อินทรอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อินทรอน (อังกฤษ: intron ซึ่งย่อมาจากคำว่า intragenic region) เป็นลำดับนิวคลีโอไทด์ภายในยีนที่กระบวนการ RNA splicing เอาออกในการสร้างผลิตภัณฑ์อาร์เอ็นเอที่สมบูรณ์ (mature RNA)[1][2] กล่าวอีกนัยก็คือ อินทรอนไม่ใช่ส่วนของดีเอ็นเอและไม่ใช่ส่วนของรหัสอาร์เอ็นเอ (RNA transcript) ที่รอดผ่านกระบวนการทำให้เป็นอาร์เอ็นเออันสมบูรณ์ แล้วใช้แปลรหัสเป็นผลิตภัณฑ์ยีน[3][4] คำว่า intron มาจากคำว่า intragenic region ซึ่งแปลว่าบริเวณภายในยีน[5] เป็นคำที่หมายเอาทั้งลำดับนิวคลีโอไทด์ของดีเอ็นเอที่เป็นเหตุ และลำดับรหัสอาร์เอ็นเอที่เป็นผล[6] อาร์เอ็นเอที่สมบูรณ์แล้วประกอบด้วยส่วนเอ็กซอนที่เชื่อมเข้าด้วยกันหลังจากผ่านกระบวนการ RNA splicing ซึ่งกำจัดส่วนอินทรอนแล้ว[7]

อินทรอนพบได้ในยีนของสิ่งมีชีวิตโดยมากและของไวรัสหลายอย่าง พบได้ในยีนต่าง ๆ เป็นจำนวนมากรวมทั้งที่ใช้สร้างโปรตีน, ไรโบโซมอล อาร์เอ็นเอ (rRNA) และทีอาร์เอ็นเอ (transfer RNA) เมื่อโปรตีนสร้างขึ้นจากยีนที่มีอินทรอน ก็จะต้องผ่านกระบวนการ RNA splicing หลังจากการถอดรหัสแต่ก่อนการแปลรหัส[7]

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. Alberts, Bruce (2008). Molecular biology of the cell. New York: Garland Science. ISBN 978-0-8153-4105-5.
  2. Stryer, Lubert; Berg, Jeremy Mark; Tymoczko, John L. (2007). Biochemistry. San Francisco: W.H. Freeman. ISBN 978-0-7167-6766-4.
  3. Ghosh, Shampa; Sinha, Jitendra Kumar (2017), "Intron", ใน Vonk, Jennifer; Shackelford, Todd (บ.ก.), Encyclopedia of Animal Cognition and Behavior (ภาษาอังกฤษ), Springer International Publishing, pp. 1–5, doi:10.1007/978-3-319-47829-6_70-1, ISBN 978-3-319-47829-6
  4. Editors, B. D. (2017-08-06). "Intron". Biology Dictionary (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-12-01. {{cite web}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  5. Gilbert, Walter (1978). "Why genes in pieces". Nature. 271 (5645): 501. Bibcode:1978Natur.271..501G. doi:10.1038/271501a0. PMID 622185. S2CID 4216649.
  6. Kinniburgh, Alan; mertz, j; Ross, J. (July 1978). "The precursor of mouse β-globin messenger RNA contains two intervening RNA sequences". Cell. 14 (3): 681–693. doi:10.1016/0092-8674(78)90251-9. PMID 688388. S2CID 21897383.
  7. 7.0 7.1 Lewin, Benjamin (1987). Genes (3rd ed.). New York: Wiley. pp. 159–179, 386. ISBN 0-471-83278-2. OCLC 14069165.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]