วิกิพีเดีย:ศาลาชุมชน/อภิปราย/ร่างนโยบายสิ่งที่มีชื่อเสียง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นโยบายส่วนหนึ่งจะอยู่ที่ วิกิพีเดีย:เงื่อนไขในการนับว่าเป็นสารานุกรม (พูดคุย) และ วิกิพีเดีย:บุคคลที่มีชื่อเสียง (พูดคุย)

ส่วนอภิปราย

ขอร่วมกันร่างนโยบายของสิ่งที่มีชื่อเสียงเพื่อจำกัดบทความที่ไม่จำเป็นด้วยครับ อันประกอบด้วย

  • สถานที่ในท้องถิ่น (โรงเรียน ทางรถไฟ ฯลฯ)
  • หนังสือ สิ่งตีพิมพ์
  • รายการโทรทัศน์ สถานีโทรทัศน์
  • นามสกุลพระราชทาน บุคคลที่ได้รับนามสกุลพระราชทาน (บางท่านไม่มีผลงาน จึงไม่ทราบว่ามีความสำคัญอย่างไร)
  • ฯลฯ ครับ --Horus 21:56, 3 มิถุนายน 2552 (ICT)
มาเพิ่มเติมลิงก์ด้านบนครับ นโยบายเหล่านั้นก็ค่อนข้างเก่า น่าจะปรับแก้ให้ทันสมัย และก็ชื่อนโยบาย "เงื่อนไขในการนับว่าเป็นสารานุกรม" ก็ประหลาดๆ เหมือนกัน (ผมตั้งเองตอนนั้นคิดไม่ออก) นอกจากนี้โครงการย่อยอื่นๆ ก็เห็นว่ามีทำเรื่องนี้บ้าง แต่ก็กระจัดกระจายกัน อย่างเช่น วิกิพีเดีย:ความโดดเด่นของบทความ (ดนตรี) --Manop | พูดคุย - (irc) 23:57, 3 มิถุนายน 2552 (ICT)
ขออนุญาตเขียนออกความเห็นเรียงตามคุณฮอรัสครับ
  • สถานที่ในท้องถิ่น ควรเป็นสถานที่/บริษัท/องค์กร ที่เป็นที่รู้จักหรือมีชื่อเสียงระดับประเทศ/โลก หรือเคยมีชื่อเสียงในลักษณะดังกล่าว
    • หากสามารถมีเนื้อหาสาระได้มากพอสมควร และเข้าข่ายเป็นที่สาธารณะ หรือไม่ใช่สถานที่ส่วนบุคคล เช่น เป็นหน่วยงาน, เป็นบริษัท ก็อาจอนุโลมให้สถานที่ที่เคยตกเป็นข่าวดังได้อีกด้วย (เช่น สวนชูวิทย์?)
    • เท่าที่สังเกต พวกไม่ได้ล็อกอินหลายรายทีเดียวที่ให้ความสำคัญกับโรงเรียน หรือสถาบันการศึกษา ที่ตนเรียนอยู่ หรือเคยเรียนมา (หรืออาจจะถึงกับเป็นครูอาจารย์โรงเรียนนั้น!?) สำหรับโรงเรียนต่างๆอาจถือว่าอนุโลมให้มีได้ หากพิสูจน์ได้ว่ามีอยู่จริง มีความสำคัญกับท้องถิ่นนั้น มีเนื้อหา ประวัติ ยาวพอสมควร มีครูอาจารย์และผู้เรียน ไม่น้อยจนเกินไป ฯลฯ กรณีเขียนมาสั้นมากเช่นมีแต่ชื่อโรงเรียน มีแต่ที่ตั้งของโรงเรียน มีเพียงจำนวนครูนักเรียน มีแต่หลักสูตรการศึกษา ป.อะไร ม.อะไร (อันหลังนี้อาจไม่ใช่เรื่องยากที่จะเดาด้วยซ้ำไป) ฯลฯ ก็คิดว่าควรถูกลบออกครับ
  • ควรเป็นหนังสือที่ดังระดับโลก(เช่นมีบทความในวิกิพีเดียอังกฤษ)ครับ ตัวหนังสือเล่มนั้นเองจะบรรยายสรรพคุณของมันเองอยู่แล้ว ส่วนสิ่งตีพิมพ์ ควรเป็นสิ่งตีพิมพ์ระดับประเทศ(ไทย) ระดับประเทศของประเทศอื่น(เช่นมีในวิกิพีเดียอังกฤษ) หรือสิ่งตีพิมพ์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก
  • รายการทีวี ควรใช้เฉพาะรายการที่มีชื่อเสียงมากจริง ออกอากาศทั่วไทย ผ่านฟรีทีวี (3/5/7/9/11/NBT/ITV/TPBS) หรือทั่วโลก
    • รายการที่ดูได้เฉพาะในประเทศไทยและเป็นของช่องในยูบีซีหรือเคเบิลทีวี โดยทั่วไปผมก็คิดว่าไม่น่าจะมีบทความ (ยกเว้นรายการที่เป็นที่กล่าวถึงอย่างมาก หรือเคยเป็นที่กล่าวถึงอย่างมากจริง)
    • รายการที่มีชื่อเสียงของต่างประเทศ เช่น ท็อปเกียร์, ฟิฟต์เกียร์ อาจพิจารณาจากเนื้อหาบทความ ความโด่งดังระดับโลก การมีบทความในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ฯลฯ
    • และควรเป็นรายการที่ออกฉายทีวีต่อเนื่องพอสมควร รายการแบบไม่ถึงปีก็เลิก อาจจะขาดความสำคัญ รายการที่ฉายสั้นมากในแต่ละตอน เช่นไม่ถึงครึ่งชั่วโมง อาจขาดความสำคัญเช่นกัน กรณีรายการเพลงของค่ายเพลง รายการวัยรุ่น อาจจะต้องถือเกณฑ์ที่ยาวนานกว่านั้น เช่นมีติดต่อกันนานเกินหนึ่งปี มีชื่อเสียงในระดับสูง ฯลฯ (แต่ก็ไม่รู้ว่า จะเอาอะไรมาวัด อาจจะเป็นรางวัลที่ได้รับ ความโดดเด่นของรายการ หรืออื่นๆ)
  • นามสกุล อันนี้เห็นด้วยกับคุณฮอรัส และบางนามสกุล ไม่ใช่นามสกุลพระราชทาน (หรืออาจจะเป็นนามสกุลชาวต่างชาติ/ชื่อชาวต่างชาติ ที่มีใช้ซ้ำกันเยอะพอสมควรหรือเยอะมาก หรือมีหลายความหมายเช่นมีการใช้ชื่อนั้นเป็นชื่อของอย่างอื่นด้วย (ขยายความเช่น มีเมืองในประเทศอื่น ที่ใช้ชื่อ Obama ด้วย อย่างนี้เป็นต้น) ดังที่มีบทความหรือหน้าแก้กำกวมในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ) แต่ก็มีผลงานหรือความสำคัญระดับประเทศหรือระดับโลก หรือเป็นนามสกุล/ชื่อ ที่ซ้ำกันมาก เช่น สมชาย เป็นต้น อันนี้คิดว่าควรมีหน้าแก้กำกวมได้(แก้กำกวมกับเฉพาะคนดังระดับประเทศและระดับโลก)
  • ชื่อนโยบายที่คุณมานพว่ามานั้น ผมคิดว่าน่าจะเป็นชื่อที่สื่อความหมายได้ตรงกับนโยบายดีแล้ว เพียงแต่อาจจะชื่อยาวไปหน่อยเท่านั้นครับ การเปลี่ยนชื่อนโยบายนี้ผมคิดว่าคงไม่จำเป็นครับ

