สารสังคหะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สารสังคหะ เป็นคัมภีร์ทางพุทธศาสนาประพันธ์โดยท่านสิทธัตถะ (Siddhattha) ศิษย์คนหนึ่งของท่านพุทธัปปิยะ (Buddhappiya) ประมุขสงฆ์แห่งทักขิณาราม (DakkhiÑaràm) ในเมืองโปโลนนรุวะ ประเทศศรีลังกา ในช่วงสมัยของโปโลนนรุวะ ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19[1]

คัมภีร์แต่งเป็นร้อยแก้วสลับร้อยกรอง (คาถา) มีเนื้อหาหลักคําสอนของพระพุทธศาสนาสําหรับพระภิกษุใหม่ และชาวบ้านที่เริ่มศึกษาพระพุทธศาสนา มีเนื้อหาครอบคลุม พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคันถันตระ โดยบาลีเพียงเล็กน้อย แต่ครอบคลุมสารธรรมที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ ต่อมาท่านราหุล นักปราชญ์พระพุทธศาสนาเถรวาท ได้เรียบเรียงคัมภีร์ปัญจกปทีปโดยใช้คัมภีร์สารสังคหะเป็นเกณฑ์การเขียน ซึ่งวิธีนี้ใช้ในกลุ่มประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท เช่น ศรีลังกา กัมพูชา และประเทศไทย พบคัมภีร์ใบลานเก็บไว้ ณ วัดเบญจมบพิตร พบคัมภีร์เรื่อง สารสังคหะ สร้างสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2320[2]

คัมภีร์นี้เป็นที่สนใจครั้งแรกโดยนักวิชาการชาวยุโรป ส่วนหนึ่งของบทแรกค้นพบเมื่อ ค.ศ. 1845 ที่ Spiegel’s Anecdota Palica Leipzig ตามด้วย Westergaard: Codices Orientales Bibliothecae Regiae Hauniensis Pars Prior. Havniae ค.ศ. 1846[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "การศึกษาคติปัญจอันตรธานในประเทศไทยจากหลักฐานทางโบราณคดีในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19-21" (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
  2. "เปิดคลัง 'คัมภีร์ใบลาน' อายุ 380 ปี สมัยกรุงศรีอยุธยา ณ วัดเบญจมบพิตร". คมชัดลึก.
  3. พระราชรัตนมุนี (บุญเทียม ญาณินฺโท). "คัมภีร์สารสังคหะ : การชำระและการศึกษาวิเคราะห์" (PDF).