หัวเหยียนฝ่าเจี้ยกวนเหมิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หัวเหยียนฝ่าเจี้ยกวนเหมิน (華嚴法界觀門) หรือ "อวตังสกธรรมธาตุพิจารณ์ทวารบท" จำนวน 1 ผูก แต่งโดยพระเถระตู้ซุ่น บูรพาจารย์แห่งนิกายหัวเหยียน เป็นปกรณ์รองของนิกายหัวเหยียน ปัจจุบันไม่หลงเป็นครบเล่มทั้งคัมภีร์ มีเพียงข้อความบางส่วนปรากฏในปกรณ์อื่นๆ เช่นใน "หัวเหยียนฟาผูถีซินจาง" (華嚴發菩提心章) หรือ "อวตังสกโพธายะวัณณนา" (พรรณนาว่าด้วยการปลุกโพธิจิตตามแนวทางอวตังสกะ) ซึ่งรจนาโดยพระเถระฝ่าจั้ง รวมในอรรถกถาที่รจนาพระเถระรุ่นหลังๆ เช่น พระเถระเฉิงกวน พระเถระจงมี่ เป็นต้น [1]

เนื้อหา[แก้]

"หัวเหยียนฝ่าเจี้ยกวนเหมิน" ด้วยการพิจารณ์ (กวน - 觀) 3 ประการ คือ 1. ศูนยตาโดยแท้จริง 2. อประติหตะแห่งมูลและการณ์ (ลี่ซื่ออู๋ไอ้ฝ่าเจี้ย - 理事無礙法界) 3. การแทงทะลุและสถิติเสถียร โดยสังขป ปกรณ์นี้เป็นรากฐานของคำสอนนิกายหัวเหยียน ที่คณาจารย์ต่างๆ จะใช้เป็นแนวทางในกาลต่อมา โดยเฉพาะการอธิบายหลัก "มูล" (ลี่ - 理) และ "การณ์" (ซื่อ - 事) ซึ่งเป็นหลักคำสอนอันเป็นเอกลักษณ์ของพุทธศาสนาสายที่มีจุดกำเนิดในจีน [2] [3] [4]

อรรถาธิบาย[แก้]

ปกรณ์ที่รจนาขึ้นเพื่ออธิบาย "หัวเหยียนฝ่าเจี้ยกวนเหมิน" ล้วนแต่โดยคณาจารย์ในนิกายยุคหลัง เช่น หัวเหยียนฝ่าเจี้ยเสวียนจิ้ง (華嚴法界玄境) หรือ หลักธรรมอันสุขุมคัมภีรภาพแห่งอวตังสกธรรมธาตุ รจนาโดยพระเถระเฉิงกวน จำนวน 2 ผูก, จู้หัวเหยียนฝ่าเจี้ยกวนเหมิน (注華嚴法界觀門) หรือ อรรถาธิบายอวตังสกธรรมธาตุพิจารณ์ทวารบท จำนวน 1 ผูก รจนาโดยพระเถระจงมี่ และจู้หัวเหยียนจิงถีฝ่าเจี้ยกวนเหมินซ่ง (注華嚴經題法界觀門頌) หรือศาสตร์อรรถาธิบายหัวเรื่องอวตังสกธรรมธาตุพิจารณ์ทวารบท จำนวน 2 ผูก [5]

ตัวบทปกรณ์[แก้]

華嚴法界觀門

華嚴法界玄境

注華嚴法界觀門

อ้างอิง[แก้]

  1. The Princeton Dictionary of Buddhism
  2. The Princeton Dictionary of Buddhism
  3. A Sanskrit-English dictionary
  4. A Dictionary of Chinese Buddhist Terms. Oxford, England
  5. 法界观门

บรรณานุกรม[แก้]

  • Robert E. Buswell Jr.,Donald S. Lopez Jr. (2013). The Princeton Dictionary of Buddhism
  • Arthur Anthony Macdonell. (1893) A Sanskrit-English dictionary, being a practical handbook with transliteration, accentuation, and etymological analysis throughout. London New York, Longmans, Green and co.
  • William Edward Soothill and Lewis Hodous. (1934) A Dictionary of Chinese Buddhist Terms. Oxford, England
  • Steven M. Emmanuel. (2013) A Companion to Buddhist Philosophy
  • 法界观门 ใน http://baike.baidu.com/view/738320.htm