--lovekrittaya (พูดคุย) 02:32, 4 มิถุนายน 2552 (ICT)

ขอแทรกนะครับ บทความคนดังเนี่ย คนที่พยายามร่างบทความไม่ได้เขียน และคนเขียนบทความไม่เคยร่างบทความ แค่เขียน ๆ ไปตามใจฉัน ก็เท่านั้นแหละ แต่ผมคิดว่า เงื่อนไขพื้นฐานที่สุดก็น่าจะเป็น
  1. มีแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้อย่างยิ่ง โดยไม่นับเว็บไซด์ที่บุคคลดังกล่าวสังกัดอยู่ หรือทึกทักความเห็นส่วนตัวว่าดัง หรืออ้างอิงแบบนี้หน่ะครับ
  2. มีความสำคัญ มีอิทธิพลต่อสังคม และอิทธิพลดังกล่าว ต้องมีแหล่งอ้างอิงที่รองรับได้เช่นกัน
  3. กรณีบุคคลที่มีความสำคัญเฉพาะกาล เช่น บุคคลที่เสียชีวิตในระหว่างช่วงวิกฤตสังคม เช่น บุคคลที่ฆ่าตัวตายเพื่อการประท้วงทาการเมือง ให้ถือว่า เป็นส่วนหนึ่งของวิกฤตดังกล่าว และมีการกล่าวถึงในบทความของเหตุการณ์ เว้นแต่ว่า บุคคลดังกล่าวจะทวีความสำคัญขึ้นมาเรื่อย ๆ จนสามารถแยกเป็นเอกเทศจากเหตุการณ์ได้
# บุคคลสำคัญทางวิชาการ ควรจะพิจารณาต่างหากจากดารา นักร้อง คนเด่นคนดัง
--ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 06:18, 4 มิถุนายน 2552 (ICT)
  • เพื่อจะพิจารณาให้ง่ายขึ้นของแบ่งออกเป็น 2 นัยครับ นัยแรกคือว่า บทความนั้นกล่างถึงบุคคล หรือกล่าวถึงสิ่งที่ไม่ใช่บุคคล และ นัยที่สองคือ สิ่งนั้นยังดำรงอยู่ (มีชีวิตอยู่) หรือ สิ้นสุดไปแล้ว (เสียชีวิตไปแล้ว)
    • กรณีแรกที่น่าจะพิจารณาง่ายที่สุดคือ ไม่ใช่บุคคลและสิ้นสุดไปแล้ว ก็พิจารณาเพียงว่าการกล่าวถึง สิ่งดังกล่าวจะมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เพียงใด และถ้าสิ่งที่กล่าวถึงนั้นมีเรื่องที่สืบต่อถึงปัจจุบัน จะนำมารวมกับบทความที่กล่างถึงเรื่องปัจจุบันได้หรือไม่
    • กรณีที่ไม่ใช่บุคคลและยังมีอยู่ในปัจจุบัน ควรพิจารณาถึงผลกระทบที่มีต่อสังคมในปัจจุบัน เช่น จำนวนคนที่รู้จักหรือเกี่ยวข้องกับสิ่งดังกล่าว ถ้าคิดจากฐานคนที่เข้าใจภาษาไทยได้ประมาณว่ามี 100 ล้านคน เป็นกลุ่มคนที่สามารถอ่านวิกิพีเดียไทยเข้าใจ เราก็อาจนับว่า ควรจะมีอย่างน้อย 0.01% (หนึ่งในหมื่นคน) ที่รับรู้หรือได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งคำนวณออกมาแล้วก็ได้ประมาณ 10,000 คนพอดี ก็เป็นตัวเลขโดยประมาณ เพราะทุกเรื่องเราไม่อาจไปวัดกะเกณฑ์ได้ว่ามีคนเกี่ยวข้องเท่าไหร่ แต่เรื่องที่มีตัวเลขเกี่ยวข้องอยู่แล้วก็ใช้เกณฑ์นี้ได้ทีเดียว เช่น โครงการอะไรต่อมิอะไรของรัฐหรือเอกชน ถ้ามีผลกระทบระดับนี้ก็สามารถมีคุณค่าเป็นบทความได้
    • บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ อันนี้ยากเพราะว่า กระแสอาจขึ้นๆ ลงๆ นอกจากหลักเกณฑ์ที่แต่ละท่านเสนอกันมาแล้ว รวมกับหลักเกณฑ์ที่มีอยู่ รวมกับถามว่ามีคนนับหมื่นรู้จัก (หรือเคยรู้จัก) เขาไหม ผมคิดว่าอยากให้ผู้ที่อยู่สถานีย่อยหรือโครงการวิกิพีเดียต่างๆ ที่เกี่ยวข้อวมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในกรณีที่ก่ำกึ่ง เพราะอาจเป็นเรื่องเฉพาะทาง
    • บุคคลที่เสียชีวิตไปแล้ว นอกจากข้างต้นที่กล่าวมา หากตัดสินใจไม่ได้เปิดโหวตทั่วไปยึดเสียงข้างมากก็น่าจะจบครับ

จึงเสนอมาเพื่อพิจารณาครับ ผมมองว่าหลักเกณฑ์อย่างเดียวแก้ปัญหาไม่ได้ ปรับปรุงหลักเกณฑ์แล้วก็ต้องเตรียมแนวปฏิบัติกรณีมีข้อสงสัยว่าบทความดังกล่าวสำคัญหรือไม่ จะได้ทำให้สอดคล้องกันและเป็นที่ยอมรับไปเลย --taweethaも 07:05, 4 มิถุนายน 2552 (ICT)

