วิกิพีเดีย:วิกิพีเดียไม่ดีอย่างไร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไม่มีสิ่งใดที่สมบูรณ์แบบ วิกิพีเดียก็ไม่มีข้อยกเว้น หน้านี้เป็นการแจกแจงความคิดเห็นของผู้ใช้ว่าวิกิพีเดียไม่ดีอย่างไร โดยส่วนใหญ่แล้วความผิดพลาดของข้อมูลและความมีอคติเป็นปัญหาใหญ่ที่พบในวิกิพีเดีย

ปัญหาเทคนิค/การใช้งาน[แก้]

  • หน้าอภิปราย (พูดคุย) มีความยาวมากและขาดประสิทธิภาพ การพยายามใช้หน้าทั่วไปแก้ไขการอภิปรายที่มีหลายประเด็น ถึงแม้ว่าจะเป็นไปได้ที่จะใช้หน้าอภิปรายอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็เป็นการยากที่จะคลำวิธีการทำเช่นนั้น
  • เซิร์ฟเวอร์รวมศูนย์เพียงเซิร์ฟเวอร์เดียวของวิกิพีเดียทำให้ไม่ค่อยทนทานต่อปัญหาเซิร์ฟเวอร์หรือปัญหาเครือข่าย และยังทำให้ไม่ทราบถึงการกระจายของผู้ใช้แบ่งตามภาษาทั่วโลก
  • ข้อมูลที่ผิดพลาดบางครั้งไม่ถูกแก้ไขอย่างรวดเร็วในวิกิพีเดีย ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่จะมีการแก้ไขหลังจากมีการเพิ่มข้อมูลนั้นลงไปจำนวนหนึ่งแล้ว วิกิพีเดียเองที่ป้องกันมิให้มีการแก้ไขปัญหาอย่างถูกวิธีโดยไม่สามารถกระตุ้นให้ผู้เขียนปรับปรุงบทความ แทนที่จะต้องการให้วิกิมีเดียเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงสำหรับเอกสารใด ๆ ถึงแม้ว่าข้อมูลที่ได้รับการปรับปรุงอย่างกว้างขวางจะปรากฏบ่อยครั้งที่วิกิอินโฟ
  • วิกิพีเดียดำเนินการได้อย่างช้า ๆ ไม่สามารถใช้ได้สำหรับการแก้ไขหรือสำหรับการปรึกษาหารือ พีเอชพีไม่เข้ากันกับพื้นฐานสำหรับอุปกรณ์ออนไลน์อย่างจริงจังในระดับนี้

ความร่วมมือในทางปฏิบัติและปัญหาสังคมภายใน[แก้]

ระบบข้าราชการ[แก้]

  • ถึงแม้จะกล่าวอ้างในทางตรงกันข้าม วิกิพีเดียกลับมีระบบข้าราชการเสียเอง เนื่องจากมันมีกฎจำนวนมากที่อธิบายว่าเป็น "นโยบาย" และ "แนวปฏิบัติ" โดยมีการจัดระบบตามลำดับชั้นซึ่งมีเป้าหมายที่จะบังคับกฎระเบียบเหล่านี้ (ซึ่งในบางครั้งปฏิบัติตรงกันข้าม) ในบางครั้ง กฎระเบียบเหล่านี้ถูกใช้เพื่อลบข้อมูลและภาพที่เป็นประโยชน์ และทำให้บทความมีตำหนิจากการใช้กระบวนการบังคับกฎระเบียบมากเกินไป ถึงกับมีการกล่าวว่ากระบวนการข้าราชการทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถแก้ไขและปรับปรุงบทความได้

ปัญหาพฤติกรรม/วัฒนธรรม[แก้]

