ข้ามไปเนื้อหา

หิรัญญิการ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หิรัญญิการ์
ดอกหิรัญญิการ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Gentianales
วงศ์: Apocynaceae
สกุล: Beaumontia
สปีชีส์: B.  grandiflora
ชื่อทวินาม
Beaumontia grandiflora
Wall.

หิรัญญิการ์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Beaumontia grandiflora Wall., ชื่อสามัญอื่น: Herald's Trumpet, Easter Lily Vine) เป็นไม้เถาขนาดใหญ่เนื้อแข็ง ทุกส่วนของต้นเมื่อรับประทานทำให้หัวใจถูกกระตุ้น เร่งการทำงานของหัวใจ ทำให้หัวใจวายได้

ลักษณะ

[แก้]

ทุกส่วนของลำต้นหรือเถาจะมียางสีขาว ส่วนยอดหรือส่วนอื่น ๆ ที่ยังอ่อนอยู่มีขนสีน้ำตาลอมแดงขึ้นปกคลุม มักเลื้อยเกาะพันต้นไม้อื่นและสามารถเลื้อยไปได้ไกล แตกกิ่งก้านสาขาแผ่เป็นพุ่มแน่นเฉพาะส่วนยอดหรือบริเวณที่ได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกใบเป็นคู่ตรงข้ามกันตามข้อต้นลักษณะใบหยาบยาวหนา รูปใบมน ปลายใบแหลมเป็นติ่ง ขอบใบเรียบ เกลี้ยง ไม่มีจัก ใบด้านบนเป็นมัน

ดอกของหิรัญญิการ์เป็นดอกขนาดใหญ่ สีขาว ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกมีลักษณะคล้ายถ้วย ตอนปลายของดอกจะบานกว้างมี 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ติดอยู่กับเนื้อบริเวณโคนกลีบ มีลักษณะเป็นเส้นยาว แยกออกจากกัน คือจะมีเกสรติดอยู่กลีบละ 1 อัน ในแต่ละดอกมีเกสรตัวผู้อยู่ 5 อัน ส่วนเกสรตัวเมียจะมีลักษณะเป็นแท่งขนาดเล็กซ่อนอยู่ข้างในดอก ช่อดอกหนึ่ง ๆ จะมีดอกตั้งแต่ 6-15 ดอก ดอกจะผลัดกันบานครั้งละประมาณ 4 ดอก

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • เศรษฐมนตร์ กาญจนกุล. ไม้มีพิษ. กทม. เศรษฐศิลป์. 2552