เกศ (ศาสนาซิกข์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาสนิกชนสวมผ้าโพกหัวแบบ ทัสตาร์ (dastar) (คนริมซ้ายและขวา) และแบบ ปัตกา (patka) (คนตรงกลางทั้งสองคน)
ศาสนิกชนสวมผ้าครอบจุกที่เรียกว่า "รูมาล" (rumāl)

ในศาสนาซิกข์ "เกศ" คือการปฏิบัติที่ให้เส้นผมและขนเติบโตตามธรรมชาติ โดยไม่ไปตัดหรือโกน เพราะเชื่อว่าเป็นสิ่งสร้างที่พระเป็นเจ้าประทานมาให้ เป็นสิ่งสมบูรณ์ "เกศ" เป็นแนวทางปฏิบัติหนึ่งใน "ก 5 ประการ" ซึ่งริเริ่มโดยคุรุโควินทสิงห์ ในปี 1699 เส้นผมนั้นจะได้รับการหวีวันละสองหน โดยใช้หวีไม้ที่เรียกว่า กังฆา ก่อนจะมัดเป็นจุกที่เรียกว่า "ชุรา" (Jura) หรือ "จุกริศิ" (Rishi knot) จากนั้นจึงสวมทับด้วยผ้าโพกศีรษะ ในบุรุษแบ่งออกเป็นชนิดต่าง ๆ คือ ทัสตาร์ (Dastar) ผ้าโพกทรงที่พบทั่วไป, ปัตกา (Patka) คือผ้าโพกในวัยรุ่นที่ปิดรอบศีรษะ และ รูมาล (Rumāl) ในเด็กที่ผมสามารถมัดเป็นจุกเดียวเล็ก ๆ บนศีรษะได้ จะใช้ผ้าพันรอบจุดนั้นแทน

อ้างอิง[แก้]