ขออนุุญาตเข้ามาเขียนเพิ่มครับ กรณี อคาเดมีแฟนเทเชีย หรือ เดอะสตาร์ ที่มีผู้ชมและเชียร์กันอย่างมากพอสมควรในประเทศไทย (อาจดูได้จากการเขียนบทความของคนที่ไม่ล็อกอินที่ผ่านๆมา มีมากเหลือเกิน ทั้งจำนวนบทความและจำนวนการแก้ไข (เมื่อเทียบกันแล้วเรื่องวิชาการกลับไม่ค่อยจะมี)) น่าจะเหลือสองทางเลือกคือ อาจอนุโลมให้มีได้(เพราะดูเหมือนว่าจะดังโดยอัตโนมัติอยู่แล้วโดยเฉพาะคนที่เข้ารอบลึก) หรือ เอาเฉพาะคนที่ได้ต่อยอดเป็นนักร้องหรือดาราดัง ที่มีความดังพอสมควร(ถึงเคยดังมาก) และมีผลงานมากพอสมควร ฯลฯ ให้มีบทความได้ แล้วคนที่ไม่ดังพอ ผลงานน้อย มีผลงานเล็กน้อยแล้วหายไปจากวงการ หรือดังเฉพาะตอนแข่ง แข่งเสร็จก็เงียบหายไป หรือไม่เข้าวงการ ฯลฯ (คงจะมีน้อยคน) ให้เอาออก ไม่ให้มีบทความ และไม่ให้มีการทำลิงก์ให้ด้วย เพราะคนชอบกดลิงก์แดงเข้ามาเขียน (ทั้งในบทความและแม่แบบกล่องรวบรวมรายชื่อ) (ผมเลือกอย่างหลังครับ คือเอาเฉพาะคนที่มีความเทพในวงการนี้จริงๆ เป็นดาราแล้วจริง เป็นต้น และเชื่อว่าหลายท่านคงจะเลือกอย่างหลังเช่นกัน กรณีอดีตผู้เข้าแข่งขันจะไปดังมาก ระดับประเทศหรือระดับโลก ในทางอื่น (เช่น ทางการเมืองการปกครอง เป็นต้น) ในอนาคต ก็เป็นเรื่องของอนาคต เอาไว้พิจารณาทีหลังได้ เช่น กลับมามีข้อมูลและมีลิงก์ให้เช่นเดิมได้ในภายหลังเมื่อมีหลักฐานว่าเป็นคนเดียวกันที่ไปดังในทางอื่น เป็นต้น) สำหรับคนที่ไม่มีล็อกอิน สามารถเข้ามาถกกันได้ครับ (แต่การที่ผู้ไม่ได้ล็อกอิน แล้วเข้ามาออกความเห็นบางท่าน (ขอย้ำว่าบางท่าน หรืออาจจะไม่มีสักท่านก็เป็นได้นะครับ) จะถูกมองว่า เป็นเพียงบุคคลที่บ้าดารานักร้องหรือไม่ อันนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ) สุดท้ายนี้ก็ขออภัย หากการออกความเห็นของผมอาจจะทำให้มีผู้อ่านหรือชาววิกิพีเดียท่านอื่นนำไปแตกประเด็น ก็ขออภัยเช่นกันครับ --lovekrittaya<พูดคุย 15:27, 4 มิถุนายน 2552 (ICT)
ที่คุณทวีธรรมเขียนมานั้นผมเห็นด้วย แต่กรณีที่เป็นดารา นักแสดงหรือนักร้อง ของไทยในปัจจุบัน นั้น ผมคิดว่าขั้นต่ำ 0.01 % หรือหนึ่งหมื่นคน นั้นน้อยเกินไป ควรจะเพิ่มความเป็นที่รู้จัก เป็นขั้นต่ำหนึ่งเปอร์เซนต์ หรือประมาณหนึ่งล้านคนครับ แต่สำหรับดารา นักแสดง นักร้อง พิธีกร ชาวต่างชาติ บริษัทต่างชาติ อาจจะใช้เกณฑ์ 0.01% กับคนไทยไม่ได้ เช่น น้อยคนที่จะรู้จัก en:Anhui Jianghuai Automobile เป็นต้น จึงต้องใช้เกณฑ์อื่นๆแทน (อันในตัวอย่างนี้ แม้ในต่างแดนก็มีน้อยคนที่รู้จัก แต่ก็ผ่านเกณฑ์ วกพด.อังกฤษ เพราะเป็นผู้ผลิตรถรายใหญ่รายหนึ่ง แม้ว่าจะไม่ได้ออกแบบเองร้อยเปอร์เซนต์ก็ตาม สรุปคือน่าจะมีความสำคัญแต่เพียงในเชิงปริมาณเท่านั้น) --lovekrittaya<พูดคุย 15:35, 4 มิถุนายน 2552 (ICT)
