อุบายขายโรค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุบายขายโรค: กระชากหน้ากากธุรกิจยาข้ามชาติ (ภาคสอง)  
ปกฉบับภาษาไทย ตีพิมพ์ปี 2007 โดย หมอชาวบ้าน
ผู้ประพันธ์เรย์ มอยนิแฮน และ อะลัน แคสเซิลส์
ผู้แปลสรชัย จำเนียรดำรงการ, ภิญญุกา เปลี่ยนบางช้าง, ปิยะรัตน์ นิ่มพิทักษ์พงศ์, วิชัย โชควิวัฒน, จิราพร ลิ้มปานานนท์ (ภาษาไทย)
ประเทศสหรัฐ
หัวเรื่องบริการสุขภาพเกินความจำเป็น
สำนักพิมพ์แอลเลินแอนด์อันวิน (ออสเตรเลีย); เนชั่นบุคส์ (สหรัฐ); หมอชาวบ้าน (ไทย)
วันที่พิมพ์2005 (ภาษาอังกฤษ)
2007 (ภาษาไทย)
หน้า254
ISBN978-1-56025-856-8
ไทย: ISBN 9789748232881
OCLC60615329

อุบายขายโรค: กระชากหน้ากากธุรกิจยาข้ามชาติ (ภาคสอง) (แปลจาก อังกฤษ: Selling Sickness: How the World's Biggest Pharmaceutical Companies are Turning us All into Patients) เป็นหนังสือตีพิมพ์ครั้งแรกเป็นภาษาอังกฤษในปี 2005 โดยเรย์ มอยนิแฮน และ อะลัน แคนเซิลส์ เนื้อหาเกี่ยวกับบริการสุขภาพที่เกินจำเป็น (unnecessary health care) สำหรับฉบับภาษาไทยตีพิมพ์ในปี 2007 แปลโดย สรชัย จำเนียรดำรงการ, ภิญญุกา เปลี่ยนบางช้าง, ปิยะรัตน์ นิ่มพิทักษ์พงศ์, วิชัย โชควิวัฒน และ จิราพร ลิ้มปานานนท์

ภาพรวม[แก้]

หนังสือเล่มนี้พูดคุยเกี่ยวกับประเด็นการกระพือโรค (disease mongering)[1] ในวารสาร JAMA ระบุว่าหนังสือเล่มนี้เป็นการ “รวบรวมผลการศึกษาจำนวนมาก แต่ละชิ้นพุ่งเป้าไปที่ยาแต่ละชนิด และศึกษาเกี่ยวกับการตลาดของบริษัทยา ...”[2]

คำวิจารณ์[แก้]

เจนนิฟเฟอร์ แบร์เรทท์ (Jennifer Barrett) ได้ระบุไว้ใน นิวส์วีค ว่าหนังสือเล่มนี้เป็นการสำรวจวิธีการที่อุตสาหกรรมยาเปลี่ยนการรับรู้ของสาธารณะต่อปัญหาสาธารณสุข[3] บทวิจารณ์ของศูนย์นโยบายทางเลือก ประเทศแคนาดาระบุว่าผลงานนี้เขียนขึ้นโดยมี "ทักษะการสำรวจที่เฉียบคม" ของผู้เขียนเพื่อ "ยืนยันหลักฐานอันชัดเจน" ต่อการอ้างในประเด็นต่าง ๆ[4] วิชัย โชควิวัฒน แพทย์ผู้แปลและบรรณาธิการแปลของหนังสือเล่มนี้เป็นภาษาไทยให้สัมภาษณ์กับ ผู้จัดการ ไว้ว่าหนังสือเล่มนี้ตีแผ่การดำเนินการของธุรกิจยาซึ่ง “ครอบงำเป็นกระแสโลก ซึ่งประเทศไทยก็ไม่พ้นจากอิทธิพลการครอบงำ ดังนั้น สภาพทั่วไปในไทยก็ไม่ต่างจากหนังสือมากนักเพราะบริษัทเหล่านี้ขายยาให้ทั่วโลก และส่วนใหญ่ก็ใช้มาตรฐานเดียวกันกับอเมริกา รวมถึงการกำหนดคำนิยามของโรค โดยในวงการแพทย์รู้สึกว่า มันมีแนวโน้มคล้อยตามเพราะจะทำให้เพิ่มความปลอดภัยให้แก่คนไข้”[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Sun Yom, Sue (September 7, 2005). "Book review - Selling Sickness: How the World's Pharmaceutical Companies Are Turning Us All Into Patients". JAMA. 294 (9). doi:10.1001/jama.294.9.1114. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-25. สืบค้นเมื่อ 2021-03-29.
  2. Barrett, Jennifer (August 2, 2005). "Selling Sickness to the Well". Newsweek. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2021-03-29.
  3. Lippman, Abby (September 1, 2005). "September 2005: Selling Sickness". Canadian Centre for Policy Alternatives. สืบค้นเมื่อ 21 August 2013.
  4. https://mgronline.com/qol/detail/9500000089893

แหล่งข้อมูลอื่ย[แก้]

แม่แบบ:Unnecessary health care