วิชญ วัฒนศัพท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิชญ วัฒนศัพท์
เกิดจังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย[1]
อาชีพนักดนตรี, นักแต่งเพลง, โปรดิวเซอร์เพลง และ นักประพันธ์ดนตรีประกอบภาพยนตร์
ค่ายเพลงหัวลำโพงริดดิม
อดีตสมาชิกทีโบน
ละอองฟอง

วิชญ วัฒนศัพท์ (ชื่อเล่น: โหน่ง) เป็นนักดนตรี, นักแต่งเพลง, โปรดิวเซอร์เพลง ,Music Director และ นักประพันธ์ดนตรีประกอบภาพยนตร์ชาวไทย ซึ่งเป็นที่รู้จักจากการประพันธ์ดนตรีประกอบภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ ผ่านหัวลำโพงริดดิม ซึ่งเป็นค่ายเพลงที่เขาร่วมก่อตั้งและเป็นเจ้าของ

ประวัติ[แก้]

วิชญ เกิดที่จังหวัดขอนแก่น[1] เติบโตในครอบครัวที่เล่นดนตรี (ทั้งพ่อ และพี่ชายของเขา)[2]

วิชญ จบการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง[3] ในช่วงที่ศึกษาที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เขามีโอกาสได้ประพันธ์ดนตรีประกอบให้กับละครเวที นิทานวิทยุของมูลนิธิยุวพัฒน์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการประพันธ์ดนตรีประกอบของเขา[2]

อาชีพ[แก้]

วิชญ เคยเป็นสมาชิกของวงดนตรีทีโบน[3] ในตำแหน่งมือคีย์บอร์ด[4] และเคยเป็นสมาชิกของวงดนตรีละอองฟอง[3] (เฉพาะอัลบั้มแรก)[5]

ในปี พ.ศ. 2542 วิชญ ได้ร่วมกับ นครินทร์ ธีระภินันท์ (กอล์ฟ) ก่อตั้งค่ายเพลงอิสระที่มีชื่อว่า หัวลำโพงริดดิม[2] ต่อมาเขาได้ทำโปรเจกต์ของตัวเองในชื่อ The Photo Sticker Machine[2][5]

วิชญ ได้ประพันธ์ดนตรีประกอบภาพยนตร์เรื่องแรก คือ คนจร ฯลฯ[2][5] ซึ่งกำกับโดย อรรถพร ไทยหิรัญ[6] หลังจากนั้น เขาประพันธ์ดนตรีประกอบให้กับภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ เช่น กุมภาพันธ์, บุปผาราตรี, บุปผาราตรี เฟส 2, กระสือวาเลนไทน์ และ สายล่อฟ้า ซึ่งกำกับโดย ยุทธเลิศ สิปปภาค[5] เรื่องรัก น้อยนิด มหาศาล, คำพิพากษาของมหาสมุทร, พลอย และ ฝนตกขึ้นฟ้า ซึ่งกำกับโดย เป็นเอก รัตนเรือง[5] รวมถึงภาพยนตร์หลาย ๆ เรื่องของ จีทีเอช และ จีดีเอช[5][1] ตั้งแต่เรื่อง เพื่อนสนิท, Season Change, Suck Seed, Bad Genius, One for the Road, บุพเพสันนิวาส ๒ เป็นต้น นอกจากนี้ วิชญยังได้ประพันธ์ดนตรีประกอบละครชุด เช่น Hormone The Series 3, SOS - Side by Side, SOS Shoot Iove you, Bad Genius The Series, เคว้ง[1] และ แปลรักฉันด้วยใจเธอ[7] เป็นต้น

วิชญ ยังเป็นโปรดิวเซอร์เพลงให้ศิลปิน เช่น ศิลปินในค่ายหัวลำโพงริดดิม ,กฤษดา สุโกศล แคลปป์[8] และวิโอเลต วอเทียร์[9] เป็นต้น

เป็น Music Director ให้กับคอนเสิร์ท เช่น Palmy กากากา , Bird Thongchai - Singing Bird I และ II เป็นต้น

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "แมวค้นฅน TPSM". www.thisiscat.com. สืบค้นเมื่อ 15 Aug 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 พัฒนา ค้าขาย (12 Sep 2020). "โหน่ง–หัวลำโพงริดดิม คนทำดนตรีประกอบหนังที่เชื่อว่าถ้าสกอร์ดี คนดูต้องไม่ได้ยิน". a day magazine. สืบค้นเมื่อ 15 Aug 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 3.2 "แมวค้นฅน - โหน่ง TPSM (02.07.2020)". www.thisiscat.com. 2 Jul 2020. สืบค้นเมื่อ 15 Aug 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. ยอดมนุษย์..คนธรรมดา (22 Jul 2021). "25 ปีบนถนนเสียงเพลงของ โป้-ปิยะ ศาสตรวาหา กับก้าวต่อไปของวงดนตรีรุ่นลุง Yokee Playboy". The Cloud. สืบค้นเมื่อ 16 Aug 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 Montipa Virojpan (1 Feb 2017). "เคล็ดลับความสำเร็จของ โหน่ง The Photo Sticker Machine". Fungjaizine. สืบค้นเมื่อ 15 Aug 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. อธิพันธ์ สิมมาคำ (27 Jul 2022). "อรรถพร ไทยหิรัญ "คนจร ฯลฯ" ที่มาก่อนกาล". www.fapot.or.th. สืบค้นเมื่อ 15 Aug 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. Nadao Bangkok (21 Nov 2020). "ขอบคุณ Original Music Score ประกอบซีรีส์ จาก คุณโหน่ง วิชญ วัฒนศัพท์ Hualampong Riddim ที่ช่วยเสริมอารมณ์ให้ซีรีส์ออกมาสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นนะคะ". Twitter. สืบค้นเมื่อ 16 Aug 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "'น้อย วงพรู'เปลี่ยนโหมด ปล่อยเพลงผ่อนคลาย'เล็กน้อยมหาศาล'". naewna.com. 5 Apr 2019. สืบค้นเมื่อ 16 Aug 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "วิโอเลต วอเทียร์ เปิดตัวอัลบั้มเดี่ยวครั้งแรกในชีวิต Glitter and Smoke อัลบั้มเพลงสากลที่เก็บโมเม้นท์ความทรงจำทุกมุมของเธอ | HITZ 955". teroradio.com. สืบค้นเมื่อ 16 Aug 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]