ศิวสมารัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฉัตรปตี ศิวาจี มหาราช สมารัก
ภาพเรนเดอร์ของโครงการ
แผนที่
พิกัด18°55′39″N 72°47′28″E / 18.9274°N 72.7910°E / 18.9274; 72.7910
ที่ตั้งทะเลอาหรับนอกชายฝั่งมุมไบ ประเทศอินเดีย
ผู้ออกแบบราม วี. สุตาร์
ประเภทรูปปั้น
วัสดุโครงเหล็กกล้า, คอนกรีตเสริมเหล็ก
ความสูง212 เมตร (696 ฟุต) ความสูงรวมฐาน[1][2]
เริ่มก่อสร้าง24 ธันวาคม 2016; 7 ปีก่อน (2016-12-24)
การเปิด2021 (ตามแผน)
อุทิศแด่ฉัตรปตี ศิวาจี มหาราช
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ

ฉัตรปตี ศิวาจี มหาราช สมารัก หรือเรียกโดยสั้นว่า ศิวสมารัก (มราฐี: शिव स्मारक; Shiv Smarak) เป็นโครงการก่อสร้างอนุสรณ์สถานระลึกถึงฉัตรปตี ศิวาจี มหาราช กษัตริย์นักรบและผู้ก่อตั้งจักรวรรดิมราฐา โดยจะก่อสร้างในทะเลอาหรับนอกชายฝั่งมุมไบ รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย[3] โดยรูปปั้นจะหันหน้าเข้ายังชายฝั่งคีรคาวมจาวปตี ห่างไปราว 1.5 km บนเกาะที่ถมขึ้นจากหิน[4] รูปปั้นจะมีความสูง 210 m (690 ft) รวมจากฐานถึงปลายยอดของดาบ โดยฐานสูง 88.8 m (291 ft)[5][6][7][8] แรกเริ่มวางแผนก่อสร้างรูปปั้นอยู่ที่ความสูง 192 เมตร และต่อมาเพิ่มเป็น 212 เนื่องจากรัฐบาลต้องการเพิ่มความสูงไว้แข่ขันเป็นรูปปั้นที่สูงที่สุดในโลกกับพระพุทธรูปจงหยวนต้าฝูในประเทศจีน[9] พื้นที่ของอนุสรณ์สถานตามแผนอยู่ที่ 130,000 ตารางเมตร (1,400,000 ตารางฟุต) และคาดการณ์ว่าจะเสร็จในปี 2021 ด้วยมูลค่าก่อสร้างประมาณอยู่ที่ 3,826 โคร (16.3 หมื่นล้านบาท)

แผนโดยรวมของโครงการยังประกอบด้วยอาคารศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยว, สวนอนุสรณ์, สวนอาหาร และศูนย์ประชุมที่สามารถจุปริมาณได้ 10,000 คน[10] นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์, หอศิลป์, ศูนย์จัดแสดงนิทรรศการ, แอมฟิเทียรเตอร์, ลานจอดเฮลิคอปเตอร์, แบบจำลองป้อมของศิวาจี ไปจนถึงโรงพยาบาล

สถานะ[แก้]

นายกรัฐมนตรีนเรนทระ โมที เดินทางไปทำพิธี "ชลปูชัน" (ชลบูชา) เพื่อขอพรจากเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในทะเลให้คุ้มครองบริเวณพื้นที่ที่วางแผนจะสร้างโครงการ พิธีจัดขึ้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2016

น้ำจากแม่น้ำหลายสายในรัฐและดินจากป้อมต่าง ๆ ของจักรพรรดิศิวาจีถูกรวบรวมโดยอาสาสมัครเพื่อนำมาประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 24 ธันวาคม 2016 โดยนายกรัฐมนตรี นเรนทระ โมที[11][12]

และมีบริษัท Egis in India เป็นที่ปรึกษาการบริหารโครงการ[13] บริษัท Egis in India เป็นบริษัทลูกสาขาอินเดียของเครือ Egis group จากฝรั่งเศส[14]