เพิ่มนัยที่สามครับ... ว่าสิ่งกล่าวถึงนั้นอยู่ในประเทศไทยหรือไม่ ถ้าอยู่ในประเทศไทยคงต้องใช้เงื่อนไขอย่างที่หลายท่านกล่าวมาแล้วข้างต้น ถ้ามีอยู่ทั่วไปหรือมีอยู่ในต่างประเทศ การทดสอบอย่างง่ายคือดูว่ามีบทความนั้นในวิกิพีเดียภาษาอื่นหรือไม่ --taweethaも 20:31, 4 มิถุนายน 2552 (ICT)
เห็นมีผู้เสนอกันมามาก ขอเสนอหลักเกณฑ์โดยรวมครับ คือ อยากให้มีกำหนดความยาวขั้นต่ำของบทความ และต้องมีแหล่งอ้างอิงอย่างน้อยที่สุดหนึ่งแหล่ง เพราะว่าบทความนั้นจะไม่ถือว่ามีชื่อเสียง ถ้าหากยังไม่มีการกล่าวถึงในวงกว้าง --Horus 18:21, 4 มิถุนายน 2552 (ICT)
ผมคิดว่าความยาวขั้นต่ำไม่ค่อยสำคัญครับ ถ้าเนื้อหาดี ไม่กี่ประโยคกับรูปหรือตารางก็สื่อความหมายได้มาก และบางเรื่องก็อาจพอปล่อยไว้โดยที่ยังไม่มีอ้างอิงได้ โดยอนุโลมลิงค์ข้ามภาษาไปก่อน คิดว่าปัญหาที่คุณ Horus อาจไม่ใช่ว่าสั้นมากอย่างเดียว แต่สั้นและไม่มีคุณภาพ กล่าวคือ ถ้าจะตัดให้เหลือประโยคที่มีใจความสำคัญ จะไม่เหลืออะไรเลย คือความยาวเป็นศูนย์ ทางออกผมคิดว่าถ้าก้ำกึ่งให้ใช้ความเห็นหลายๆ คน ช่วยกันพิจารณา เช่นว่าแจ้งลบไป แล้วรออีกท่านมาเช็คแล้วลบให้ หรือบอกว่าจะลบใน 7 วันถ้าไม่มีการแก้ไข เพราะบางทีท่านที่สองที่มาเห็นอาจเกิดแรงบันดาลใจปรับปรุงบทความขึ้นมาให้มีสาระก็ได้ครับ อย่าง ยามาฮ่า หรือ CBC เป็นบทความที่เคยถูกแจ้งลบ แต่คนมาเห็นเข้าก็รีบปรับปรุงทันทีครับ --taweethaも 20:40, 4 มิถุนายน 2552 (ICT)
มีความเห็นตามเรื่องความยาวนะครับ ตัวอย่างง่ายๆ ถ้าเทียบเรื่องวิทยาศาสตร์ความยาวสองบรรทัด กับเรื่องคนที่อยากเป็นดาราห้าสิบบรรทัด จำนวนความยาวก็ช่วยอะไรไม่ได้ บางครั้งเห็นหลายคนหงุดหงิดเรื่องบทความสั้น (แต่ไม่อยากร่วมแก้ไข) ซึ่งผมว่าบทความสั้นมีเนื้อหาน้อยหรือมีแต่กล่องข้อมูล ยังมีประโยชน์กว่าการที่ไม่มีอะไรเลย และนอกจากนี้การลบบทความสั้นที่เขียนโดยผู้ใช้ใหม่ยังเป็นการตัดกำลังใจคนเขียนใหม่อีกด้วย ซึ่งการติดป้ายชี้แจงน่าจะเป็นทางออกที่ดีสำหรับบทความสั้น (นอกเรื่องไปหน่อย)
กลับมาเรื่องเงื่อนไข บางครั้งเรื่องในประเทศกับต่างประเทศนี่ จริงๆ ผมอยากแยกพิจารณาเหมือนกัน เพราะบทความจากต่างประเทศหลายเรื่องที่วิชาการเมืองไทยยังตามไม่ทัน ขณะที่ต่างประเทศรู้จักกันมา 10-20 ปีแล้ว มีให้เห็นหลายครั้งมาก โดยถ้าแยกเกณฑ์สำหรับร่างเกณฑ์พิจารณาก็เห็นด้วยตาม 3 นัยของคุณ taweethaも ครับที่เป็น