  • มีคนจำนวนมากแสดงความคัดค้านในหน้าอภิปรายโดยไม่หยุดหย่อน แทนที่จะแก้ไขสิ่งที่เป็นปัญหา ในอีกทางหนึ่ง คนอีกกลุ่มหนึ่งกล้าเกินไปที่จะอัปเดตหน้าก่อนอภิปรายการเปลี่ยนแปลงในหน้าอภิปรายก่อน เป็นไปไม่ได้ที่จะอธิบายอย่างละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้น เนื่องจากไม่มีตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนนอกเหนือไปจากคำอธิบายอย่างย่อ และการแก้ไขหน้าที่ค่อนข้างถี่เมื่อไม่นานมานี้
  • การยกย่องตัวเองของผู้ใช้ที่เลวซึ่งมีอีโก้ที่เปราะบางอาจสร้างความเสียหายให้กับผู้อื่นซึ่งพยายามแก้ไขการเขียนที่แย่ ความซ้ำซ้อน ไวยากรณ์เลวและการสะกด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าทำมากกว่าแก้ไขข้อผิดพลาด และพยายามอบรมบุคคลที่เขียนนั้น บางทีผู้ใช้นั้นอาจไม่รู้สึกตัวว่าตัวเองยังเด็กหรือกำลังใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ ซึ่งเป็นการบั่นทอนการแก้ไขโดยผู้ใช้ที่ต้องการปรับปรุงอคติบางอย่างหรือแก้ไขปัญหา
  • ถ้าคุณมีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการสะกด ไวยากรณ์ เครื่องหมายวรรคตอน หรือการจัดหน้าอย่างถูกต้องในหลักภาษาไทย คุณจะลงเอยกับการแก้ไขจุดเล็กจุดน้อยมากกว่าที่จะให้ความสำคัญกับความผิดพลาดของเนื้อหา การตรวจทานไวยากรณ์นั้นสำคัญก็จริง แต่น่าเศร้าที่ผู้ใช้เหล่านี้จะไม่ได้รับการยกย่องหรือได้รางวัลใด ๆ ในกฎเกณฑ์การควบคุมในปัจจุบัน
  • หากคุณย้อนการแก้ไขหรือบล็อกผู้ใช้เร็วเกินไป บางครั้งผู้ใช้ที่เป็นประโยชน์ก็จะถอนตัวออกไป ถ้าหากคุณย้อนการแก้ไขหรือบล็อกช้าเกินไป ผู้ใช้ก็จะต้องเสียเวลาจัดการข้อมูลขยะที่กองทิ้งไว้เพิ่มขึ้น สำหรับผู้ดูแลระบบที่ก่อกวนเสียเอง มีการควบคุมที่อ่อนแอ และไม่มีอำนาจที่มีประสิทธิภาพที่จะถอดถอนผู้ดูแลระบบเหล่านี้ ถึงแม้ว่าในวิกิพีเดียภาษาอื่นจะมีการถอดถอนผู้ดูแลระบบที่ใช้อำนาจในทางที่ผิด แต่ก็มีจำนวนน้อยเท่านั้น
  • ผู้ใช้สามารถแสดงความเป็นเจ้าของเหนือเรื่องที่ตนเขียน คนเหล่านี้จะใช้เวลาและพลังงานเพื่อปกป้องผลงาน "ของพวกเขา" ผู้ใช้ที่เซ็นเซอร์ข้อความ คลั่งไคล้ หรืออุทิศตัวแบบอื่น อาจตั้งระเบียบของตัวเองหรือห้ามการเพิ่มข้อมูลใหม่ ๆ โดยให้ความสนใจเฉพาะหน้าใดหน้าหนึ่งโดยเฉพาะ
  • ผู้ใช้ส่วนใหญ่ย้อนการแก้ไขโดยไม่อธิบายเหตุผล (คำอธิบายที่สมเหตุสมผลเหมาะสำหรับหน้าอภิปรายมากกว่าในส่วนคำอธิบายอย่างย่อ) จากนั้น เมื่อมีคนอื่นมาย้อนการแก้ไขกลับ โดยไม่มีคำอธิบายเช่นกัน สงครามแก้ไขก็จะเกิดขึ้น ไม่มีการอธิบายในมารยาทวิกิพีเดียว่าการย้อนการแก้ไขที่ไม่มีคำอธิบายเป็นสิ่งที่หยาบคายและแทบจะไม่อาจยอมรับได้ ยกเว้นการลบสแปมและการก่อกวนเพียงประการเดียวเท่านั้น และถึงแม้จะเป็นการย้อนการแก้ไขที่มีลักษณะดังนี้ มันก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องระบุเหตุผลไว้เพื่อที่จะให้สืบสาวหาสาเหตุได้
  • ในวิกิพีเดียมีวัฒนธรรมของความเป็นปรปักษ์และความขัดแย้ง มากกว่าความปรารถนาดีและความร่วมมือ แม้กระทั่งผู้ใช้ที่มีประสบการณ์ก็ล้มเหลวที่จะเชื่อว่าคนอื่นมีเจตนาดี การต่อสู้ขับไล่คนป่าเถื่อนที่หน้าบ้านเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยกว่าการเชิญชวนให้พวกเขาเข้ามาร่วมในประชาคมของเรา ไม่เคยมีการยอมรับว่า "ประชาคมทั้งหลาย" ที่อาจกำลังใช้วิกิพีเดียอยู่ไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นเพราะพวกเขารู้สึกว่า พวกเขาต้องตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงหรือต่อผู้คนที่กำลังใช้วิกิพีเดีย

การควบคุมผู้ใช้ที่เป็นปัญหากับการเปิดโอกาสแก่ส่วนรวม[แก้]

