อาลีน แกลร์ อาลาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาลีน แกลร์ อาลาร์
คู่สมรสนายกรัฐมนตรีลาว
ดำรงตำแหน่ง
23 มิถุนายน 2505 – 2 ธันวาคม 2518
ก่อนหน้าบัวผัน ชุมพลภักดี
ถัดไปทองวิน พมวิหาน
ดำรงตำแหน่ง
30 สิงหาคม 2503 – 13 ธันวาคม 2503
ถัดไปบัวผัน ชุมพลภักดี
ดำรงตำแหน่ง
21 มีนาคม 2499 – 17 สิงหาคม 2501
ก่อนหน้าอุไร ณ จัมปาศักดิ์
ถัดไปสีดา ชนะนิกร
ดำรงตำแหน่ง
21 พฤศจิกายน 2494 – 20 ตุลาคม 2497
ก่อนหน้าคำผูย
ถัดไปอุไร ณ จัมปาศักดิ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 ธันวาคม พ.ศ. 2455
แขวงเชียงขวาง ลาวในอารักขาของฝรั่งเศส
เสียชีวิต7 กันยายน พ.ศ. 2520 (64 ปี)
อิลเดอเร แคว้นนูแวลากีแตน ประเทศฝรั่งเศส
ศาสนาโรมันคาทอลิก
คู่สมรสเจ้าสุวรรณภูมา (พ.ศ. 2476–2512)
บุตร4 พระองค์
อาชีพนักการทูต

อาลีน แกลร์ อาลาร์ (ฝรั่งเศส: Aline Claire Allard; 25 ธันวาคม พ.ศ. 2455 – 7 กันยายน พ.ศ. 2520) เป็นนักการทูตและบุคคลสาธารณะชาวฝรั่งเศส-ลาว เป็นอดีตบาทบริจาริกาของเจ้าสุวรรณภูมา และเชื่อว่าเธอมีอิทธิพลต่อสามีอย่างสูงในช่วงที่ยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ประวัติ[แก้]

อาลีน แกลร์ อาลาร์ เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2455 ที่แขวงเชียงขวาง ลาวในอารักขาของฝรั่งเศส[1][2] บิดาชื่อนูมา พร็อสแปร์ อาลาร์ (Numa Prosper Allard) รัฐการชาวฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งประธานหอการค้าและการเกษตรลาว[1][3][4] กับมารดาชาวลาว[2]

เธอถูกส่งไปเรียนที่ฮานอยและปารีส[1] ในสถาบัน École Normale Supérieure de Fontenay-aux-Roses[2] หลังสำเร็จการศึกษา เธอประกอบกิจเป็นนักการทูต เริ่มทำงานที่ปาแลเดนาซียง นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์[2] จากนั้นได้ทำงานเป็นที่ปรึกษาสมัชชาสหภาพฝรั่งเศสช่วง พ.ศ. 2500–2502 และตลอดชีวิตการทำงานของเธอ อาลีนเป็นหนึ่งในคณะผู้แทนจากลาวที่ทำงานในองค์การสหประชาชาติ[2][5] โดยมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในประเด็นทุพโภชนาการและบทบาทของสตรีประเทศโลกที่สาม[2][6][7] นอกจากนี้เธอยังดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายวัฒนธรรมสัมพันธ์ระหว่างประเทศของลาวอีกหนึ่งตำแหน่ง[2]

อาลีนเป็นสมาชิกภาพของสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์โพ้นทะเล (Académie des sciences d'outre-mer) ในประเทศลาว ด้วยเหตุนี้อาลีนจึงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ล้านช้างร่มขาวของราชอาณาจักรลาว เครื่องอิสริยาภรณ์ปาล์มอากาเดมิก (Ordre des Palmes académiques) ชั้นอัศวิน และเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ (Ordre national de la Légion d'honneur) ชั้นอัศวิน จากประเทศฝรั่งเศส[2]

อาลีน แกลร์ อาลาร์ เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวายเมื่อ พ.ศ. 2520 ณ บ้านพักฤดูร้อนในอิลเดอเร (Île de Ré) ซึ่งเป็นเกาะนอกชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกของประเทศฝรั่งเศส[1][2][8]

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

อาลีน แกลร์ อาลาร์ สมรสกับเจ้าสุวรรณภูมา นายกรัฐมนตรีลาวสี่สมัย เมื่อ พ.ศ. 2476[1][9] มีพระโอรส-ธิดาด้วยกัน 4 พระองค์ หนึ่งในนั้นคือ เจ้ามังคลา สุวรรณภูมา นักเคลื่อนไหวทางการเมือง[1] ส่วนตัวเธอนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และเธอก็เลี้ยงพระบุตรทุกคนให้เป็นคาทอลิกเช่นเธอ[10][11]

หลังการเสกสมรสเธอได้กลายเป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของประเทศลาว มีชื่อเสียงในด้าน "ความเฉลียวฉลาดที่มีชีวิตชีวา" และ "มีไหวพริบทางการเมือง"[12][13][14] เธอได้รับการยกย่องอีกว่า เธอมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของสามี นักวิจารณ์ในยุคนั้นบางคนแสดงความคิดเห็นว่า อาลีนคือที่มาของความคิดนิยมตะวันตกของเจ้าสุวรรณภูมา[15]

ภายหลังอาลีนได้หย่ากับเจ้าสุวรรณภูมาใน พ.ศ. 2512[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 "Princess Souvanna Phouma Dies; Divorced Wife of Ex‐Laotian Chief". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 1977-09-09. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2022-02-09.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 "SOUVANNA-PHOUMA (NÉE ALLARD) Aline Claire, princesse". Comité des travaux historiques et scientifiques (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 2022-02-09.
  3. Louankang, Siamphone (2009-05-01). "Daraphon Souvanna Phouma Stieglitz, community activist". LaoAmericans (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-02-09.
  4. Hanna, Willard A. (1964). Eight Nation Makers (ภาษาอังกฤษ). St. Martin's Press.
  5. "Princess dies". Democrat and Chronicle. 1977-09-10.
  6. "Hunger Fight Errors Cited By Princess". The Indianapolis Star. 1963-06-07.
  7. Pearson, Drew (1963-06-18). "World Food Congress Colorful Event; Congressmen Protest Rude Committee". The Express.
  8. "Princess Souvanna Phouma Dies At 65". The Indianapolis News. 1977-09-10.
  9. "Prince Souvanna of Laos dies". UPI (ภาษาอังกฤษ). 1984-01-11. สืบค้นเมื่อ 2022-02-09.
  10. The New York Times Biographical Service (ภาษาอังกฤษ). Vol. 5. University Microfilms. 1974.
  11. Valko, William G. (1969). The Illustrated Who's who in Reigning Royalty: A History of Contemporary Monarchical Systems (ภาษาอังกฤษ). Community Press.
  12. "Sketches of Leaders of Laotian Factions". The New York Times. 1962-05-16.
  13. James, Rembert (1960-11-29). "Reds Of Varying Shades Covet Control Of Laos". The Cincinnati Enquirer.
  14. "Leaders in Laos". The New York Times. 1962-05-20.
  15. "'Neutralist' Laotian". Chattanooga Daily Times. 1961-04-30.