  • บุคคล / ไม่ใช่บุคคล (อันนี้ไม่แน่ใจว่าจะรวม กลุ่มบุคคล ในส่วนไหน อย่างพวกวงดนตรี หรือ พรรคการเมือง)
  • ยังคงมีอยู่ / ไม่มีแล้ว
  • เกี่ยวกับประเทศไทย / ไม่เกี่ยวกับประเทศไทย
จริงๆ อยากแยกส่วน บันเทิง / ไม่ใช่บันเทิง ออกไปอีกแต่เหมือนจะแยกย่อยเกินไป เหมือนอย่างกรณีของ เดอะสตาร์ ที่คุณ lovekrittaya ว่าไว้ ซึ่งผมว่าในช่วงระยะเวลานั้นๆ คิดว่าคนไทยคงรู้จักขึ้นถึง 40-50% ได้ แต่พอจบการแข่งขันก็ไม่มีข่าวและการโปรโมต คนรู้จักหรือคนจำได้อาจลดลงเหลือน้อยกว่า 0.01% ซึ่งจำนวนคนรู้จักก็หายไปอย่างมาก ขอยกตัวอย่าง เคอิโงะ ละกันครับในกรณีนี้ หรือว่าอย่าง ซูเซิน บอยล์ --Manop | พูดคุย - (irc) 04:36, 5 มิถุนายน 2552 (ICT)
  • ตามนัยของผม กลุ่มบุคคลก็รวมถือเป็นบุคคลครับ แต่พรรคการเมืองไม่ใช่บุคคลเพราะถือเป็นนิติบุคคล ให้ถือตามหลักบุคคลธรรมชาติ (natural person) หรือ นิติบุคคล (juristic person) รวมถึงองค์กรตามพฤตินัยที่กฎหมายไม่ได้รองรับ และดูพฤติการณ์ว่าบทความกล่าวถึงการกระทำขององค์กร สถาบันมากกว่า หรือกล่าวถึงความเป็นตัวบุคคลมากกว่า เช่น เกิดเมื่อไหร่ นิสัยอย่างไร ชอบอะไรไม่ชอบอะไร
  • เรื่องบันเทิง ก็น่าจะให้คนที่รู้เรื่องบันเทิงช่วยกันตัดสินครับ ผมไม่ค่อยบันเทิง จึงไม่ค่อยมีความเห็น แต่ก็ยังสงสัยว่าขอบข่ายบันเทิงจะรวมแค่ไหน จะเอาแค่ดารานักร้อง รายการโทรทัศน์ หรือจะรวมวรรณกรรมไปด้วย... ท่านที่ชอบเขียนบันเทิงทั้งหลาย ผมก็ยินดีที่ท่านสละเวลามาเขียน ถ้าจะกรุณาอีกนิด สละเวลามารวมตั้งเป็นโครงการวิกิบันเทิง แล้วร่างหลักเกณฑ์ภายในไปเลยก็ได้ ก็จะมีมาตรฐานเดียวกันครับ คนนอกวงการบันเทิงอย่างผมคงไม่อาจวิจารณ์ แต่ผมเคยได้ยินคุณ Manop หรือชาววิกิพีเดียท่านอื่น (ขอโทษที่หาหน้านั้นไม่เจอครับ) เคยได้อภิปรายไว้แล้วเล็กน้อยว่า ถ้าดังเป็นกลุ่มและเนื้อหามีไม่มาก ก็เชิญท่านที่ดังเป็นกลุ่มมาอยู่ด้วยกันทั้งกลุ่มในบทความเดียวจะได้อบอุ่น เพราะหากไปตั้งบทความย่อยๆ โดยมีเนื้อหาแต่น้อยนั้นมันจะดูแลลำบากในระยะยาว และท่านเหล่านั้นอาจจะเหงาและอาจโดนป้ายต่างๆ นานามากมาย แต่ทั้งนี้ผมว่าเรียนเชิญท่านที่ชอบเขียนเรื่องบันเทิงมาให้ความเห็นตรงนี้จะเหมาะที่สุดครับ --taweethaも 15:19, 5 มิถุนายน 2552 (ICT)
