สถานภาพทางสังคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถานภาพทางสังคม เป็นระดับคุณค่าทางสังคมที่ถือว่าบุคคลคนหนึ่งมีอยู่[1][2] หรือกล่าวให้เจาะจงคือ หมายถึงระดับโดยสัมพันธ์ของความเคารพ เกียรติยศ ความสามารถที่สันนิษฐานว่ามีอยู่ และการแสดงความนับถือ (deference) ตามที่บุคคล กลุ่มและองค์การในสังคมมอง สถานภาพขึ้นอยู่กับความเชื่อที่มีร่วมกันอย่างแพร่หลายซึ่งสมาชิกในสังคมถือว่ามีคุณค่าทางสังคมมากหรือน้อยกว่า หรือกล่าวได้ว่า เป็นผู้ที่เชื่อว่าดีกว่าผู้อื่นในด้านความสามารถหรือลักษณะทางศีลธรรม[3] สถานภาพตัดสินได้จากการมีคุณลักษณะหลายประการที่ในทางวัฒนธรรมเชื่อว่าบ่งชี้ความเหนือกว่าหรือด้อยกว่า (เช่น พูดจาฉะฉาน หรือเชื้อชาติกำเนิด) ด้วยเหตุนี้ บุคคลจะใช้ลำดับชั้นของสถานภาพเพื่อจัดสรรทรัพยากร ตำแหน่งผู้นำ และอำนาจรูปแบบอื่น และในการนั้น ความเชื่อทางวัฒนธรรมที่มีร่วมกันนี้เองจะทำให้เกิดการกระจายทรัพยากรและอำนาจซึ่งแท้จริงแล้วไม่เท่าเทียมกลับดูเป็นธรรมชาติและเป็นธรรมขึ้นมา ซึ่งเป็นการสนับสนุนระบบการแบ่งชนชั้นทางสังคม[4] ลำดับชั้นของสถานภาพดูเหมือนจะเป็นสิ่งสากลในสังคมมนุษย์ต่าง ๆ

อ้างอิง[แก้]

  1. Sauder, Michael; Lynn, Freda; Podolny, Joel (2012). "Status: Insights from Organizational Sociology". Annual Review of Sociology. 38: 267–283. doi:10.1146/annurev-soc-071811-145503. S2CID 73700406.
  2. Anderson, Cameron; Hildreth, John; Howland, Laura (2015). "Is the Desire for Status a Fundamental Human Motive? A Review of the Empirical Literature". Psychological Bulletin. 141 (3): 574–601. doi:10.1037/a0038781. PMID 25774679. S2CID 17129083.
  3. Sedikides, C.; Guinote, A. (2018). ""How Status Shapes Social Cognition: Introduction to the Special Issue,"The Status of Status: Vistas from Social Cognition". Social Cognition. 36 (1): 1–3. doi:10.1521/soco.2018.36.1.1.
  4. Ridgeway, Cecilia L.; Correll, Shelley (2006). "Consensus and the Creation of Status Beliefs". Social Forces. 85: 431–453. doi:10.1353/sof.2006.0139. S2CID 145216264.