หมี (วัฒนธรรมเกย์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดิอินเตอร์เนชันแนลแบร์บราเธอร์ฮูดเป็นธงสัญลักษณ์ของกลุ่มหมีซึ่งถูกออกแบบโดยเคร็ก เบิร์นส์ในปีค.ศ. 1995[1]
กลุ่มชุมชนหมีในงาน 2009 มาร์ชาเกย์ในเม็กซิโกซิตี

ในกลุ่มวัฒนธรรมเกย์ หมี หรือ แบร์ (อังกฤษ: bear) โดยส่วนใหญ่จะหมายถึงผู้ชายที่มีรูปร่างใหญ่ และมีขนมากกว่าปกติ จากทั้งหมดเป็นการสร้างภาพแทนความเป็นชายที่ดูแข็งแรง

รูปแบบของความเป็นหมียังสามารถนิยามได้ถึงลักษณะบุคคล และกลุ่มได้ แต่ทั้งนี้ประเด็นเรื่องหมียังเรื่องที่มีการถกเถียงอย่างต่อเนื่องในกลุ่มหมีเกี่ยวกับองค์ประกอบของบุคคลที่มีลักษณะเป็นหมี โดยคนบางกลุ่มยังให้ความสำคัญของหมีในการแสดงอัตลักษณ์ความเป็นชายที่ชัดเจน และหลีกเลี่ยงที่จะแสดงความอ่อนโยน[2] ขณะที่บางคนมองว่าการเป็นหมีควรได้รับการยอมรับทั้งหมดและไม่ควรแบ่งแยกประเภท[3]

ลักษณะ[แก้]

แจ็ก แรดคลิฟฟ์ผู้มีลักษณะรูปแบบหมี

แจ็ก ฟริตส์เชอร์ นักเขียนและนักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับลักษณะของหมีว่า "เป็นลักษณะทางเพศรองของผู้ชายซึ่งมีทั้งขนบนใบหน้า, ขนตามร่างกาย, มีลักษณะร่างกายสมบูรณ์ และศีรษะล้าน"[4] โดยตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 2000 ผู้หญิงโดยกำเนิด และผู้ชายข้ามเพศที่มีลักษณะที่มีคล้ายกับหมีเริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้นในวัฒนธรรม[5][6]

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมากลุ่มวัฒนธรรมหมีได้ถูกแบ่งย่อยออกไปเนื่องจากกลุ่มผู้ชายบางคนที่นิยามตนเองว่าเป็น "แบรส์" (อังกฤษ: bears) หรือ "มัสเซิลแบรส์" (อังกฤษ: musclebears) ไม่ยอมรับผู้ชายที่มีรูปร่างอวบกว่าในกิจกรรมของกลุ่ม ซึ่งทำให้มักจะเกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับในชุมชนหมี ที่ว่าผู้ชายลักษณะหมีบางคนมักจะถูกแบ่งแยกออกมาเนื่องจากรูปลักษณ์ของตนไม่สอดคล้องกับมาตรฐาน "ความเป็นหมีอย่างแท้จริง" (อังกฤษ: real bear) ซึ่งประเด็นบุคคลที่มีลักษณะอวบหรือไม่อวบมักจะเป็นประเด็นที่เป็นปัญหาทางการเมืองที่ถกเถียงกันในกลุ่ม โดยบุคคลบางคนในกลุ่มมองว่าการมีภาวะน้ำหนักเกินเป็นอีกหนึ่งรูปแบบของการยอมรับตนเอง นอกจากนี้ยังมีหลายคนตั้งข้อสังเกตว่าชุมชนหมียังมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ แต่โดยทั่วไปการมีขนเป็นมาตรฐานของการดึงดูดทางด้านกายภาพของบุคคลที่เป็นหมี จากลักษณะทั้งหมดเป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยให้กับกรรมพันธุ์ของผู้ชายผิวขาวในด้านของสุนทรียภาพ, สังคม และทางเพศของกลุ่มหมี[7] ทั้งนี้ลักษณะตัวอย่างของผู้ชายยุคใหม่การมีหนวดเคราได้ถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นชาย

ข้อวิพากษ์[แก้]

