อาชูร์-อูบัลลิตที่ 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาชูร์-อูบัลลิตที่ 2
มกุฎราชกุมารแห่งอัสซีเรีย
ผู้ปกครองจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่
ครองราชย์612–609 ปีก่อนคริสต์ศักราช
ก่อนหน้าซินชาร์อิชคุน
ประสูติป. 645 ปีก่อนคริสต์ศักราช[n 1]
สวรรคตป. 608–606 ปีก่อนคริสต์ศักราช[2] (ป. 40 พรรษา)
แอกแคดAššur-uballiṭ
ราชวงศ์ราชวงศ์ซาร์กอน
พระราชบิดาซินชาร์อิชคุน[3] (?)

อาชูร์-อูบัลลิตที่ 2 บางครั้งสะกดเป็น อัสซูร์-อูบัลลิตที่ 2 และ อาชูรูบัลลิตที่ 2[4] (อักษรรูปลิ่มอัสซีเรียใหม่: , Aššur-uballiṭ,[5][6] หมายถึง "อาชูร์ยังคงไว้ชีวิต")[6] ทรงเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่ สืบต่อจากพระเจ้าซินชาร์อิชคุน (Sin-shar-ishkun) นามของพระองค์มาจากพระเจ้าอาชูร์-อูบัลลิตที่ 1 ผู้สถาปนาจักรวรรดิอัสซีเรียกลาง พระเจ้าอาชูร์-อูบัลลิตที่ 2 ทรงเป็นพระราชวงศ์พระองค์หนึ่ง ก่อนหน้านี้เคยเป็นนายพลก่อนขึ้นเป็นกษัตริย์ และอาจมีศักดิ์เป็นพระอนุชา (น้องชาย) ของพระเจ้าซินชาร์อิชคุน

ในช่วงการล้อมนิเนเวห์ในปีที่ 612 ก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าอาชูร์-อูบัลลิตที่ 2 ปฏิเสธที่จะอยู่ใต้อำนาจพระเจ้าแนโบโพแลสซาร์แห่งบาบิโลเนียและพระเจ้าไซอาซาเรส (Cyaxares) แห่งมีเดียน และถอนทัพไปที่เมืองฮาร์รัน[7] ทางตอนเหนือของซีเรีย โดยได้รับความช่วยเหลือจากกองทัพของฟาโรห์เนโคที่ 2 (Necho II)[8] ในครั้งแรกกองทัพผสมอัสซีเรีย-อียิปต์สามารถปกป้องเมืองไว้ได้ แต่หลังจากฝ่ายอียิปต์พ่ายแพ้ในปีที่ 610 ก่อนคริสต์ศักราชและยกทัพกลับ เมืองฮาร์รันก็ถูกกองทัพผสมบาบิโลน-มีเดียนยึดในที่สุด[9]

ในปีที่ 608 ก่อนคริสต์ศักราช กองทัพผสมอัสซีเรีย-อียิปต์พยายามตีเมืองฮาร์รันคืนแต่ไม่สำเร็จ ชะตากรรมสุดท้ายของพระเจ้าอาชูร์-อูบัลลิตที่ 2 ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด[10] มีความเป็นไปได้ที่พระองค์อาจถูกปลงพระชนม์ในการรบหรืออาจมีชีวิตรอดจนถึงยุทธการที่คาร์เคมิช (Battle of Carchemish) ซึ่งเป็นยุทธการสุดท้ายในสงครามระหว่างอัสซีเรียกับบาบิโลน ในปีที่ 605 ก่อนคริสต์ศักราชหรืออาจรอดชีวิตและหลบซ่อนตัว[11]

หมายเหตุ[แก้]

  1. จาก Reade (1998), ระบุถึงมกุฎราชกุมารใน 626 ปีก่อนคริสต์ศักราชว่า "น่าจะอยู่ในช่วง 20 พรรษา"[1]

อ้างอิง[แก้]

บรรณานุกรม[แก้]

  • Bertin, G. (1891). "Babylonian Chronology and History". Transactions of the Royal Historical Society. 5: 1–52. doi:10.2307/3678045. JSTOR 3678045.
  • Kia, Mehrdad (2016). The Persian Empire: A Historical Encyclopedia: Volume I. ABC-CLIO. ISBN 978-1440845680.
  • Lipschits, Oled (2005). The Fall and Rise of Jerusalem: Judah under Babylonian Rule. Eisenbrauns. ISBN 978-1575060958.
  • Porter, Barbara N. (1987). Symbols of Power: Figurative Aspects of Esarhaddon's Babylonian Policy (681-669 BC). University of Pennsylvania.
  • Radner, Karen (2019). "Last Emperor or Crown Prince Forever? Aššur-uballiṭ II of Assyria according to Archival Sources". State Archives of Assyria Studies. 28: 135–142.
  • Reade, J. E. (1998). "Assyrian eponyms, kings and pretenders, 648-605 BC". Orientalia (NOVA Series). 67 (2): 255–265. JSTOR 43076393.
  • Rowton, M. B. (1951). "Jeremiah and the Death of Josiah". Journal of Near Eastern Studies. 2 (10): 128–130. doi:10.1086/371028. S2CID 162308322.

ข้อมูลเว็บ[แก้]