  • ปัญหาที่เลวร้ายที่สุด คือ การที่ผู้คนคิดในแง่ของ "การควบคุม" ผู้ใช้ และการจำกัดความว่าพวกเขาเป็น "ปัญหา" ราวกับว่ามีความจำเป็นที่จะต้องมีมุมมองพิพากษาที่จะบรรลุอย่างยุติธรรม เป็นคุณจะพูดถึง "การควบคุมปัญหาพลเมือง" ในระบอบประชาธิปไตยหรือเปล่า ย่อมไม่ใช่แน่นอน แทนที่จะทำอย่างนั้น เราจะต้องควบคุมคำที่มีเนื้อหาทำนองนี้อย่างใกล้ชิดและเข้มงวด เช่น "ต้องสงสัย" "อาชญากร" และ "ผิดกฎหมาย" โดยทำให้คำเหล่านี้ปราศจากความหมายและไม่มีผลโดยสมบูรณ์ยกเว้นแต่ในบริบทของกระบวนการที่มีการต่อสู้และการตัดสินอย่างยุติธรรมโดยมีประวัติยาวนาน แต่กระบวนการดังกล่าวไม่เคยเกิดขึ้นเมื่อชาววิกิพีเดียที่มีอิทธิพลบางคนตราหน้าผู้อื่นว่าเป็นปัญหา
  • มีปัญหาด้านความสมดุลและอคตินำมาซึ่งการขาดการควบคุม ผู้ใช้นิรนามที่มีความคิดเห็นที่หนักแน่นมากและมีเวลาว่างสามารถเปลี่ยนแปลงบทความจำนวนมากเพื่อสนับสนุนความคิดเห็นของพวกเขา นอกเหนือไปจากการบล็อกหมายเลขไอพีและแบนสำหรับพฤติการณ์ส่วนใหญ่ ไม่มีวิธีอื่นใดในการป้องกันการกระทำเช่นนี้ยกเว้นแต่การให้ความสนใจของผู้แก้ไขที่มีประสบการณ์ ซึ่งพบได้ยาก วิกิพีเดียไม่มีการจัดลำดับชั้นของผู้ใช้ธรรมดา ผู้ใช้อาวุโส หรือผู้ใช้เฉพาะทางเพื่อกำหนดกฎเกณฑ์สุดท้ายในประเด็นปัญหาที่ซับซ้อนอย่างยิ่ง เช่น การให้ความคิดเห็นที่แตกออกเป็นสองฝ่ายตกลงกันได้
  • หากวิกิพีเดียมีรูปแบบตามลักษณะของ "ฟอรั่มประชาคม" อื่น ๆ บนอินเทอร์เน็ตแล้ว คนกลุ่มเล็ก ๆ ก็จะมีอำนาจในการแยกตัวออกจากคนกลุ่มอื่น ๆ และด้วยเรื่องสิทธิพิเศษ ปัญหาอคติและความเป็นปรปักษ์อันเป็นปกติวิสัยจะค่อย ๆ เลวร้ายลงเรื่อย ๆ คำว่า "เกรียน" ที่มีความหมายคลุมเครือสามารถถูกใช้เป็นข้ออ้างในการกีดกันผู้คนออกจากกระบวนการตัดสินใจเบื้องหลังสารานุกรม
  • วิกิพีเดียกลายมาเป็นสิ่งที่มีลำดับชั้นมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อที่จะ "ป้องกันเสรีภาพ" จาก "การก่อกวน" ซึ่งขัดต่อข้อเท็จจริงที่ว่าเกรียนบนอินเทอร์เน็ตจะมีพฤติการณ์ส่อชัดเจนตามความหมายของคำ และมันกลายมาเป็นคำที่รุนแรงที่ถูกใช้เพื่อทำร้ายผู้อื่น วิกิพีเดียมีผู้ดูแลระบบผู้ซึ่งสามารถลบบทความได้ แต่ไม่มีการตรวจสอบหรือการถ่วงดุลอำนาจดังกล่าวนำเข้ามาในระบบ นอกเหนือไปจากความสนใจของผู้ร่วมแก้ไขที่มีเวลาที่จะสละ ผู้ดูแลระบบยังสามารถทำลายไซต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การรวมประวัติของหน้า
  • ผู้ร่วมแก้ไขได้เรียนรู้ว่าการก่อรูปแบบของ "แก๊ง" เป็นรูปแบบที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดในการนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้ร่วมแก้ไขที่มีความคิดเห็นตรงกันข้าม เช่นเดียวกับการอภิปรายเพื่อลบหน้า กลุ่มของผู้แก้ไขอาจก่อตัวขึ้นเพื่อลงคะแนนเสียงให้กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งสามารถเขียนบทความต่อไปได้ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับความสนใจของแก๊ง หรือผลักดันให้มีการลบหน้าหากเจตนาของแก๊งคือการลบ บางครั้ง แก๊งสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อนโยบายและแนวปฏิบัติของวิกิพีเดีย และด้วยการรวมกลุ่มกัน พวกเขาจะสามารถเขียนระเบียบได้เกือบทุกอย่าง

ผลประโยชน์ส่วนบุคคลของผู้ร่วมพัฒนาและอื่น ๆ[แก้]

