วิกิพีเดีย:ตัวกรองการแก้ไข

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตัวกรองการแก้ไข เป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อให้ผู้ใช้ที่ได้รับความไว้วางใจตั้งการควบคุมจำเพาะต่อกิจกรรมผู้ใช้และสร้างปฏิกิริยาอัตโนมัติต่อพฤติกรรมบางอย่าง การแก้ไขที่กระตุ้นตัวกรองการแก้ไขแสดงรายการไว้ในปูม

ส่วนขยายตัวกรองการละเมิดกฎพัฒนาโดย ผู้ใช้ Werdna โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิวิกิมีเดีย และเริ่มใช้ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษในเดือนมีนาคม 2552 จนถึงเดือนกรกฎาคม 2552 แทบทุกส่วนย่อยที่สัมพันธ์กับผู้ใช้ของตัวกรองเปลี่ยนชื่อเรียกใหม่เป็น "ตัวกรองการแก้ไข" เพราะไม่ใช่ทุกการแก้ไขที่ถูกระบุเป็นการรบกวน แต่ในซอฟต์แวร์และหน้าพิเศษยังคงชื่อเดิมอยู่

ส่วนขยายดังกล่าวใช้ตัวกรอง/วิทยาการศึกษาสำนึกอัตโนมัติต่อทุกการแก้ไข สามารถมีการพัฒนากฎจำเพาะขึ้นได้ เช่น "ผู้ใช้ที่แก้ไขน้อยกว่า 500 ครั้งจะถูกบล็อกมิให้ย้ายหน้าไปยังชื่อเรื่องที่ตรงกับนิพจน์ปรกตินี้: /.*ร้องเรียน.*/" จะทำให้เมื่อมีการย้ายหน้าไปยังชื่อเรื่อง "ผมมีเรื่องมาร้องเรียน" ฯลฯ โดยผู้ใช้ที่มีการแก้ไขน้อยกว่า 500 ครั้ง ถูกตัวกรองจับได้

แม้ในค่าตั้งต้น สาธารณะจะเข้าชมตัวกรองได้ แต่มีบางตัวกรองที่ตั้งค่าเป็นส่วนตัว สำหรับทุกตัวกรอง รวมทั้งที่ถูกซ่อนมิให้สาธารณะเห็น มีความย่อทั่วไปว่ากฎนั้นมุ่งอะไร และแสดงในปูม รายการตัวกรองที่ยังทำงานอยู่ และในข้อความผิดพลาดใด ๆ ที่ตัวกรองสร้าง

การนำตัวกรองการละเมิดกฎไปใช้บนวิกิพีเดียใช้ด้วยความระมัดระวัง ตัวกรองการละเมิดกฎส่วนมากควรถูกทดสอบก่อนช่วงหนึ่ง (ในภาวะ "ปูมเท่านั้น") ก่อนจะนำมาบังคับเต็มที่ ("เตือน" "ห้ามการกระทำ" "หน่วงไม่ให้บันทึกหน้า" ฯลฯ) เฉพาะสมาชิกกลุ่มเฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้ดัดแปรตัวกรอง

หากคุณต้องการที่จะเสนอเพิ่มตัวกรอง เสนอแก้ไขตัวกรอง หรืออภิปรายเรื่องตัวกรองการละเมิดกฎ สามารถร่วมอภิปรายได้ที่ คุยเรื่องวิกิพีเดีย:พิเศษ:ตัวกรองการละเมิด

การใช้

ในวิกิพีเดียภาษาไทยมีการอภิปรายหลักการว่าชุมชนสามารถขอให้ใช้ตัวกรองการแก้ไขเพื่อห้ามผู้ใช้บางคนหรือบางกลุ่มสร้างหน้าได้ที่ หน้าแจ้งผู้ดูแลระบบ (ดูที่ ตัวกรองหมายเลข 102)[1]

เชิงอรรถ