ศูนย์มหาสันติสุขพุทธศาสนา

พิกัด: 16°48′39″N 96°10′49″E / 16.810952°N 96.180405°E / 16.810952; 96.180405
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศูนย์มหาสันติสุขพุทธศาสนา
မဟာသန္တိသုခ ဗုဒ္ဓသာသနာပြုကျောင်းတော်ကြီး
อาคารศูนย์มหาสันติสุขพุทธศาสนา
ศาสนา
ศาสนาพุทธ
นิกายเถรวาท
ที่ตั้ง
ประเทศเมืองตามเว ย่างกุ้ง ประเทศพม่า
ศูนย์มหาสันติสุขพุทธศาสนาตั้งอยู่ในประเทศพม่า
ศูนย์มหาสันติสุขพุทธศาสนา
ที่ตั้งในประเทศพม่า
พิกัดภูมิศาสตร์16°48′39″N 96°10′49″E / 16.810952°N 96.180405°E / 16.810952; 96.180405
สถาปัตยกรรม
ผู้ก่อตั้งภิกษุปัญญาวงศ์
เสร็จสมบูรณ์17 ธันวาคม 1999; 24 ปีก่อน (1999-12-17)

ศูนย์มหาสันติสุขพุทธศาสนา (พม่า: မဟာသန္တိသုခ ဗုဒ္ဓသာသနာပြုကျောင်းတော်ကြီး) เป็นอารามศาสนาพุทธเถรวาทในเมืองตามเว ย่างกุ้ง ประเทศพม่า[1] อารามเปิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 1999 ภายใต้การนำของภิกษุปัญญาวงศ์ และการสนับสนุนของรัฐบาลพม่า[1]

ข้อพิพาทความเป็นเจ้าของ[แก้]

ระหว่างปี 2002 ถึง 2004 รัฐบาลพม่าภายใต้นายกรัฐมนตรีคีนหญุ่น[2] ยึดคืนอารามและส่งมอบให้แก่คณะกรรมการสังฆมหานายกแห่งรัฐ ซึ่งเป็นองค์กรรัฐที่ควบคุมดูแลประชากรภิกษุสงฆ์ในประเทศพม่า[3] ในเดือนมีนาคม 2014 ภิกษุปัญญาวงศ์ได้เขียนจดหมายถึงผู้นำพม่าในเวลานั้น เต้นเซน เพื่อแก้ไขข้อพิพาทเรื่องความเป็นเจ้าของของอาราม[4]

การบุกค้น[แก้]

ในวันที่ 10 มิถุนายน 2014 เจ้าหน้าที่ตำรวจรวม 300 นาย และสมาชิกของคณะกรรมการสังฆมหานายกแห่งเขตย่างกุ้งกับกระทรวงกิจการศาสนารวม 280 คน ได้บุกเข้าค้นอารามตอนเวลา 23 นาฬิกา ขับไล่ภิกษุสงฆ์รวม 20 รูป และเด็กวัดรวม 32 คนออกจากพื้นที่อาราม[3] การบุกค้นครั้งนี้ถูกวิจารณ์อย่างหนักว่ากระทำไปด้วยความไม่ปราณี และทำขึ้นในระหว่างที่พระปฐมาจารย์ของอาราม ภิกษุปัญญาวงศ์ อยู่นอกพม่า ขณะนั้นท่านเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่นเพื่อประกอบศาสนกิจ[3] ในวันที่ 18 พฤษภาคม ภิกษุสงฆ์ในอารามทั้งหมดถูกสั่งให้ออกไปจากอารามภายในสิ้นเดือน ภายใต้คำสั่งของคณะกรรมการสังฆมหานายกแห่งรัฐ 47 คน[3]

ภิกษุสงฆ์จำนวนหลายรูปถูกควบคุมตัวหลังการบุกค้น[3] พระสงฆ์รวม 5 รูป ได้แก่ พระอุตตระ (Uttara), ปัญญาจาร (Pannacara), เสนทระ (Sendara), นันทิยะ (Nandiya) และ เตชินทะ (Tejinda) ถูกบังคับอาบัติ และจับกุมด้วยข้อหาฝ่าฝืนกฎข้อบังคับของศาสนาและดูหมิ่นศาสนา ภายใต้มาตรา 295 (a) แห่งประมวลกฎหมายอาญา และ 20/90 ในกฎหมายว่าด้วยองค์การสังฆะ ปี 1990[5][6] ในพระสงฆ์ 5 รูปนี้ มีพระอุตตระเป็นพลเมืองอังกฤษ[7]

รัฐมนตรีกระทรวงกิจการศาสนา Hsan Sint ถูกขับออกจากตำแหน่งด้วยเต้นเซนในวันที่ 19 มิถุนายน 2014 จากการมีส่วนในการบุกค้นอารามและการขัดคำสั่งประธานาธิบดี[8]

ข้อขัดแย้งนี้สิ้นสุดในวันที่ 13/14 ธันวาคม 2015 ศาลแขวงได้ให้คำตัดสินว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูล[9][10][11]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Mahasantisukha Buddhist Missionary Centre". Myanmarnet.net. สืบค้นเมื่อ 17 July 2015.
  2. Aung Kyaw Min (11 June 2015). "On anniversary of raid, monk urges president to intervene". Myanmar Times. สืบค้นเมื่อ 17 July 2015.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Aung Kyaw Min (13 June 2014). "Govt, Sangha committee under fire for night raid". Myanmar Times. สืบค้นเมื่อ 17 July 2015.
  4. Aung Kyaw Min (13 March 2014). "Penang Sayadaw asks president to resolve dispute with Sangha body". Myanmar Times. สืบค้นเมื่อ 17 July 2015.
  5. Aung Kyaw Min (8 July 2015). "Charged monks accuse Sangha authorities of misusing power". Myanmar Times. สืบค้นเมื่อ 17 July 2015.
  6. Ye Mon (30 June 2014). "Prisoner committee to consider lobbying for release of monks". Myanmar Times. สืบค้นเมื่อ 17 July 2015.
  7. Aung Kyaw Min (13 May 2015). "London Sayadaw rejects Sangha committee charges". Myanmar Times. สืบค้นเมื่อ 17 July 2015.
  8. Htoo Thant (11 July 2014). "MPs agree to strengthen corruption commission". Myanmar Times. สืบค้นเมื่อ 17 July 2015.
  9. "Five Monks Cleared of Insulting Religion in Long-Running Mahasantisukha Monastery Case". Irrawaddy.com. 11 December 2015. สืบค้นเมื่อ 11 October 2017.
  10. "Mahasantisukha monks acquitted of defamation". Dvb.no. 11 December 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-13. สืบค้นเมื่อ 11 October 2017.
  11. "London Sayadaw case dismissed". Mmtimes.com. สืบค้นเมื่อ 11 October 2017.