  • วิกิพีเดียกำลังก่อให้เกิดผู้ที่มีอาการติดวิกิพีเดียเป็นจำนวนมาก ผู้ซึ่งสามารถทำอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่มีประโยชน์มากกว่า การเรียกคนกลุ่มนี้ว่า "ผู้มีอาการติด" หรือ "สาวกลัทธิ" อาจไม่ถือว่าผิดเสียทีเดียว
  • ผู้เขียนไม่สามารถอ้างสิทธิ์ความเป็นเจ้าของเหนือบทความใด ๆ ได้ นี่ทำให้เป็นการยากที่จะใช้แม้กระทั่งการเขียนบทความที่ดีอย่างน่าตื่นตาตื่นใจเป็นหนังสือรับรอง บางส่วนเนื่องมาจากบทความนี้อาจถูกเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะมีผู้มาพบเห็น
  • การใส่มุมมองที่เป็นพิษภัยหรือโง่เขลาในวิกิพีเดียอาจเรียกสาวกจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว และผู้ปกป้องมุมมองใดมุมมองหนึ่งก็จะโน้มเอียงไปทางสร้างกลุ่มที่จะเกิดขึ้นในโลกออฟไลน์ในไม่ช้า และกลุ่มที่ทราบว่าตนเองประสบความยุ่งยากลำบากหรือเสียเปรียบจะจำกลุ่มรวมกับอีกกลุ่มหนึ่งโดยฉับพลัน วิกิพีเดียเป็นที่ผสมพันธุ์ของลัทธิสำหรับศตวรรษนี้หรือ
  • แทนที่จะกล่าวถึงข้อเท็จจริงเพียงอย่างเดียว ผู้เขียนหลายคนมักรู้สึกต้องการโจมตีสิ่งที่เป็นหัวเรื่องของบทความเดียว กลุ่มคนเหล่านี้มักจะใช้ถ้อยคำที่ฟังดูอวดอ้างว่าพวกเขาได้ระบุ "ความเชื่อทั่วไป" อย่างถูกต้องหรือ "สมมุติฐานแบบผิด ๆ" ในขณะที่ข้อเท็จจริงเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว
  • ข้อเท็จจริงที่ว่าผู้เขียนคนใดก็สามารถแก้ไขบทความใดก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีความสามารถในหัวเรื่องของบทความอาจเป็นอันตรายต่อคุณภาพของบทความเฉพาะทาง ในกรณีที่เกิดข้อขัดแย้งในเนื้อหาของบทความดังกล่าวเกิดขึ้น ผู้เขียนที่ไม่มีความสามารถเฉพาะทางอาจเขียนเนื้อหาตามความเข้าใจผิด ๆ ของตนได้
  • การพิจารณาการลบขึ้นอยู่กับผู้ใช้ที่ทำการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลสำหรับวิกิพีเดีย ในทางปฏิบัติ ผู้ใช้พิจารณาว่าบทความใดควรลบหรือไม่ราวกับเป็นการประกวดความเป็นที่นิยมของบทความมากกว่าการทำตามนโยบาย ในทางทฤษฎี ผู้ดูแลระบบควรจะปรับปรุงระบบดังกล่าวโดยการตรวจสอบการร่างนโยบาย แต่ในทางปฏิบัติ ผู้ดูแลระบบมักจะนับการออกเสียงแทนที่จะใช้วิธีการอื่นที่เหมาะสม

ด้านเนื้อหาบทความ[แก้]

ความถูกต้องของข้อมูล[แก้]

  • ปัญหาที่วิกิพีเดียเผชิญอยู่ก็คือ ใคร ๆ ก็สามารถเพิ่มเนื้อหาไร้สาระหรือการสอดแทรกข้อมูลแบบผิด ๆ ได้ แม้ว่าจะโดยไม่มีเจตนาก็ตาม ซึ่งการตรวจพบและนำออกอาจต้องใช้เวลานานหลายอาทิตย์หรือหลายเดือน ผู้ใช้ที่ไม่ได้ล็อกอินก็สามารถสร้างความผิดพลาดแบบนี้ได้เช่นกัน
  • ขยะในวิกิพีเดียสามารถเพิ่มจำนวนขึ้นได้อย่างรวดเร็ว มากกว่าที่จะได้รับการกลั่นกรอง เนื่องจากผู้เขียนที่กระตือรือร้นอย่างมากได้รับการตรวจทานบทความโดยผู้ตรวจสอบที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์

ความสมบูรณ์ของบทความ[แก้]

