สมาคมโรคหัวใจแห่งอินเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมาคมโรคหัวใจแห่งอินเดีย
ผู้ก่อตั้งดร. เสวิถ ราว, ดร. ศิศิร ราว
ประเภทองค์การอนามัยหัวใจ
วัตถุประสงค์การป้องกันหัวใจร่วมหลอดเลือดและโรคหลอดเลือดสมอง
ที่ตั้ง
พื้นที่ให้บริการ
อินเดีย และเอเชียใต้ในต่างประเทศ
เว็บไซต์www.indianheartassociation.org

สมาคมโรคหัวใจแห่งอินเดีย (อังกฤษ: Indian Heart Association; อักษรย่อ: IHA) พร้อมด้วย สมาคมโรคหลอดเลือดสมองแห่งอินเดีย (อังกฤษ: Indian Stroke Association; อักษรย่อ: ISA) เป็นองค์การที่อุทิศตนเพื่อสร้างความตระหนักด้านสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจร่วมหลอดเลือดและโรคหลอดเลือดสมองในหมู่ประชากรเอเชียใต้[1] องค์การได้รับการก่อตั้งโดย ดร. เสวิถ ราว และ ดร. ศิศิร ราว ในสังกัดโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด และเบิร์กลีย์-ยูซีเอสเอฟ ซึ่งองค์การนี้ได้ให้การสนับสนุนและจัดค่ายสุขภาพระบบหัวใจในประเทศอินเดียเพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับโรคระบบหัวใจหลอดเลือด และมีสำนักงานใหญ่ในจูบิลีฮิลส์ ไฮเดอราบาด ประเทศอินเดีย

องค์การได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการแผนกเครื่องมือศัลยกรรมทรวงอก และหัวใจร่วมหลอดเลือดสำหรับสำนักมาตรฐานแห่งอินเดีย กระทรวงสาธารณสุขใน ค.ศ. 2013 นอกจากนี้ องค์การดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์บทความในหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อเสียง เช่น เดอะฮินดี และอีนาฑุ รวมทั้งหน้าแรกของหน้าเว็บมหาวิทยาลัยไรซ์[2] ส่วนใน ค.ศ. 2019 องค์การได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการบริหารของสมาคมโรคหัวใจแห่งเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเป็นสมาคมสหวิทยาการหัวใจร่วมหลอดเลือดชั้นนำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ทั้งนี้ สมาคมโรคหัวใจแห่งอินเดียได้รับการนำเสนอในกรณีศึกษาของหนังสือพิมพ์ดิอีโคโนมิสต์เกี่ยวกับการระบาดของโรคหัวใจในเอเชียใต้ประจำ ค.ศ. 2018[3] และสมาคมโรคหัวใจแห่งอินเดียยังดำเนินการองค์การในเครือ ซึ่งคือสมาคมโรคหลอดเลือดสมองแห่งอินเดีย โดยมุ่งเน้นที่การสร้างความตระหนักเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง

ภาพรวม[แก้]

ประมาณการด้านสาธารณสุขระบุว่าบัญชีของอินเดียจะคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ของภาระโรคหัวใจทั่วโลก แม้ว่าจะมีน้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลกก็ตาม โรคหัวใจเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการตายและเป็นโรคระบาดเงียบในหมู่ชาวเอเชียใต้ นอกจากนี้ ชาวเอเชียใต้มีความเสี่ยงสูงต่อโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน โดยคิดเป็น 40 เปอร์เซ็นต์ของการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันทั่วโลก[4][ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ] โดยสมาคมโรคหัวใจแห่งอินเดียก่อตั้งขึ้นเพื่อมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายของการป้องกันโรคระบบหัวใจหลอดเลือด และโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันในระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ

การยอมรับ[แก้]

สมาคมโรคหัวใจแห่งอินเดียได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดองค์การด้านสุขภาพหัวใจระดับโลกจำนวนมาก รวมถึงการประชุมประจำปีของสหพันธ์หัวใจโลกและการประชุมดิอีโคโนมิสต์ฮาร์ตเฮลธ์ในทวีปเอเชีย สมาคมโรคหัวใจแห่งอินเดียยังได้รับการยอมรับว่าเป็นสมาชิกเต็มรูปแบบของคณะอนุกรรมการโรคหัวใจสำหรับสำนักมาตรฐานแห่งอินเดียในกระทรวงสาธารณสุขในประเทศอินเดีย ทั้งนี้ องค์การมีผู้สนับสนุนและที่ปรึกษาที่โดดเด่น ทั้ง ดร. ซี. อาร์. ราว ผู้ได้รับเหรียญวิทยาศาสตร์แห่งชาติ และ ดร. นีล ฟรานซิส เลน อดีตที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ ส่วน ดร. เอ. พี. เจ. อับดุล กลาม อดีตประธานาธิบดีอินเดียผู้ล่วงลับ เป็นที่ปรึกษาของสมาคมโรคหัวใจแห่งอินเดีย

หุ้นส่วน[แก้]

จนถึงปัจจุบัน องค์การได้ร่วมมือกับแพทย์ที่มีชื่อเสียง เช่น แพทย์โรคหัวใจและศัลยแพทย์จากโรงพยาบาลอะพอลโล, สถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์กฤษณะ และโรงพยาบาลวิษณุ สมาคมโรคหัวใจแห่งอินเดียได้ดำเนินการหรือสนับสนุนค่ายตรวจคัดกรองโรคหัวใจในรัฐอานธรประเทศ, รัฐมหาราษฏระ, รัฐเตลังคานา และรัฐทมิฬนาฑู ตลอดจนได้สนับสนุนหรือให้คำแนะนำกิจกรรมอื่น ๆ ทั่วประเทศอินเดีย องค์การยังได้ร่วมมือกับสมาคมนักศึกษาแพทย์แห่งอินเดีย (IMSA) ซึ่งเป็นองค์การตัวแทนนักศึกษาแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ส่วนใน ค.ศ. 2015 สมาคมโรคหัวใจแห่งอินเดียได้ร่วมมือกับมูลนิธิหัวใจเด็ก ซึ่งเป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไรในเดลี ประเทศอินเดีย เพื่อระดมทุนสำหรับการรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดสำหรับครอบครัวที่มีปัญหาทางการเงิน และใน ค.ศ. 2018 สมาคมโรคหัวใจแห่งอินเดียได้ร่วมมือกับสิโพล ซึ่งเป็นชุมชนออกกำลังกายเต้นรำบอลลีวูดที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Borah, Prabalika M. (30 June 2013). "Fat of the Matter". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 16 August 2016.
  2. Amy, McCaig (11 April 2014). "A student with heart". News.Rice.edu. Houston, Texas: Rice University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-31. สืบค้นเมื่อ 16 August 2016.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-05. สืบค้นเมื่อ 2021-07-31.
  4. Indian Heart Association

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]