อุทกภัยในประเทศจีน พ.ศ. 2553

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุทกภัยในประเทศจีน พ.ศ. 2553
วันที่10 พฤษภาคม – กันยายน พ.ศ. 2553
ที่ตั้ง28 มณฑล, เขตปกครองตนเอง และเทศบาลนครในสาธารณรัฐประชาชนจีน;
ประเทศเกาหลีเหนือ
เสียชีวิตตายมากกว่า 3,189 คน,[1][2][3] หายตัวอย่างน้อย 1,056 คน[4][5]
ทรัพย์สินเสียหาย51.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[1][6][7]

อุทกภัยในประเทศจีน พ.ศ. 2553 เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม[8][9][10] มีผู้เสียชีวิต 392 คน และตามข้อมูลจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553[11][12] มีอีก 232 คนที่ได้รับรายงานว่าหายสาบสูญ รวมทั้ง 57 คนในเหตุดินถล่มในกุ้ยโจว ในจำนวนผู้เสียชีวิต 53 คนเสียชีวิตจากอุทกภัยและดินถล่มที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม และ 3 มิถุนายน[13] และอีก 266 คนเสียชีวิตระหว่างวันที่ 13 ถึง 29 มิถุนายน[14] เมื่อถึงสิ้นเดือนมิถุนายน มีผู้เสียชีวิตแล้วรวม 424 คน รวม 42 คนจากเหตุดินถล่มที่กุ้ยโจว มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 277 คน และอีก 147 คนหายสาบสูญในช่วงสองสัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคม[15][16][17] ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตรวมเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม เพิ่มขึ้นเป็น 1,072 คน[2][4] เหตุโคลนถล่มในมณฑลกานซูเมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคมทำให้มีผู้เสียชีวิตไปอย่างน้อย 1,471 คน และอีก 294 คนหายสาบสูญ รวมแล้ว เหตุอุทกภัยและดินถล่มทำให้มีผู้เสียชีวิตไปอย่างน้อย 3,185 คนในจีนเมื่อถึงวันที่ 31 สิงหาคม[1] มีผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยครั้งนี้มากกว่า 230 ล้านคน[1][18] ใน 28 มณฑล เทศบาลและเขตปกครอง[6][2][11] โดยเฉพาะอย่างยิ่งมณฑลและเขตปกครองทางตอนใต้และตอนกลางของประเทศ ได้แก่ เจ้อเจียง ฝูเจี้ยน เจียงซี หูเป่ย หูหนาน กว่างตง กว่างซี เทศบาลฉงชิ่ง กานซู ซื่อชวน และกุ้ยโจว และมณฑลทางตะวันออกเฉียงเหนือจี๋หลิน ขณะที่มีผู้ถูกอพยพไปอย่างน้อย 4.66 ล้านคน[19] เนื่องจากความเสี่ยงว่าจะเกิดอุทกภัยและดินถล่มในช่วงครึ่งหลังของเดือนมิถุนายน[5][20][21][22][23] เมื่อถึงต้นเดือนสิงหาคม มีประชากรมากกว่า 12 ล้านคนถูกอพยพ[6][2] และตัวเลขเพิ่มขึ้นเป็น 15.2 ล้านคนเมื่อถึงวันที่ 31 สิงหาคม[1]

ประชากรหลายล้านคนขาดแคลนน้ำดื่มอุปโภค และบ้านเรือนรวมกว่า 1.36 ล้านหลังถูกทำลาย[6][2] และพืชผลการเกษตรอีกมากกว่า 97,200 ตารางกิโลเมตรถูกน้ำท่วม[19] ขณะที่ไร่นาอีกกว่า 2,000,000 เอเคอร์ถูกทำลายอย่างสมบูรณ์เมื่อถึงปลายเดือนมิถุนายน[24] แม่น้ำหลายสิบสายยังคงมีน้ำไหลบ่า รวมไปถึงแม่น้ำเพิร์ลในมณฑลกว่างตง[23] ซึ่งได้รับผลกระทบจากภัยแล้งรุนแรงในช่วงฤดูใบไม้ผลิที่ผ่านไป เมื่อปริมาณน้ำในแม่น้ำลดระดับลงอย่างรุนแรง[25] มูลค่าความเสียหายทั้งหมดจากอุทกภัยคิดเป็นมูลค่าราว 83,800 ล้านหยวนเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553[19] และมากกว่า 275,000 ล้านหยวนเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม[6][2] เมื่อถึงปลายเดือนสิงหาคม ไร่นากว่า 16.5 ล้านเฮกเตอร์ได้รับผลกระทบจากอทุกภัย และ 2.09 ล้านเฮกเตอร์ถูกทำลายอย่างสมบูรณ์[6][11]

เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 ฝนที่ตกลงมาอย่างหนักทำให้รถไฟตกรางในมณฑลเจียงซี ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 19 คน และทางรถไฟเซี่ยงไฮ้-คุนหมิงต้องปิด 24 ชั่วโมงเนื่องจากดินถล่ม