  • คนส่วนใหญ่มักจะติดแท็ก {{โครง}} แทนที่จะหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวเรื่อง ซึ่งทำให้วิกิพีเดียเต็มไปด้วยบทความที่มีความยาวเพียงหนึ่งหรือสองบรรทัด สำหรับปัญหานี้อาจมองในอีกแง่มุมหนึ่งได้คือ ผู้ร่วมพัฒนาที่ค้นพบ "โครง" ส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญและต้องการทราบข้อมูลเพิ่ม ผลคือ หากพวกเขาเพิ่มข้อมูลลงไป บทความนั้นก็อาจขาดคุณภาพได้
  • ใครก็สามารถนำข้อความขนาดใหญ่ออกจากบทความ ได้ หรือกระทั่งทำให้หน้าทั้งหน้าว่างเสียก็ได้ อันเป็นการทำลายผลงานจำนวนมาก พฤติการณ์ดังกล่าวที่เรียกว่า "การทำหน้าว่าง" ในประชาคมวิกิพีเดีย ถือว่าเป็นการก่อกวนอย่างหนึ่ง การทำหน้าว่างเช่นนี้โดยแบบแก้ไขโดยการย้อนกลับไปยังรุ่นก่อนของหน้า ก่อนที่ข้อความจะถูกลบ) ภายในเวลาไม่กี่นาที อย่างไรก็ตาม ภายในเวลาไม่กี่นาทีที่ว่านี้ บางกรณีที่พบได้น้อยซึ่งการทำหน้าว่างถูกพบเห็นก่อนโดยผู้อ่านผู้ซึ่งประสีประสาคุณลักษณะ "ประวัติ" ของหน้าวิกิพีเดีย หน้าที่บุคคลนั้นอ่านอาจดูเหมือนว่าขาดข้อมูลไปมาก หรือมองว่าไม่สมบูรณ์ เนื่องจากการนำข้อความออก
  • ใครก็ตามสามารถเพิ่มข้อความจำนวนมากใส่เข้าไปในบทความได้ ซึ่งทำลายความน่าอ่านและการแบ่งสัดส่วนของบทความทั้งหมด ความพยายามที่จะชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้มักจะไร้ประโยชน์และบางครั้งอาจนำไปสู่การตักเตือนได้ เนื่องจากอคติอันเป็นปกติวิสัยในวิกิพีเดียซึ่งเชื่อว่าบทความที่มีขนาดใหญ่กว่าจะดีกว่าในทางใดทางหนึ่ง

ความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบเชิงลบขนานใหญ่ต่อสังคมและวัฒนธรรม[แก้]

มีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบขนานใหญ่ ซึงอาจไม่เจตนา จากอิทธิพลและการใช้วิกิพีเดียเป็นเครื่องมือการวิจัยที่เพิ่มขึ้นในทุกระดับ ในบทความวารสาร Times Higher Education ลอนดอน[1] Martin Cohen นักปรัชญา กล่าวหาว่าวิกิพีเดียกำลัง "กลายเป็นผู้ผูกขาด" กับ "ทุกอคติและความไม่รู้ที่ผู้สร้างสอดแทรกเช่นกัน" โคเฮนอ้างตัวอย่างของข้อมูลวิกิพีเดียในหน้าลัทธิเหมา (ซึ่งระบุอย่างไม่เป็นธรรมว่า เป็นเพียงการใช้ความรุนแรงเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง) และโสกราตีส ซึ่ง (อย่างน้อยบนวิกิพีเดีย) เป็น "ครูของเพลโตผู้เหลืองานเขียนทิ้งไว้ไม่มากนัก" ซึ่งอย่างน้อยสำหรับนักอ่านของไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันแล้ว เป็นเรื่องไร้สาระ

ตัวอย่างของโสกราตีสเสนอเพื่อแสดงให้เห็นฐานความรู้อันตื้นเขินของผู้เขียน มีหลายกรณีซึ่งได้อภิปรายทั้งในและนอกวิกิพีเดียถึงอคติ "ตะวันตก" และ "ขาว" ของสารานุกรมตามการคาดคะเน ตัวอย่างเช่น การสอดแทรกว่า "ปรัชญา" ในฐานะกิจกรรม เป็นนวัตกรรมและการค้นพบของยุโรปโดยสำคัญ โคเฮนกล่าวหาผู้เขียนวิกิพีเดียว่ามีมุมมองแบบ "คนขับรถรับจ้างผู้เยาว์"ซึ่งเขาหมายถึง ผู้เขียนเป็นพวกดื้อดึงอย่างแข็งขันและขาดเครื่องมือการวิจัยอย่างจริงจังในการพัฒนาทัศนะที่เป็นความจริงมากขึ้น

มุมมองที่เป็นกลาง[แก้]

ประเด็นความเป็นกลางของข้อความ เกี่ยวข้องกับความกังวลหลากหลายเกี่ยวกับเนื้อหาของวิกิพีเดียและทางเลือกของบทความที่สร้าง:

