 2013). "Oregon Arts Project: A Wiki-Based Approach to Local Arts Coverage". Portland Mercury. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 5, 2015. สืบค้นเมื่อ March 12, 2016.
  10. Hallett, Alison (January 15, 2014). "Wikipedia Arts + Feminism Edit-a-Thon". Portland Mercury. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 18, 2015. สืบค้นเมื่อ March 18, 2016.
  11. Solomon, Molly (March 18, 2017). "Portland Edit-a-Thon Aims to Close Wikipedia Gender Gap". Oregon Public Broadcasting. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 19, 2017. สืบค้นเมื่อ March 19, 2017.
  12. Wexelbaum, Rachel; Herzog, Katie; Rasberry, Lane (2015). "Queering Wikipedia". ใน Wexelbaum, Rachel (บ.ก.). Queers Online: LGBT Digital Practices in Libraries, Archives, and Museums. Sacramento, California: Litwin Books. p. 67. ISBN 978-1936117796. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 3, 2015. สืบค้นเมื่อ March 18, 2017.
  13. Wexelbaum, Rachel (May 1, 2019). "Coming Out of the Closet: Librarian Advocacy to Advance LGBTQ+ Wikipedia Engagement". ใน Mehra, Bharat (บ.ก.). LGBTQ+ Librarianship in the 21st Century: Emerging Directions of Advocacy and Community Engagement in Diverse Information Environments. Emerald Group Publishing. p. 118. ISBN 9781787564756. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 11, 2020. สืบค้นเมื่อ August 18, 2019.
  14. Wexelbaum, Rachel (June 10, 2019). "Edit Loud, Edit Proud: LGBTIQ+ Wikimedians and Global Information Activism". ใน Reagle, Joseph; Koerner, Jackie (บ.ก.). Wikipedia @ 20: Stories of an Incomplete Revolution. MIT Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 24, 2019. สืบค้นเมื่อ June 21, 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]