สำโรง (พรรณไม้)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำโรง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Malvales
วงศ์: Malvaceae
วงศ์ย่อย: Sterculioideae
สกุล: Sterculia
สปีชีส์: S.  foetida
ชื่อทวินาม
Sterculia foetida
L.
ชื่อพ้อง
  • Clompanus foetida (L.) Kuntze
  • Clompanus foetidus (L.) Kuntze
  • Sterculia mexicana var. guianensis Sagot[1]

สำโรง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Sterculia foetida) เป็นพืชในวงศ์ชบา กระจายพันธุ์ในแอฟริกาตะวันออก อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงออสเตรเลีย[2]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

สำโรงเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูงได้ถึง 30 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา โคนต้นมีพูพอนต่ำ ๆ ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ กางแผ่ออกจากจุดเดียวกัน เรียงเวียนตอนปลายกิ่ง ใบย่อย 5-7 ใบ รูปรีหรือรีแกมขอบขนาน กว้าง 3.5-6 เซนติเมตร ยาว 10-30 ซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือมีติ่งแหลม โคนใบรูปลิ่ม ก้านใบประกอบยาว 13-20 เซนติเมตร ก้านใบย่อยยาว 3-5 มิลลิเมตร ดอกสีแดงหรือสีแสด มีกลิ่นเหม็น ออกเป็นช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่งหรือซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 10-30 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ปลายม้วนออก ดอกออกช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ผลเป็นแบบแห้งแตกเปลือกแข็ง สีแดงปนน้ำตาล กว้าง 6-9 เซนติเมตร ยาว 8-10 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกออกเป็น 2 ซีก ภายในมีเมล็ดสีดำรูปขอบขนาน 10-15 เมล็ด ผลออกช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน[3]

ประโยชน์[แก้]

เปลือกต้นและใบสำโรงมีสรรพคุณเป็นยาระบายอย่างอ่อน ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ[4] เมล็ดรับประทานได้เหมือนถั่ว รสชาติคล้ายโกโก้ แต่มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ [5] น้ำมันจากเมล็ดใช้ในทางการแพทย์และเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ[6][7]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.theplantlist.org/tpl/record/kew-2579743
  2. "Sterculia foetida" (PDF). Worldagroforestry.org. สืบค้นเมื่อ 2013-12-10.
  3. http://www.rspg.or.th/plants_data/palace/chitralada/cld6-2_098.htm
  4. "สำโรง (Sterculia foetida)". สืบค้นเมื่อ March 23, 2017.[ลิงก์เสีย]
  5. "Edible and Medicinal Plants" (PDF). Monkeyland. สืบค้นเมื่อ March 23, 2017.[ลิงก์เสีย]
  6. "PROMISING PHARMACEUTICAL PROSPECTIVE OF 'JAVA OLIVE'- STERCULIA FOETIDA LINN (STERCULIACEAE)" (PDF). International Journal of Pharmacy Review & Research. สืบค้นเมื่อ March 23, 2017.
  7. "Study of C I Engine performance with Diesel - Biodiesel (Sterculia foetida) Blend as fuel" (PDF). International Journal of Trend in Research and Development. สืบค้นเมื่อ March 23, 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สำโรง
  • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Sterculia foetida ที่วิกิสปีชีส์
  • "Sterculia foetida". Useful Tropical Plants.