  • นักปรัชญาหลายคนได้แย้งว่า ไม่มีสิ่งใดที่เป็นจริงอย่างสมบูรณ์แก่ทุกคนในทุกบริบท ดังนั้น จึงเป็นไปได้ที่นโยบายมุมมองที่เป็นกลางของวิกิพีเดียจะล้มเหลว เพราะไม่มีข้อความส่วนใดได้รับการพิจารณาว่าเป็นกลางอย่างดีเยี่ยมสำหรับทุกคน แม้แนวคิดที่ว่ามุมมองที่เป็นกลางจะบรรลุได้นั้นอยู่ในมุมมองตัวมันเองอยู่แล้ว Cory Doctorow ตอกย้ำคุณค่าของประวัติอันโปร่งใสว่า "ด้วยสามารถที่จะเห็นรุ่นทั้งหลายของ[ประเด็นใด ๆ] ถูกจัดระเบียบด้วยการถกเถียงและการถกเถียงกลับ จะเป็นการดีขึ้นที่จะให้คุณแยกแยะเองได้ว่าความจริงใดเหมาะกับคุณที่สุด" แต่นี่จะไม่ช่วยผู้อ่านที่ไม่ค่อยสนใจ และแน่นอนว่าจะไม่ช่วยผู้ที่มีเพียงซีดีหรือรุ่นตีพิมพ์แบบเก่าในหมู่บ้านโลกที่สามในอนาคตบางแห่ง Doctorow รับรองว่า การอ่านวิกิพีเดียนั้นเป็นแบบฝึกหัดการรู้เท่าทันสื่อ
  • หัวเรื่องทางการเมืองนั้นอาจกลายเป็นอย่างอื่นมากกว่าบทความสารานุกรม โดยมีการตอบโต้กันไปมาทุกประโยค ขณะที่ข้อความที่เป็นข้อเท็จจริงอย่างเป็นกลางน่าจะดีกว่า (เช่น บิล คลินตันทำสิ่งดีนี้ แต่บางคนบอกว่าไม่ดี เขายังทำสิ่งไม่ดีนี้ แต่บางคนบอกว่ามันไม่ได้เลวร้ายขนาดนั้น ซึ่งขัดแย้งกับบิล คลินตันทำสิ่งนี้และสิ่งนั้น) แต่แม้การกลั่นกรองจะพัฒนามาตรฐานเมื่อเวลาผ่านไป จะมีผู้เขียนดี ๆ เพียงพอที่มีเวลาพอจะเข้าวิกิพีเดียและแก้ไขจุดอ่อนนี้หรือเปล่า ดูเหมือนว่าพวกหัวรุนแรงจะครอบงำและบรรยายแบ่งฝ่ายในทางการมือง เศรษฐกิจ และสาขาที่เป็นที่โต้เถียงกันโดยธรรมชาติอื่น ๆ
  • บทพิสูจน์คือว่า มีเพียงหัวเรื่องหรือส่วนของหัวเรื่องซึ่งเป็นที่โต้เถียงกันที่สุดเท่านั้นที่ดึงดูดความสนใจมาเพื่อให้ปรับปรุงอย่างแท้จริง Doctorow ว่า บริตานิกาบอกคุณสิ่งที่คนขาวตายไปแล้วตกลงกัน วิกิพีเดียแท้จริงแล้วเป็นที่ถกเถียงกันตามธรรมชาติ ซึ่งทำให้มันเป็นเกมวางแผนเรียลไทม์อย่างดี แต่มันเป็นสารานุกรมที่ดีหรือเปล่า Doctorow ว่า "รายการวิกิพีเดียไม่ใช่อื่นใดนอกจากผลกระทบซึ่งโผล่ออกมาครั้งแรกของการตีโพยตีพายอย่างเกรี้ยวกราดกำลังเกิดขึ้นใต้พื้นผิว ... ถ้าคุณต้องการสืบค้นความจริงผ่านวิกิพีเดีย คุณจำต้องขุดลงไปในหน้า "ประวัติ" และ "อภิปราย" ประกอบทุกรายการ นั่นเป็นที่ซึ่งปฏิบัติการแท้จริงเกิดขึ้น" แต่ขณะที่ทฤษฎีขัดแย้งและวิธีอิงคลาดสันนิษฐานว่าความไม่สมดุลและอคติในการเขียนจะสามารถจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดด้วยกระบวนการปฏิปักษ์ ซึ่งอาจไม่จริงก็ได้ การวิจัยอิสระ (โดย IBM TJ Watson Labs) ดูเหมือนจะชี้ว่า บทความดีที่สุดเป็นผลของความสนใจสุดโต่งและความพยายามจะบรรเทาลง ซึ่งแนวคิดนี้อาจเป็นจริงสำหรับนักการเมืองเช่นกัน แต่มีเพียงบทความจำนวนน้อยเท่านั้นที่เคยเป็นหัวข้อสงครามก่อเกรียนหรือมากกว่าสงครามแก้ไขจำกัด ดังนั้น หากกระบวนการปฏิปักษ์จำเป็น บทความส่วนใหญ่ก็ไม่ได้เรื่องเลย