จากงานการศึกษาชิ้นหนึ่งได้พบว่ากลุ่มคนที่ระบุว่าตนเองเป็นหมีมีแนวโน้มจะมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักโดยไม่สวมใส่ถุงยางอนามัยมากกว่าชายรักร่วมเพศกลุ่มอื่น ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวมีความน่ากังวลเพราะอาจจะทำให้มีความเสี่ยงของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ผลการศึกษายังพบว่าบุคคลที่เป็นหมีมักจะมีแนวโน้มความภาคภูมิใจในตนเองต่ำมากกว่าชายรักร่วมเพศกลุ่มอื่น และเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมทางเพศที่มีความเสี่ยงสูง[8]

สำหรับบุคคลที่เป็นหมีและเป็นกลุ่มคนสีผิวอื่นบางคนมักจะเป็นนักเคลื่อนไหวเกี่ยวกับประเด็นการขาดความหลายชาติทางด้านเชื้อชาติของชุมชนหมี ซึ่งก็ได้มีการสร้างกลุ่มหมีย่อยสำหรับบุคคลกลุ่มสีผิวอื่นเพื่อทำให้ตนเองรู้สึกสบายใจและเป็นที่ยอมรับมากขึ้น[9][10][11]

คำศัพท์เฉพาะ[แก้]

มิสเตอร์ดีซีแบร์คับ 2006 และมิสเตอร์ดีซีแบร์ 2006

สำหรับคำศัพท์แสลงบางคำที่เกี่ยวข้องกับชุมชนหมีมีดังต่อไปนี้:

  • บิกบอย (อังกฤษ: Big Boy) เป็นคำนิยามสำหรับกลุ่มบุคคลหมีที่มีเชื้อสายแอฟริกันและอเมริกันแอฟริกัน ซึ่งเหมือนกับกลุ่มบุคคลชับ กลุ่มวัฒนธรรมบิกบอยอาจจะถูกพิจารณาว่ามีความแตกต่างจากกลุ่มวัฒนธรรมหมี
  • ชับ (อังกฤษ: Chub) เป็นคำนิยามสำหรับกลุ่มผู้ชายที่มีภาวะน้ำหนักมาก ซึ่งคำนิยามดังกล่าวอาจจะเป็นวัฒนธรรมย่อยที่แตกต่างกันของชุมชนเกย์ โดยอาจจะระบุได้ว่ามีความเกี่ยวข้องหรือไม่กับกลุ่มวัฒนธรรมหมี
  • คับ (อังกฤษ: Cub) เป็นคำนิยามสำหรับกลุ่มบุคคลที่มีลักษณะอ่อนวัยในลักษณะหมี โดยในบางครั้งอาจจะมีลักษณะรูปร่างเล็ก[12]
  • ออตเตอร์ (อังกฤษ: Otter) เป็นคำนิยามสำหรับกลุ่มบุคคลย่อยของกลุ่มวัฒนธรรมหมี ซึ่งเป็นคำนิยามสำหรับผู้ชายที่มีลักษณะขนดกหรือมีรูปร่างเล็ก[13]
  • แพนด้า (อังกฤษ: Panda) เป็นคำนิยามสำหรับกลุ่มบุคคลหมีที่มีเชื้อสายเอเชีย[14]
  • โพลาร์แบร์ (อังกฤษ: Polar Bear) เป็นคำนิยามสำหรับกลุ่มบุคคลหมีที่มีลักษณะสูงวัยซึ่งจะมีขนบริเวณหน้าและตามร่างกายเป็นส่วนใหญ่ หรือกลุ่มหมีที่มีลักษณะขนอาจจะมีสีขาวหรือสีเทา[14]
  • ทรานส์แบร์ (อังกฤษ: Trans Bear) เป็นคำนิยามสำหรับกลุ่มบุคคลข้ามเพศ ซึ่งชายข้ามเพศหรือบุคคลที่มีประสบการณ์การข้ามเพศเป็นผู้ชายมักจะมีลักษณะขนเป็นจำนวนมาก
  • เออร์ซูลา (อังกฤษ: Ursula) เป็นคำนิยามสำหรับกลุ่มบุคคลหมีที่เป็นหญิงรักร่วมเพศ[15]
  • วูล์ฟ (อังกฤษ: Wolf) เป็นคำนิยามสำหรับกลุ่มบุคคลชายรักร่วมเพศที่มีรูปร่างกำยำ และหนวดเคราซึ่งอาจจะมีรูปร่างผอม, มีกล้ามเนื้อ และแข็งแรง

