สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทย
ก่อตั้งพ.ศ. 2500 (อายุ 67 ปี)
ที่ตั้ง
  • ประเทศไทย
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ
ประเทศไทย
นายกสมาคม
กาญจนา เติมประยูร
สังกัดสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์และลูกเสือหญิงโลก
อาสาสมัคร
28,030 คน (ใน พ.ศ. 2546)
เว็บไซต์www.ggat.or.th

สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ (อังกฤษ: Girl Guides Association of Thailand; ชื่อย่อ: GGAT) เป็นองค์กรเนตรนารีระดับชาติของประเทศไทย โดยมีสมาชิกผู้คอยให้บริการ 28,030 คน (ในพ.ศ. 2546) ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2500 โดยนางสาวกนก สามเสน (ชื่อปัจจุบัน: คุณหญิงกนก สามเสน วิล)[1][2] องค์กรดังกล่าวได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกทดลองขององค์การผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งโลก ในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2506[1]

ประวัติ[แก้]

กิจการผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทยเริ่มขึ้นในภายหลังจากที่นางสาวกนก สามเสน (ชื่อปัจจุบัน: คุณหญิงกนก สามเสน วิล) ได้เยี่ยมชมกิจการของ The Girl Scouts Association of U.S.A ที่นิวยอร์ก ในครั้งที่เข้าร่วมการสัมนา Committee of Correspondence ในปีพ.ศ. 2499 โดยได้เกิดความประทับใจต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ ตลอดจนการปฏิบัติหน้าที่ของ Girl Scouts ที่มีความคล่องแคล่ว ท่านเห็นว่ากิจกรรมดังกล่าวเป็นประโยชน์และเหมาะสมต่อเด็กผู้หญิง[2]

โครงสร้าง[แก้]

โครงสร้างขององค์กรจะแบ่งออกเป็นสี่ระดับตามอายุดังต่อไปนี้:[1]

  • นกน้อย (Little bird) - อายุ 4 ถึง 6 ปี
  • นกสีฟ้า (Blue Birds) - อายุ 7 ถึง 11 ปี
  • ผู้บำเพ็ญประโยชน์รุ่นกลาง (Guides) - อายุ 12 ถึง 15 ปี
  • ผู้บำเพ็ญประโยชน์รุ่นใหญ่ (Senior Guides) - อายุ 16 ถึง 20 ปี

กิจกรรม[แก้]

ตราสัญลักษณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "สมาชิกผู้บำเพ็ญประโยชน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-07. สืบค้นเมื่อ 2010-10-17.
  2. 2.0 2.1 ประวัติกิจการผู้บำเพ็ญประโยชน์ไทย

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]