สรชัด สุจิตต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สรชัด สุจิตต์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 มิถุนายน พ.ศ. 2516 (50 ปี)
พรรคการเมืองชาติไทยพัฒนา
คู่สมรสวิภากร สุจิตต์

สรชัด สุจิตต์ (ชื่อเล่น ยอร์ช[1], เกิดวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2516) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี เขต 1 สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา 3 สมัย[2]

ประวัติ[แก้]

นายสรชัด เกิดเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2516 เป็นบุตรของนายสมชาย และนางรัชนี สุจิตต์ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี จากหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงปริมาณ และปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[3]ดุษฎีบัณฑิต สาขานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับนางวิภากร สุจิตต์ ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี มีธิดา 1 คนได้แก่ นางสาวสริภา สุจิตต์[4]

งานการเมือง[แก้]

นายสรชัด เริ่มเข้าสู่เส้นทางการเมือง โดยเริ่มจากการเมืองท้องถิ่น ด้วยการเป็นรองประธานสภาและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี 2 สมัย

ต่อมาได้เข้าสู่การเมืองระดับชาติ ได้ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี เขต 1 ในนามพรรคชาติไทยพัฒนา โดยได้รับการเลือกตั้ง 3 สมัย คือในปี พ.ศ. 2554, พ.ศ. 2562 และปี พ.ศ. 2566

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

นายสรชัด สุจิตต์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดสุพรรณบุรี สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดสุพรรณบุรี สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดสุพรรณบุรี สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. คนสุพรรณเจ๋ง
  2. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 7 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-10-12.
  3. ประวัตินายสรชัด  สุจิตต์, ระบบบริหารจัดการสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (2562)
  4. "บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายสรชัด สุจิตต์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-10-15. สืบค้นเมื่อ 2019-10-15.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