  • มุมมองที่เป็นกลางเป็นการป้องกันทางโครงสร้างประโยค มิใช่ความหมาย (มุ่งสนใจเฉพาะว่าเนื้อหาเขียนอย่างไร ซึ่งแย้งต่อความเชื่อที่ได้รับความนิยมในบรรดาผู้เขียนวิกิพีเดียว่ามันไม่ได้พิจารณาว่าเนื้อหานั้นนำเสนออย่างดีหรือยุติธรรมเพียงใด) และปฏิเสธที่จะไม่เสนอให้พิจารณาทางมโนคตินอกเหนือไปจากอนุญาโตตุลาการ ซึ่งเป็นการละทิ้งความรับผิดชอบด้านการเขียน ความล้มเหลวหนึ่ง ดังที่ Robert McHenry ให้เหตุผลในบทความว่าด้วยสมดุลและการขาดสมดุลในวิกิพีเดีย คือ การพิจารณาลักษณะประชากรของผู้ใช้ทั้งหมดหรือแผนความสมดุลของผลิตภัณฑ์ซึ่งเสนอไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 McHenry แย้งว่าการปล่อยให้ความวุ่นวายและเกรียนอินเทอร์เน็ตตั้งลำดับก่อนมิใช่หนทางบรรลุความสมดุลอย่างสารานุกรม และถามว่า หากขาดซึ่งการวางแผนและการควบคุมส่วนกลางระดับหนึ่งแล้ว มันจะเป็นอะไรอื่นได้ มีคำตอบดี ๆ บ้างสำหรับคำถามนี้ ที่โดดเด่น คือ วิธีควบคุมโดยรวมให้สม่ำเสมอขึ้น แต่วิธีนี้ไม่ได้นำไปปฏิบัติ คณะบรราณิการมีคุณวุฒิเต็มไม่เคยถูกสรรหามาอย่างแท้จริง แม้มีหลายชื่อเคยได้รับการพิจารณา
  • มติมหาชนอาจเป็นรูปแบบการผลิตความรู้ที่ยากจะแก้ปัญหาได้ บทความใน ค.ศ. 1491 เกี่ยวกับรูปร่างของโลกอาจคงอยู่ต่อไปว่าโลกแบน โดยได้รับมติมหาชน อะไรที่ปรากฏว่าเป็น "มุมมอง" แท้จริงแล้วอาจเป็นความรู้ยิ่งกว่าและความละเอียดอ่อนของความคิดซึ่งผู้ใช้วิกิพีเดียส่วนใหญ่ รวมทั้งผู้เขียน มี แบบจำลองมติมหาชน (นั่นคือ "อะไรที่คนส่วนใหญ่คิด" หรืออะไรที่ผู้เขียนวิกิพีเดียคิดว่าเป็นกลาง) อาจทิ้งเราไว้กับรายการที่นิยามโดย "ผู้ที่เชื่อว่าโลกแบน"
  • ความล้มเหลวอย่างเป็นระบบ หมายความว่า ปัญหามุมมองที่เป็นกลางของวิกิพีเดียมองเห็นได้ง่ายว่าเป็นความผิดของบุคคลผู้เปลี่ยนแปลงบทความว่าเป็นปัญหา มากกว่าความผิดอย่างเป็นระบบของวิกิพีเดีย เป็นสองมาตรฐานอย่างไม่ยุติธรรมที่จะถือว่าจุดแข็งของวิกิพีเดียเป็นของวิกิพีเดียเอง แต่จุดอ่อนนั้นถือเป็นของผู้ความรับผิดชอบต่อปัญหา อย่างไรก็ดี นี่เป็นธีมที่คุ้นเคย คือ ลัทธิ อันที่จริงแล้วมีบางนิยมของ "สมาชิกลัทธิวิกิพีเดีย" ซึ่งเลียนแบบการวิพากษ์ที่ได้รับการตีพิมพ์บางส่วน
  • ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตใหม่เข้ามาในวิกิพีเดียเป็นครั้งแรก (บ่อยครั้งผ่านลิงก์โดยตรงมายังบทความผ่านการเสิร์ชเว็บทั่วไป) จะไม่ทราบว่าบทความนั้นคะเนเอาว่ามีมุมมองที่เป็นกลาง และหากพวกเขาพบส่วนนี้พวกเขาสามารถและควรเขียนใหม่ Doctorow ว่า สิ่งสำคัญเกี่ยวกับระบบไม่ใช่ระบบทำงานอย่างไร แต่สำคัญที่มันล้มเหลวอย่างไร การแก้ไขบทความวิกิพีเดียนั้นง่าย หากมันก็แค่เพียงซ่อมแซมบทความเท่านั้น การซ่อมแซมกระบวนการซึ่งไม่อาจเตือนผู้อ่านถึงข้อเท็จจริงที่ว่าพวกเขาสามารถ (หรือควรจะ) แก้ไขบทความ ไม่ได้รับความสนใจเลย ปัญหานี้ถูกทิ้งไว้เป็นผลของการตัดสินใจทางเทคนิคหลายครั้ง แทบไม่มีความพยายามชักชวนหรือฝึกผู้ใช้ใหม่ และแน่นอนว่าไม่มีความพยายามดึงตัวประชาคมผู้แทนเปลี่ยนตัวบ่อย ๆ (under-represented) โดยไตร่ตรองไว้ก่อน (ต่อความกังวลความสมดุลข้างต้น)
  • ผู้ใช้หลายคนปกป้องข้อความของตนเมื่อใดก็ตามที่มีการบ่งมุมมองเป็นการตอบสนองอัตโนมัติ แทนที่จะพยายามอย่างกระตือรือร้นในการปลดแท็กมุมมองไม่เป็นกลางจากข้อความของตนแทน
  • หากข้อความของคุณถูกตีตราว่าไม่เป็นกลาง แล้วมันจะไม่ดูดีนักบนวิกิพีเดีย คำนี้หมายถึง "แย่" แต่ใช้ในวิธีค่อนข้างสุ่มมากกว่า ในความเป็นจริงแล้วมีสามขั้นซึ่งเห็นการเขียนปริมาณมากของคุณถูกนำออกโดยผู้เขียนที่เร็วกว่า (ไม่ใช่ "ดีกว่า")
