หุ้นส่วนมหาชน-เอกชน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หุ้นส่วนมหาชน-เอกชน (อังกฤษ: Public-Private Partnership) หรือย่อว่า PPP หมายถึงข้อตกลงความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนตั้งแต่สองรายขึ้นไป โดยส่วนมากเป็นความร่วมมือในระยะยาว[1][2] ส่วนใหญ่เป็นการร่วมทุนเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ โรงเรียน, โรงพยาบาล, ระบบคมนาคมขนส่ง, ระบบจัดการและระบายน้ำ เป็นต้น[3] พีพีพีเป็นเครื่องมือทรงประสิทธิภาพที่ช่วยประหยัดงบประมาณของภาครัฐ การดึงเอกชนเข้ามาเป็นหุ้นส่วนสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและเพิ่มคุณภาพของโครงการต่างๆ[4] อย่างไรก็ตาม พีพีพีตกเป็นที่โต้เถียงกันอย่างมากในประเด็นว่าผลตอบแทนการลงทุนที่ภาครัฐได้รับมักต่ำกว่าที่ภาคเอกชนได้รับ เปรียบเสมือนว่ารัฐได้ว่าจ้างเอกชนเข้าดำเนินหน้าที่กิจการบางอย่างแทนรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[1][5]

รูปแบบ[แก้]

รุปแบบของหุ้นส่วนมหาชน-เอกชนที่นิยมใช้ในระดับสากลใช้มีอยู่ 3 แบบด้วยกัน[4] คือ:

  • ออกแบบ-สร้าง-จัดหาทุน-บริหารและบำรุงรักษา (Design-Build-Finance-Operate/Maintain หรือ DBFMO) รัฐและเอกชนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โครงการร่วมกัน สัดส่วนแล้วแต่จะตกลงกัน
  • ออกแบบ-สร้าง-ถือครอง-บริหาร (Design-Build-Own-Operate) รัฐจ้างเอกชนในการออกแบบก่อสร้างและจ้างเอกชนบริหารโครงการด้วย โดยที่รัฐเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โครงการ
  • สร้าง-ถือครอง-บริหาร-ส่งมอบ (Build-Own-Operate-Transfer หรือ BOOT) รัฐให้สัมปทานแก่เอกชนจัดหาทุน ออกแบบ ก่อสร้าง และบริหารงานตามเวลาสัญญาสัมปทาน กรรมสิทธิ์โครงการจะโอนไปสู่รัฐเมื่อหมดสัญญา

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Hodge, G. A and Greve, C. (2007), Public–Private Partnerships: An International Performance Review, Public Administration Review, 2007, Vol. 67(3), pp. 545–558
  2. Roehrich, Jens K.; Lewis, Michael A.; George, Gerard (2014). "Are public–private partnerships a healthy f? A systematic literature review". Social Science & Medicine. 113: 110–119. doi:10.1016/j.socscimed.2014.03.037. PMID 24861412.
  3. Bovaird, Tony (2015-09-25). Public Management and Governance. doi:10.4324/9781315693279. ISBN 9781315693279.
  4. 4.0 4.1 สํานักงบประมาณของรัฐสภา (2559). การวิเคราะห์การร่วมทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เก็บถาวร 2018-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. Marta Marsilio, M., Cappellaro, G and Cuccurullo, C. (2011), The Intellectual Structure Of Research Into PPPs, Public Management Review, Vol 13 (6), pp.763–782