  • ขอออกความเห็นเรื่องคนมีชื่อเสียง ในส่วนของเรื่องบันเทิงนะครับ คิดว่าถ้าคนดังที่น่าจะผ่านเกณฑ์ตามที่ระบุไว้ในหน้านโยบาย วิกิพีเดีย:บุคคลที่มีชื่อเสียง คือ มีบทบาทและผลงานในภาพยนตร์ ละคร ละครเวที มากกว่าหนึ่งเรื่อง ในบางกรณีที่มีผลงานแสดงเรื่องแรก อย่างในกรณี น้องแพตตี้ ในภาษาอังกฤษที่มีการแจ้งลบในช่วงที่เพิ่งมีผลงานปิดเทอมใหญ่ฯ แต่ก็มีการอภิปรายกันว่า มียอดเสิร์ชชื่อภาษาไทยเป็นหมื่น เป็นนักแสดงบทนำในเรื่อง ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จดี สื่อระดับบิ๊กพูดถึงชื่ออยู่บ่อยครั้ง ก็เป็นอันว่าบทความก็ไม่ถูกลบ ส่วนนักร้อง/ดารา/ มีผลงานการแสดงประปราย บ้าง คิดว่าน่าจะใส่ป้าย {{ใคร}} มากกว่าการแจ้งลบ ส่วนนักร้องพวกรายการเรียลลิตี้ ที่ไม่มีผลงานอัลบั้มของตัวเอง อีกทั้งไม่มีผลงานการแสดง ตย.เช่น น้องกุ๊กไก่ อลิสสา ซิม ลองเสิร์ชกูเกิ้ล พบ 400 hits คิดว่ายังไม่มาก และไม่มีอ้างอิงระบุ ว่าสื่อใดพูดถึง นอกจากเว็บแฟนคลับ เว็บอคาเดมี่เอง ที่พูดถึงตรง ๆ ก็คิดว่าเคสนี้ ก็สมควรแจ้งลบได้ แต่หากผู้เขียนมาข้อมูลมายืนยันว่ามีสื่อพูดถึงเยอะ ที่ใดบ้าง ก็อาจเก็บบทความไว้ และอีกประเภท อย่างพวกนายแบบนางแบบ ตามนิตยสาร หากไม่มีสื่ออื่นที่พูดถึง มีเพียงเว็บไซต์ตัวเองหรือจำพวก portfolio ตัวเอง ก็สมควรที่ลบทิ้ง สรุปแล้วก่อนอื่นดูจากผลงานก่อนว่ามีระบุหรือไม่ สองดูว่ามีสื่อพูดถึงมากน้อยเพียงใด --Sry85 02:10, 7 มิถุนายน 2552 (ICT)
มาช้าไปป่าวคะ เห็นจะสรุปกันแล้ว พอดีนึกขึ้นมาได้ในกรณีของวรรณกรรม เข้าใจว่ายังไม่ได้มีการกำหนดกรอบที่ชัดเจน (หรือมี? แต่เราไม่รู้?) เพราะทุกวันนี้หนังสือออกใหม่วันละเป็น 100 หัว คงไม่ใช่ทุกเล่มที่จะเข้ามาอยู่ในสารานุกรม อย่างน้อยน่าจะเป็นหนังสือที่ได้รับรางวัล หรือ หนังสือที่มีการดัดแปลงไปเป็นสื่ออื่น (แสดงว่ามีความนิยม) หรือ เขียนโดยผู้เขียนระดับที่ได้รับรางวัล หรือ ฯลฯ (กลุ่มนิยายกำลังภายในจะทำยังไงละเนี่ย ไม่มีการประกาศรางวัลในกลุ่มนี้ด้วยสิ :s) ตอนนี้ก็มีเล็งๆ เหล่ๆ อยู่บ้างสำหรับหนังสือบางเล่มที่ไม่น่าจะเข้ามาอยู่ในสารานุกรม แต่เนื่องจากยังไม่มีนโยบายเลยยังไม่ได้ทำอะไร เช่นจำพวกนิยายรักหวานแหวววัยรุ่น ก็ไม่น่าจะจัดอยู่ในสารานุกรมได้ อย่าหาว่ามาโยนงานให้เลยนะคะ ^^" แต่ช่วงนี้งานยุ่งไม่ค่อยเข้ามาช่วยอะไรเลยจริงๆ ดูจากประวัติการเขียนได้ ฝากอภิปรายเรื่องวรรณกรรมกันอีกนิดละกันค่ะ --Tinuviel | พูดคุย 20:41, 17 มิถุนายน 2552 (ICT)
เรื่องวรรณกรรม เห็นควรที่จะเป็นเรื่องที่ได้รับรางวัลน่ะครับ แต่อาจจะรวมเอาหนังสือที่เป็นที่รู้จักมาก เพราะเผื่อในกรณีที่ไม่เคยได้รับรางวัลเช่นกันครับ --Horus 20:49, 17 มิถุนายน 2552 (ICT)
  • มีอีกเรื่องหนึ่งครับ คือ "ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงของสถาบันการศึกษา" ไม่ทราบว่าจะมีแนวทางแก้ไขอย่างไรบ้างครับ --Horus 19:24, 23 มิถุนายน 2552 (ICT)

