สหพันธ์เขมรกัมปูเจียกรอม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สหพันธ์เขมรกัมปูเจียกรอม
ประเภทองค์กรไม่แสวงหากำไร องค์กรภาคเอกชน
ก่อตั้งพ.ศ. 2528
สถานที่นิวเจอร์ซี สหรัฐอเมริกา
บุคคลสำคัญ
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก
จุดความสนใจสิทธิมนุษยชน activism
เว็บไซต์[1]

สหพันธ์เขมรกัมปูเจียกรอม (Khmers Kampuchea-Krom Federation; KKF)[1] (1985) เป็นองค์กรที่ประกาศเป็นตัวแทนของชาวแขมร์กรอมในที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงของประเทศเวียดนาม เพื่อสิทธิมนุษยชน เสรีภาพทางศาสนา และการกำหนดอัตถลักษณ์ของตนเอง

ก่อตั้ง[แก้]

องค์กรนี้ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2528 หลังจากที่มีการจัดงานเกี่ยวกับขแมร์กรอมครั้งแรกที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ต่อมา ใน พ.ศ. 2539 ในการจัดงานครั้งที่ 5 ที่โตรอนโต แคนาดา จึงได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบันนี้

เศรษฐกิจ[แก้]

องค์กรนี้ดำเนินการโดยเงินบริจาคของชาวแขมร์กรอมที่ลี้ภัยไปยังสหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ยุโรป และอื่นๆ

ธง[แก้]

ธงของขแมร์กรอม

ธงของแขมร์กรอมมีสามสีคือน้ำเงิน เหลือง และแดง ขนาดของธงคือ 3 นิ้วต่อ 5 นิ้ว ความหมายของแต่ละสีคือ

  • น้ำเงิน: คือเสรีภาพและประชาธิปไตย
  • เหลือง: คือชาวแขมร์กรอมผู้รักสันติและความยุติธรรม
  • แดง: คือความกล้าหาญและความเสียสละต่อปิตุภูมิของชาวแขมร์กรอม

สัญลักษณ์[แก้]

สัญลักษณ์ขององค์กรคือราหูอมจันทร์ ราหูหรือเรียฮูในภาษาเขมรเป็นตัวละครในเรียมเกอร์หรือรามายณะภาคภาษาเขมร ในตำนานของเขมร การอมจันทร์ของราหูทำให้เกิดจันทรุปราคา

อ้างอิง[แก้]

  1. The content about KKF in this page is extracted from the book: "The Khmer-Krom Journey to Self-Determination" - Published by KKF - ISBN 978-0-578-04392-0 with the permission from KKF.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]