โครงการได้รับการต่อต้านและคัดค้านโดยชุมชนชาวประมงชาวโกลีซึ่งเชื่อว่าโครงการก่อสร้างจะมีผลกระทบและทำลายวิถีชีวิตของตน[15] ในขณะที่ประธานใหญ่ของมหาราษฏระ นวนิรมาณ เสนา ราช ตัจเกราย แย้งว่างบประมาณนี้ควรนำไปใช้พัฒนาและทำนุบำรุงป้อมปราการต่าง ๆ ทั่วรัฐมหาราษฏระที่จักรพรรดิศิวาจีสร้างไว้จะเป็นการเหมาะสมกว่า[16]

แผนเริ่มแรกตั้งใจจะใช้หินในการถมเกาะจากหินที่ได้จากการเจาะอุโมงค์รถไฟใต้ดินมุมไบสายสาม อย่างไรก็ตาม โครงการถูกเลื่อนออกไปนานและหินเหล่านี้ได้ถูกนำไปใช้งานอย่างอื่นแทนแล้ว[17]

ดูเพิ่ม[แก้]

โครงการก่อสร้างรูปปั้นขนาดใหญ่ที่อื่น ๆ ในประเทศอินเดีย

อ้างอิง[แก้]

  1. "Cost cutting: For Chattrapati Shivaji Maharaj memorial, Maharashtra makes sculpture shorter, sword taller". The Indian Express (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-07-16. สืบค้นเมื่อ 2018-10-24.[ลิงก์เสีย]
  2. "Fadnavis govt retains Chattrapati Shivaji Maharaj's statue as world's tallest, increases height after China's Buddha statue competes". India Today (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 6 September 2018.[ลิงก์เสีย]
  3. "Shivaji Memorial located in the Arabian Sea: Statue to tower on green foundation". The Indian Express. 2016-12-24. สืบค้นเมื่อ 2017-01-11.[ลิงก์เสีย]
  4. "Chhatrapati Shivaji Maharaj statue: India is about to spend over $50000 million on a statue in the middle of the Arabian sea". Qz.com. 2016-12-23. สืบค้นเมื่อ 2017-01-11.
  5. Safi, Michael (2018-09-14). "India to break record for world's largest statue ... twice". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2020-06-02.
  6. "Cost cutting: For Shivaji memorial, Maharashtra makes sculpture shorter, sword taller". The Indian Express. 16 July 2018. สืบค้นเมื่อ 24 October 2018.
  7. India, Press Trust of (7 March 2018). "Maha govt reduced Shivaji maharaj statue height to 126 metres: Chavan". Business Standard India. สืบค้นเมื่อ 6 September 2018.
  8. Safi, Michael (14 September 2018). "India to break record for world's largest statue … twice". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 14 September 2018.
  9. "ShivSmarak: Maharashtra government wants to increase the height of the memorial". Mumbai Mirror. Press Trust of India. 25 November 2017. สืบค้นเมื่อ 4 November 2018.
  10. "Shiv Smarak in Mumbai: PM Narendra Modi to perform bhoomi pooja for Shivaji maharaj statue tomorrow". The Economic Times. 2016-12-23. สืบค้นเมื่อ 2017-01-11.
  11. Dr Uday S Kulkarni (2016-12-24). "A memorial in the sea | Latest News & Updates at Daily News & Analysis". Dnaindia.com. สืบค้นเมื่อ 2017-01-11.
  12. "Narendra Modi performs 'bhoomipujan' of Chhatrapati Shivaji Maharaj statue". M.economictimes.com. 2016-12-24. สืบค้นเมื่อ 2017-01-11.[ลิงก์เสีย]
  13. "EGIS India to help plan Shivaji maharaj memorial". Hindustan Times. 2016-02-25. สืบค้นเมื่อ 2016-12-24.
  14. "Our Management". Egis group. 2015-04-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-24. สืบค้นเมื่อ 2016-12-24.
  15. Nachiket Tekawade (2016-12-25). "Ahead of PM's visit, fisherfolk protest". thehindu.com. สืบค้นเมื่อ 2017-01-11.
  16. "Ahead of PM's visit, fisherfolk detained". The Hindu. 25 December 2016. สืบค้นเมื่อ 15 November 2018.
  17. Chacko, Benita (1 April 2017). "Shivaji maharaj memorial: Mumbai Metro 3 rubble unlikely to be used". The Indian Express. สืบค้นเมื่อ 17 September 2018.