สรุป

ส่วนล่างนี้เป็นส่วนที่สรุปนโยบายของสิ่งที่มีชื่อเสียงที่ร่างมาแล้ว ให้อภิปรายส่วนด้านบนแทน เพื่อที่จะได้นำลงมาสรุปในส่วนนี้

สิ่งที่มีชื่อเสียง

  • สิ่งสิ้นสุดไปแล้ว ก็พิจารณาเพียงว่าการกล่าวถึง สิ่งดังกล่าวจะมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เพียงใด และถ้าสิ่งที่กล่าวถึงนั้นมีเรื่องที่สืบต่อถึงปัจจุบัน จะนำมารวมกับบทความที่กล่างถึงเรื่องปัจจุบันได้หรือไม่
  • ยังมีอยู่ในปัจจุบัน ควรพิจารณาถึงผลกระทบที่มีต่อสังคมในปัจจุบัน เช่น จำนวนคนที่รู้จักหรือเกี่ยวข้องกับสิ่งดังกล่าว ควรจะมีอย่างน้อย 0.01% ที่รับรู้หรือได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว
  • สิ่งที่ไม่อยู่ในประเทศไทย หรือ สิ่งที่เป็นสากล
    • มีบทความในวิกิพีเดียภาษาอื่นหรือไม่ อย่างน้อย 2 ภาษา
    • เกณฑ์เพิ่มเติม (เกณฑ์อะไร)

สถานที่ในท้องถิ่น

  • เป็นที่รู้จักหรือมีชื่อเสียงระดับประเทศหรือในระดับโลก หรือเคยมีชื่อเสียงในวงกว้าง
  • ที่สาธารณะ ไม่ใช่สถานที่ส่วนบุคคล เช่น เป็นหน่วยงาน เป็นบริษัท ที่มีเนื้อหายาวพอสมควร ก็อาจอนุโลมให้สถานที่ที่เคยตกเป็นข่าวดัง (ความยาวเท่าไหร่)
  • โรงเรียน อาจถือว่าอนุโลมให้มีได้ หากพิสูจน์ได้ว่ามีอยู่จริง มีความสำคัญกับท้องถิ่นนั้น มีเนื้อหา ประวัติ ยาวพอสมควร มีครูอาจารย์และผู้เรียน ไม่น้อยจนเกินไป (ความยาวเท่าไหร่ โครงสร้างของบทความควรจะประกอบด้วยอะไร)