อ้างอิง[แก้]

  1. Muzzy, Frank (2005). Gay and Lesbian Washington. Arcadia Publishing. p. 112. ISBN 9780738517537.
  2. Ron Jackson Suresha, (2002). Bears on Bears: Interviews and Discussions. "Bear Ages and Stages", pages 54–58, 149, 179, 236, 260–262, 294. Los Angeles: Alyson Publications. Retrieved on 2008-09-29 ISBN 1-55583-578-3.
  3. John Dececco and Les Wright, The Bear Book II: Further Readings in the History and Evolution of a Gay Male Subculture. Routledge, 2016. ISBN 9781136383274.
  4. Suresha, Ron (2009). "Bearness's Big Blank: Tracing the Genome of Ursomasculinity". Bears on Bears: Interviews and Discussions. Lethe Press. p. 83. ISBN 978-1590212448.
  5. Suresha, Ron (2009). "Lesbears and Transbears: Dykes and FTMs as Bears". Bears on Bears: Interviews and Discussions. Lethe Press. pp. 273–84. ISBN 978-1590212448.
  6. Connell, Iz (2018). "A woman in the bear community". Archer Magazine.
  7. Suresha, Ron (2009). Bears on Bears: Interviews and Discussions. Lethe Press. p. 83. ISBN 978-1590212448.
  8. Quidley-Rodriguez, N.; De Santis, J. P. (2015). "A Literature Review of Health Risks in the Bear Community, a Gay Subculture". American Journal of Men's Health. 11 (6): 1673–1679. doi:10.1177/1557988315624507. PMC 5675254. PMID 26718773.
  9. Kyle Jackson (29 June 2020). "White Bears, it's time for you to be uncomfortable". Bear World Magazine.
  10. Kyle Jackson (10 February 2023). "Has much changed in the Bear community since 2020?". Bear World Magazine.
  11. Graham Gremore (1 July 2020). "White gay bear privilege is a thing and it needs to end". Queerty.
  12. Kampf, Ray (2000). The Bear Handbook: A Comprehensive Guide for Those who are Husky, Hairy, and Homosexual, and Those who Love'em. Haworth Press. pp. The Bear Cub: Ursus younges. ISBN 978-1-56023-996-3. สืบค้นเมื่อ 2008-08-27.
  13. Phd, John Dececco; Wright, Les (2016-04-08). The Bear Book II: Further Readings in the History and Evolution of a Gay Male Subculture (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 9781136383274.
  14. 14.0 14.1 "Bear-y gay" เก็บถาวร 2017-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Los Angeles Times, February 4, 2007.
  15. Gulliver, Tanya (2002-05-30). "Beary feminine: Lesbians are claiming an identity gay men monopolize". Xtra!. สืบค้นเมื่อ 2018-07-16.

เอกสารอ่านประกอบ[แก้]

  • Cain, Paul D. and Luke Mauerman (2019). Bears in the Raw.
  • Hennen, Peter (2008). Faeries, Bears, and Leathermen: Men in Community Queering the Masculine. University of Chicago
  • Hoffman, Wayne (2015). An Older Man. A Novella
  • Hörmann, Rainer (2004). Das Bärenkult: Das Tier im Mann.
  • Jones, Devry (2022-10-22). "DC and the Development of the International Bear Brotherhood Flag". สืบค้นเมื่อ 22 October 2022.
  • Kampf, Ray (2000). The Bear Handbook: A Comprehensive Guide for Those Who Are Husky, Hairy and Homosexual, and Those Who Love 'Em. Haworth Press. ISBN 1-56023-996-4
  • Luczak, Raymoind (2019). Flannelwood.
  • Luczak, Raymond (2016). The Kiss of Walt Whitman Still on My Lips (2016).
  • Smith, Travis and Chris Bale (2012). Guide to the Modern Bear.
  • Suresha, Ron (2002). Bears on Bears: Interviews and Discussions. Alyson Publications. ISBN 1-55583-578-3
  • Wright, Les K. (1997). The Bear Book: Readings in the History and Evolution of a Gay Male Subculture. Haworth Press. ISBN 1-56023-890-9
  • Wright, Les K. (2000), The Bear Book II: Further Readings in the History and Evolution of a Gay Male Subculture, Haworth, ISBN 978-0-7890-0636-3

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]