หม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์โต๊ะ อิศรางกูร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมราโชทัย
(หม่อมราชวงศ์โต๊ะ อิศรางกูร)
เกิดพ.ศ. 2408
เสียชีวิต8 มิถุนายน พ.ศ. 2462 (54 ปี)
มีชื่อเสียงจากหม่อมราชนิกูล
คู่สมรสนางราโชทัย (พุก ทองรวย), แม้น, ขัน, ซ่วน
บุตรม.ล. หญิง เรณู อิศรางกูร
ม.ล. หญิง ประยงค์ อิศรางกูร
หลวงสุรการวินิต (ม.ล. อุทัย อิศรางกูร)
ม.ล. หญิง อุบล เกษมสันต์
ม.ล. หญิง มณฑา อิศรางกูร
พ.ท. ม.ล.ไพบูลย์ อิศรางกูร
ม.ล. หญิง โกสุมภ์ อิศรางกูร
ม.ล. จินดา อิศรางกูร
ม.ล. อาทิตย์ อิศรางกูร
บิดามารดา
  • หม่อมเจ้าโสภณ (บิดา)

นาวาตรี หม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์โต๊ะ อิศรางกูร) (พ.ศ. 2408 – 8 มิถุนายน 2462) เป็นหม่อมราชนิกูลผู้ดำรงยศ "หม่อมราโชทัย" คนที่ 2[1] เป็นบุตรคนที่ 9 ของหม่อมเจ้าโสภณ อิศรางกูร เป็นพระนัดดาของสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ (ต้นราชสกุล "อิศรางกูร") (พระอนุชาของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี (บุญรอด) ในรัชกาลที่ 2) และเป็นพระปนัดดาของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ (แก้ว) ซึ่งเป็นพระเชษฐินีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

หม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์โต๊ะ อิศรางกูร) เกิดตอนปลายรัชกาลที่ 4 (สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) รับราชการเป็นนายทหารพระธรรมนูญ กรมพระธรรมนูญ กระทรวงทหารเรือ ท่านเป็นพระอาจารย์ภาษาไทยของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 และพระราชโอรส พระราชธิดาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 โดยเป็นพระอาจารย์ผู้ช่วย พระยาอิศรพันธุ์โสภณ คนที่ 1 (หม่อมราชวงศ์ หนู) มีบุตรธิดา 8 คน กับนางราโชทัย (พุก)[1] คือ

  1. หม่อมหลวงหญิงเรณู อิศรางกูร
  2. หม่อมหลวงหญิงประยงค์ อิศรางกูร
  3. หม่อมหลวงอุทัย อิศรางกูร
  4. หม่อมหลวงหญิงอุบล อิศรางกูร
  5. หม่อมหลวงหญิงมณฑา อิศรางกูร
  6. พันโท หม่อมหลวงไพบูลย์ อิศรางกูร
  7. หม่อมหลวงหญิงโกสุมภ์ อิศรางกูร
  8. หม่อมหลวงจินดา อิศรางกูร

และมีบุตร 1 คนกับนาง ซ่วน คือ หม่อมหลวงอาทิตย์ อิศรางกูร

หม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์โต๊ะ อิศรางกูร) ชอบทำสวนไม้ใบและไม้ดอก อยู่ที่ปากตรอกศาลาต้นจันท์ ด้านถนนอรุณอมรินทร์

หม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์โต๊ะ อิศรางกูร) ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2462 จากโรควัณโรค ขณะมีอายุ 54 ปี[2] พิธีพระราชทานเพลิงศพจัดขึ้นที่เมรุหน้าพระอุโบสถวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Family Tree, Isarankura Foundation. http://isarankura.com/tree.htm เก็บถาวร 2017-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. ข่าวตาย
  3. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า ๑๗๘๗)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 2020-07-22.
  4. พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา เล่ม 30 หน้า 2680 ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2456