รายการทีวี

  • ควรใช้เฉพาะรายการที่มีชื่อเสียงมาก มีการออกอากาศทั่วไทย หรือทั่วโลก
  • ไม่ควรมีบทความที่เป็นรายการของเคเบิลทีวี ยกเว้นรายการที่เป็นที่กล่าวถึงอย่างมาก หรือเคยเป็นที่กล่าวถึงอย่างมาก
  • รายการที่มีชื่อเสียงของต่างประเทศอาจพิจารณาจากเนื้อหาบทความ ความโด่งดังระดับโลก การมีบทความในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ และปัจจัยอื่น ๆ
  • ควรเป็นรายการที่ออกฉายทีวีต่อเนื่องพอสมควร ไม่ควรจะเป็นรายการที่ออกอากาศระยะสั้น รายการที่มีเวลาออกากาศสั้นมากในแต่ละตอน ส่วนกรณีรายการเพลงของค่ายเพลง รายการวัยรุ่น อาจจะต้องถือเกณฑ์ที่พิเศษ เช่น มีติดต่อกันนานเกินหนึ่งปี มีชื่อเสียงในระดับสูง และปัจจัยอื่น ๆ (ใช้เกณฑ์อะไร)

บุคคลที่มีชื่อเสียง

  • มีแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้อย่างยิ่ง โดยไม่นับเว็บไซด์ที่บุคคลดังกล่าวสังกัดอยู่ หรือความเห็นส่วนตัว
  • มีความสำคัญ มีอิทธิพลต่อสังคม และอิทธิพลดังกล่าว ต้องมีแหล่งอ้างอิงที่รองรับได้
  • กรณีบุคคลที่มีความสำคัญเฉพาะกาล เช่น บุคคลที่เสียชีวิตในระหว่างช่วงวิกฤตสังคม ให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของวิกฤตดังกล่าว และมีการกล่าวถึงในบทความของเหตุการณ์นั้น เว้นแต่ว่า บุคคลดังกล่าวจะทวีความสำคัญขึ้นมาเรื่อย ๆ จนสามารถแยกบทความออกมาได้
  • บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ ให้ผู้ที่เข้าร่วมสถานีย่อยหรือโครงการในวิกิพีเดียช่วยตัดสินใจ
  • ดารา
    • คุณภาพของบทความประเภทดารา (เกณฑ์อะไร)
    • อาจอนุโลมให้มีได้ หรือผู้ที่เป็นนักร้องหรือดาราดังที่มีความมีชื่อเสียงพอสมควร (ขั้นต่ำ 0.01% หรือ 1%) และมีผลงานมากพอสมควร และเกณฑ์อื่น ๆ ให้มีบทความได้
    • ไม่นับรวมคนที่ไม่มีชื่อเสียงพอ มีผลงานเล็กน้อยแล้วหายไปจากวงการ หรือดังเฉพาะตอนแข่งขันรายการบันเทิงที่จัดขึ้น และไม่ให้มีการทำลิงก์แดงไปยังหน้าบทความ เพราะอาจมีการกดลิงก์แดงเข้ามาเขียนของไอพีภายนอก
    • กรณีที่บุคคลผู้นั้นกลับมามีชื่อเสียงหลังจากหายจากวงการไปเป็นระยะเวลาหนึ่ง สามารถพิจารณาในภายหลังได้
    • ควรมีการกล่าวถึงมากกว่าเว็บแฟนคลับ หรือเว็บการแข่งขันรายการบันเทิง และควรจะมียอดการค้นหาในกูเกิลจำนวนหนึ่ง (เท่าไหร่)
  • นิติบุคคล เน้นไปที่การกระทำขององค์กรเป็นหลัก
  • นามสกุลและนามสกุลพระราชทาน
    • อาจจะเป็นนามสกุลหรือชื่อของชาวต่างชาติที่มีใช้ซ้ำกันเยอะจำนวนหนึ่ง หรืออาจมีได้หลายความหมายเช่นมีการใช้ชื่อนั้นเป็นชื่อของอย่างอื่นด้วย (เช่น เป็นชื่อเมือง) แต่ก็ต้องมีผลงานหรือความสำคัญระดับประเทศหรือระดับโลก
    • อาจเป็นนามสกุลหรือชื่อที่ซ้ำกันมาก เช่น สมชาย เป็นต้น อาจมีหน้ากำกวมได้ แต่ต้องเป็นบุคคลที่มีผลงานและมีชื่อเสียงเช่นกัน

การจัดการกับบทความที่ไม่ผ่านนโยบายสิ่งที่มีชื่อเสียง

  • ติดป้าย {{ใคร}} สำหรับบุคคลที่ไม่ผ่านเกณฑ์นโยบายสิ่งที่มีชื่อเสียง รอให้มีผู้ใช้เข้ามาแก้ไขภายใน 7 วันก่อนการลบ