แม่น้ำสายหลักจำนวนมากในจีน รวมทั้งแม่น้ำแยงซี แม่น้ำเหลืองและแม่น้ำซงหัวมีระดับน้ำเข้าระดับอันตราย รัฐบาลจีนจัดสรรงบประมาณกว่า 2,100 ล้านหยวนสำหรับงานกู้ภัยและบรรเทาสาธารณภัย[2] แม่น้ำเจียหลิง แม่น้ำฮัน และแม่น้ำหวยเองก็ได้เพิ่มระดับขึ้นสูงกว่าระดับเตือนภัย[26]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 An, Xinhuanet (August 31, 2010). "Floods, landslides leave 3,185 dead in China this year: MCA". Xinhua. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 September 2010. สืบค้นเมื่อ 17 September 2010.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 "China flood toll reaches 1,072". Sify news International. August 5, 2010. สืบค้นเมื่อ 6 August 2010.
  3. Reuters, Yahoo (June 26, 2010). "Death toll in flood-stricken south China nears 400". Yahoo! News. สืบค้นเมื่อ 29 June 2010.
  4. 4.0 4.1 Reuters, World (July 21, 2010). "China flood death toll reaches 700". Toronto Sun. สืบค้นเมื่อ 21 July 2010.
  5. 5.0 5.1 Gordon, Sarah (June 28, 2010). "More Than 100 Feared Dead In China Landslide". Sky News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 December 2012. สืบค้นเมื่อ 29 June 2010.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 Mu, Xuequan (August 8, 2010). "Flood-hit families to get subsidies from government to rebuild homes". Xinhua. สืบค้นเมื่อ 11 August 2010.
  7. "Over 10 mln affected by floods in S China, 132 dead". Xinhua. 20 June 2010. สืบค้นเมื่อ 20 June 2010.
  8. English.news.cn, Xinhuanet (May 11, 2010). "Vice president urges flood prevention in south China region". Xinhua. สืบค้นเมื่อ 23 June 2010.
  9. English.news.cn, Xinhuanet (May 21, 2010). "Strong rain to continue in flood-hit southern China". Xinhua. สืบค้นเมื่อ 23 June 2010.
  10. "China rain storms and floods kill 46 people". BBC News. 17 June 2010. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help).
  11. 11.0 11.1 11.2 Zhang, Jin (June 30, 2010). "Floods Kill 392 in China in First Half of 2010". CriEnglish.com, Xinhua. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-06. สืบค้นเมื่อ 1 July 2010.
  12. Xinhua, English.news.cn (June 25, 2010). "South China floods toll rises to 235". Xinhuanet. สืบค้นเมื่อ 29 June 2010.
  13. Google News, AP (June 6, 2010). "Landslides, flooding kill 53 in southern China". The Associated Press. สืบค้นเมื่อ 1 July 2010. {{cite news}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)[ลิงก์เสีย]
  14. AFP, Google (July 4, 2010). "China mudslide toll at 42, with 57 missing: report". Agence France-Presse. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-05. สืบค้นเมื่อ 9 July 2010. {{cite news}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  15. International, Sify (July 14, 2010). "118 dead in China floods". Sify News. สืบค้นเมื่อ 14 July 2010.
  16. English.news.cn, Xinhua (July 9, 2010). "At least 27 die after torrential rain, flood wreck havoc in south China". Xinhuanet. สืบค้นเมื่อ 9 July 2010. [sic]
  17. News, Eastday (July 9, 2010). "Qinghai floods kill 25". English.Eastday.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-06. สืบค้นเมื่อ 9 July 2010. {{cite news}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  18. AsiaOne, AFP (August 14, 2010). "New landslides in China leave 38 missing". asiaone news. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-19. สืบค้นเมื่อ 14 August 2010.
  19. 19.0 19.1 19.2 Cang, Alfred (June 27, 2010). "Death Toll in Flood-Stricken South China Reaches 381 People, Ministry Says". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 29 June 2010.
  20. "South China floods toll rises to 211". Xinhua. 23 June 2010. สืบค้นเมื่อ 23 June 2010.
  21. "Plus de 100 morts ou disparus dans des inondations en Chine". Le Monde (ภาษาฝรั่งเศส). 19 June 2010.
  22. "Scores die in China flash floods". BBC News. 19 June 2010. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help).
  23. 23.0 23.1 "Floods across southern China take heavy toll". BBC News. 20 June 2010. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  24. D'Cruz, Beverley Ann (July 13, 2010). "China's furious floods". The Weather Network News. สืบค้นเมื่อ 14 July 2010.
  25. Liu, Yunyun (April 1, 2010). "Drought Takes its Toll". Beijing Review. สืบค้นเมื่อ 22 June 2010.
  26. Mu, Xuequan (July 24, 2010). "Flooding temporarily eased at Three Gorges Dam: flood control office". Xinhua. สืบค้นเมื่อ 6 August 2010.