สะพานปามปัน

พิกัด: 9°16′57.25″N 79°12′5.91″E / 9.2825694°N 79.2016417°E / 9.2825694; 79.2016417
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สะพานปามปัน
สะพานปามปันช่วงบัสคิว ภาพถ่ายเมื่อปี 2014
พิกัด9°16′57.25″N 79°12′5.91″E / 9.2825694°N 79.2016417°E / 9.2825694; 79.2016417
เส้นทางรถไฟ
ที่ตั้งราเมศวรัง รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย
เจ้าของการรถไฟอินเดีย
ข้อมูลจำเพาะ
ความยาว6,776 ฟุต (2,065 เมตร)
จำนวนช่วง144
ประวัติ
วันเริ่มสร้าง1911
วันสร้างเสร็จ1914
วันเปิด1915
สร้างใหม่1965 )
วันปิด23 ธันวาคม 2022
แทนที่โดยสะพานนิวปามปัน
สถิติ
การจราจรโดยเฉลี่ยยกเลิก
ที่ตั้ง
แผนที่

สะพานปามปัน (pronounced: /pɑːmbən/ อักษรโรมัน: pāmban) เป็นสะพานรถไฟที่เชื่อมต่อเมืองมัณฑปังในอินเดียแผ่นดินใหญ่ เข้ากับราเมศวรังบนเกาะปามปัน สะพานเปิดให้บริการครั้งแรกในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 1914[1] และเป็นสะพานทะเลแห่งแรกของอินเดีย[2] และคงตำแหน่งเป็นสะพานทะเลที่ยาวที่สุดในประเทศอินเดียกระทั่งบานดรา-วารลี ซีลิงก์ในมุมไบเปิดให้บริการเมื่อปี 2010 สะพานรถไฟนี้ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นสะพานแบบทั่วไป สร้างขึ้นบนตอม่อคอนกรีต ตรงกลางของสะพานมีส่วนที่เป็นบัสคิวคู่ ซึ่งสามารถเปิดปิดให้เรือผ่านได้ สะพานปามปันเป็นเส้นทางเดินทางทางบกแบบเดียวที่เชื่อมต่อเกาะราเมศวรังเข้ากับแผ่นดินใหญ่อินเดียกระทั่งปี 1988 ส่วนบัสคิวของสะพานได้รับความเสียหายเนื่องมาจากการกัดกร่อนอย่างรุนแรงจนทำให้ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2022 ตัวตรวจจับได้ปล่อยสัญญาณเตือนให้เปิดอยู่ตลอด เป็นผลให้การขนส่งบนสะพานถูกยกเลิกเป็นการถาวร[3] โดยมีรถไฟขบวนสุดท้ายที่วิ่งบนสะพานอย่างเป็นทางการคือรถไฟหมายเลข 07695 สายด่วนพิเศษเซกุนเดอราบาด-ราเมศวรัง (Secunderabad - Rameswaram Special Express) ก่อนที่สะพานจะปิดบริการถาวร[4] ในเดือนกุมภาพันธ์ 2023 เขตเดินรถภาคใต้ประกาศว่าการเดินทางทางรางไปยังเกาะราเมศวรังผ่านทางรถไฟจะหยุดไปจนกว่าสะพานนิวปามปันจะเปิดให้บริการ

ในปี 1988 มีการสร้างสะพานเดินรถคู่ขนานกับสะพารถไฟ ชื่อว่าสะพานอันไน อินทิรา คานธี (Annai Indira Gandhi Road Bridge)[2] ซึ่งเชื่อมต่อเข้ากับทางหลวงแห่งชาติ NH 49 และถือเป็นทางเดินรถแรกที่เชื่อมต่อทางหลวงของอินเดียแผ่นดินใหญ่เข้ากับเกาะราเมศวรัง ตัวสะพานทอดผ่านช่องแคบพอล์ก (Palk Strait) ระหว่างชายฝั่งของเมืองมัณฑปังบนอินเดียแผ่นดินใหญ่และปามปัน เมืองชาวประมงบนเกาะราเมศวรัง สะพานนี้ประกอบพิธีเปิดโดยนายกรัฐมนตรีอินเดีย ราชีพ คานธี เมื่อ 2 ตุลาคม 1988[5] สะพานเดินรถนี้มีความยาว 2.345 กิโลเมตร และใช้เวลาก่อสร้างเกือบ 14 ปี

การออกแบบ[แก้]

สะพานรถไฟสร้างขึ้นที่ความสูง 12.5 เมตร (41 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล และยาว 6,776 ft (2,065 m)[6] มีตอม่อสะพานรวม 143 เสา และมีส่วนบัสคิวแบบคู่ (double-leaf bascule) ซึ่งมีตัวยกชนิดเชอร์เซอร์โรลลิงที่สามารถเปิดปิดสะพานให้เรือผ่านได้ แต่ละขาที่ยกมีน้ำหนัก 415 ตัน (457 ton)[7]

เหตุการณ์[แก้]

  • วันที่ 23 ธันวาคม 1964 คลื่นจากพายุขนาด 7.6 m (25 ft) จากไซโคลนราเมศวรัง พัดเข้าถล่มเกาะและพัดรถไฟโดยสารสายปามปัน-ตนุษโกฏิ (Pamban-Dhanuskodi) ร่วงจากสะพานรถไฟ เป็นผลให้ผู้โดยสารมากกว่า 200 รายเสียชีวิต[8]
  • วันที่ 13 มกราคม 2013 เรือขนส่งสินค้าขูดเข้ากับสะพาน ทำให้เกิดความเสียหายเล็กน้อย[9]

ในวัฒนธรรม[แก้]

  • ภาพยนตร์ภาษาทมิฬ Kannathil Muthamittal (2002) ถ่ายทำที่นี่[10]
  • ภาพยนตร์บอลีวูด Chennai Express (2013) ถ่ายทำบางส่วนที่นี่[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Pamban Bridge, Application Pamban Bridge". My Rameswaram (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-12-30.
  2. 2.0 2.1 Datta, Rangan (1 February 2023). "Rameswaram: A holy island town along India's southern borderland". My Kolkata. The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 9 February 2023.
  3. Bureau, The Hindu (2023-02-03). "Rail traffic on old Pamban bridge permanently stopped". The Hindu (ภาษาIndian English). ISSN 0971-751X. สืบค้นเมื่อ 2023-02-04.
  4. தினத்தந்தி (2022-12-24). "ரெயில் கடந்தபோது பாம்பன் தூக்குப்பாலத்தில் சத்தம் எழுப்பிய சென்சார் கருவிகள்". www.dailythanthi.com (ภาษาทมิฬ). สืบค้นเมื่อ 2023-02-04.
  5. "Pamban Road Bridge: Annai Indira Gandhi Bridge". 2017.
  6. T.E., Raja Simhan (21 November 2003). "Pamban Bridge to be pulled down for gauge conversion". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 7 May 2015.
  7. Sri Raman, Papri (11 August 2007). "Bridge of memories – and to Rameswaram – reopens". Hindustan Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2013.
  8. Jaishankar, C. (24 December 2005). "Memory of the disaster still lingers". The Hindu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2007.
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ NDTV
  10. 10.0 10.1 "Annai Indira Gandhi Bridge in Rameswaram". Make My Trip.[ลิงก์เสีย]