อิโซโรกุ ยามาโมโตะ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
อิโซโรกุ ยามาโมโตะ | |
---|---|
4 เมษายน 1884 – 18 เมษายน 1943 (59 ปี) | |
อิโซโรกุ ยามาโมโตะ | |
เกิดที่ | นางาโอกะ จังหวัดนีงาตะ จักรวรรดิญี่ปุ่น |
อนิจกรรมที่ | ปาปัวนิวกินี † |
เหล่าทัพ | กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น |
ยศสูงสุด | จอมพลเรือ |
การยุทธ | สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ ยุทธนาวีที่ทะเลคอรัล |
บำเหน็จ | เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดอกเบญจมาศ (ชั้นสายสะพาย) เครื่องราชอิสริยาภรณ์ว่าวทองคำ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย (ชั้น 1) กางเขนอัศวินแห่งกางเขนเหล็กประดับใบโอ๊กและดาบประดับเพชร |
จอมพลเรือ อิโซโรกุ ยามาโมโตะ (ญี่ปุ่น: 山本五十六; โรมาจิ: Yamamoto Isoroku) (4 เมษายน 1884 – 18 เมษายน 1943) เป็นจอมพลเรือในกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น และผู้บัญชาการทัพเรือผสมระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
เกิดที่เมืองนางาโอกะ จังหวัดนีงาตะ จักรวรรดิญี่ปุ่นรับปริญญาที่โรงเรียนนายเรือของญี่ปุ่นและนิสิตเก่าของวิทยาลัย
จอมพลเรือ อิโซโรกุ ยามาโมโตะ เป็นผู้บัญชาการในปีแรกสำหรับการวางแผนในสงครามหลัก เช่น การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ ยุทธนาวีที่มิดเวย์ เขาเป็นนายพลเรือหัวก้าวหน้าผู้โด่งดัง ที่สนับสนุนแนวทางพัฒนาศักยภาพกองทัพเรือโดยการพัฒนาการบิน มากกว่าการต่อเรือรบขนาดใหญ่ ยามาโมโตะไม่เห็นด้วยกับการทำสงครามกับสหรัฐและอังกฤษ จนถูกปองร้ายจากคนในกองทัพ แต่ก็เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมสำคัญในการวางแผนการโจมตีอ่าวเพิร์ล เขายังเป็นผู้บัญชาการสูงสุดกองเรือสหพันธ์ตลอดห้วงระยะเวลารุนรานแปซิฟิกใต้ และเป็นผู้นำการรบที่ยุทธนาวีมิดเวย์จนพ่ายแพ้ยับเยิน หลังจากความพ่ายแพ้ที่มิดเวย์ และกัวดัลคะแนล ยามาโมโตะเสียชีวิตระหว่างเดินทางไปให้กำลังใจทหารที่หมู่เกาะโซโลมอน เมื่อเครื่องบินMitsubishi G4Mที่จอมพลเรือเอกอิโซโรกุ ยามาโมโตะโดยสารมาถูกแกะรอยจากหน่วยข่าวกรองสหรัฐจนรู้เส้นทางการบิน และใช้ฝูงบินของเครื่องบินขับไล่ P-38 ดักสังหาร ในที่สุด
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2427
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2486
- อิโซโรกุ ยามาโมโตะ
- ทหารชาวญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง
- บุคคลจากนางาโอกะ
- เสียชีวิตจากเหตุเครื่องบินถูกยิงตก
- ทหารที่เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่สอง
- ทหารเรือชาวญี่ปุ่น
- พลเรือเอกกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น
- พลเรือเอกชาวญี่ปุ่น
- จอมพลเรือชาวญี่ปุ่น
- พลเรือเอกในสงครามโลกครั้งที่สอง
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัยชั้นที่ 1
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งดอกเบญจมาศ
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหยี่ยวทองคำ
- การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์
- ยุทธนาวีที่มิดเวย์
- บุคคลในสงครามโลกครั้งที่สอง
- กองเรือผสม
- กองเรือที่ 1 (กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น)