    1. บางคนจะบอกว่า "นี่เป็นมุมมอง" และเปลี่ยนมันให้ไม่บอกอะไรเลย หรือเปลี่ยนเป็นตรงกันข้ามจากเดิม
    2. เมื่อคุณย้อนแก้คืน แม้แต่ในรุ่นที่ไกล่เกลี่ยแล้ว จะมีการเรียกร้องให้คุณหาแหล่งอ้างอิงมากกว่านี้ แม้แต่ในหน้าที่แทบจะไม่มี หรือในสาขาซึ่งมีอ้างอิงน้อยมากตีพิมพ์ด้วยวิธีตามแบบ - ข้อกำหนดอันเป็นการละเมิดและเลือกเฟ้นเพื่อปกป้องคำอ้างนั้นอยู่ทุกหนแห่ง
    3. ท้ายสุด คุณจะถูกตีตราว่าเป็นเกรียนอินเทอร์เน็ตที่ไม่อาจปฏิบัติตามข้อเรียกร้องเหล่านี้ และสิ่งที่เรียกว่า "การแบนประชาคม" (ซึ่งเหมือนการลงประชาทัณฑ์อย่างหนึ่ง) จะถูกกำหนดเพื่อประกันว่าจะไม่มีมุมมองที่แย้งอย่างรุนแรงต่อมุมมองส่วนใหญ่มา "ติด" บนหน้าวิกิพีเดียอีก แม้ว่ามุมมองนั้นจะถูกก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามันถูกต้อง! ความจริงไม่ใช้เกณฑ์ในการเพิ่มเนื้อหาในวิกิพีเดีย
  • เนื่องจากไม่มีทางจะแยกมุมมองที่เข้ากันไม่ได้ เฉกเช่นวิกิอินโฟ คุณอาจต้องทำงานกับคนที่เชื่อในขั้วตรงข้ามกับคุณในหัวเรื่องใดหัวเรื่องหนึ่ง และความเห็นของเขาอาจชนะด้วยเหตุผลอื่นที่มิใช่ความถูกต้อง ตัวอย่างเช่น คนครุ่นคิดเรื่องเดียว (monomaniac) ไม่ว่าจะไม่รู้หรือน่าชังมากเพียงใด อาจ "สำเร็จ" ในท้ายที่สุด เพราะคนที่ไม่ได้ครุ่นคิดเรื่องเดียวมีสิ่งอื่นต้องทำนอกเหนือไปจากโต้เถียงกับพวกเขา
  • หรืออีกกรณีหนึ่ง คุณอาจไม่ต้องทำงานกับทุกคนที่เชื่อสิ่งตรงข้ามกับคุณ เสถียรภาพของบทความสัมพันธ์กับคนที่ให้ความสนใจกับบทความ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทความที่มีการเข้าชมน้อย จะไม่มีการแทนมุมมองที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ดังนั้น บ่อยครั้งที่คุณสถาปนามติมหาชนสำหรับบางสิ่งซึ่งยังเป็นมุมมองที่ยังน่าเกลียดอยู่ดี ตัวอย่างเช่น บทความเกี่ยวกับวงอินดี้ขนาดเล็กย่อมมีเนื้อหายกย่องวงนั้น เพราะคนจำนวนน้อยที่ไม่ชอบเพลงของพวกเขานั้นสนใจบทความเกี่ยวกับวงนี้เพียงน้อยนิด และ เนื่องจากความเสี่ยงจะถูกเรียกว่าเป็นเกรียนอินเทอร์เน็ตมีสูง แม้กระทั่งพวกที่สนใจก็อาจมีจำนวนน้อยกว่ามาก และอาจถูกละเมิดได้
  • หลายคนที่มีจุดประสงค์มาที่นี่เพื่อ "นำถ้อยคำออก" เพราะสำนักพิมพ์หัวเราะเยาะเนื้อหาของพวกเขาและการนำขึ้นเว็บไซต์นั้นเสียเงิน ดังนั้น เราจึงได้บทความรายละเอียดมากเกี่ยวกับนักเคลื่อนไหวที่ไม่สำคัญ ขณะที่บุคคลสำคัญที่คัดค้านได้รับโครงซึ่งเนื้อหานั้นเป็นการสวดสิ่งชั่วร้ายทั้งหมดที่พวกเขาทำกับนักเคลื่อนไหวนั้น ไม่ว่านี่จะเป็นตัวอย่างที่ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับคุณคิดว่าสื่อสารมวลชนมีอคติอย่างรุนแรงทางอื่นหรือไม่ และให้บุคคลสำคัญได้รับเครดิตมากกว่าที่เขาสมควรจะได้รับ

อ้างอิง[แก้]

  1. Times Higher Education 28 August 2008 p26
วิกิพีเดียไม่ดีอย่างไร เป็นหน้านโยบาย วิธีใช้ หรือหน้าโครงการของวิกิพีเดียที่ยังเป็นโครง
หน้าวิธีใช้ และหน้าโครงการของวิกิพีเดียภาษาไทย อาจต่างกับวิกิพีเดียภาษาอื่น ทั้งนี้อยู่บนพื้นฐานนโยบายเดียวกัน